|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คาดธุรกิจประกันภัยแข่งเดือด บีบผู้ประกอบการในธุรกิจต้องควบรวมกิจการ เพื่อรองรับการแข่งขันและสร้างความแข็งแกร่งให้สถานะทางการเงิน ขณะที่ "เมืองไทยประกันภัย" เร่งปรับตัวรองรับการแข่งขัน เตรียมเข็นโปรดักต์ใหม่อีก 2 ตัว เข้ามาขย่มตลาด หลังผลักดันเบี้ยประกันภัยรับเพิ่มเป็น 1.7 พันล้านบาท
นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มการแข่งขันธุรกิจประกันภัยในอนาคตคาดว่าจะมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น และคาดว่าจะทำให้บริษัทประกันภัยที่มีอยู่กว่า 78 บริษัทในปัจจุบัน ต้องปรับตัวรองรับการแข่งขันด้วยการควบรวมกิจการกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานะทางการเงินรองรับการเปิดเสรีธุรกิจประกันในอนาคต
สำหรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจประกันของผู้บริโภคในปัจจุบัน เริ่มมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดยังมีโอกาสขยายตัวได้อีก ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้บริษัทแต่ละแห่งต่างเร่งทำตลาด และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาในตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น
ส่วนพอร์ตการลงทุนของบริษัทเมืองไทยประกันภัย ในปัจจุบันมีประมาณ 1,600 ล้านบาท ส่วนใหญ่ให้น้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินระยะสั้น หุ้น โดยสัดส่วนการลงทุนในหุ้นบริษัทให้น้ำหนักประมาณ 20% ของพอร์ตการลงทุน
นางสาวนวลพรรณกล่าวว่า หุ้นที่บริษัทให้น้ำหนักการลงทุนในสัดส่วนสูงส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง มีอัตราผลตอบแทน สูง และที่สำคัญต้องมีสภาพคล่อง มีธรรมาภิบาล มีค่าราคาหุ้นต่อกำไร (พี/อี) ต่ำ และมีการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันบริษัทถือหุ้นอยู่ 35 หลักทรัพย์ และสามารถจ่ายปันผลให้แก่บริษัทได้ทั้งหมด
สำหรับแนวโน้มการดำเนินธุรกิจในครึ่งปีหลัง เมืองไทยประกันภัยเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 แบบสู่ตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าที่มีความหลากหลายในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยกรมธรรม์แบบ Baby D&O (Director's and Officer's Liability Insurance) ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดชอบสำหรับกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งเป็นบริษัทที่มีขนาดสินทรัพย์รวมไม่เกิน 300 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเน้นออกเป็นแพกเกจสำเร็จรูปออกมาเสนอขาย
นางนวลพรรณกล่าวว่า สาเหตุที่ออกกรมธรรม์แบบ Baby D&O เนื่องจากบริษัทมองว่าในอนาคตจะมีบริษัทที่เกิดขึ้นใหม่ที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น อีกทั้งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ประสบความสำเร็จในการขยายงานการประกันภัยความรับผิดชอบสำหรับกรรมการและ เจ้าหน้าที่บริหาร (D&O) ซึ่งลูกค้าที่ทำประกัน D&O กับบริษัท ล้วนแต่เป็นลูกค้าที่เป็นสถาบันการเงิน หรือบริษัทมหาชนที่มีขนาดสินทรัพย์รวมประมาณ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งบริษัทมีช่องทางที่จะขยายตลาดสำหรับการประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารสำหรับบริษัทเหล่านี้
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ SME's Comprehensive Shop-owners เป็นการประกันภัยร้านค้าที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ โดยจะคุ้มครองทั้งความเสียหายในทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเสียหาย ตลอดจนชดใช้ค่าเช่าสถานที่ประกอบการชั่วคราว ความรับผิดตามกฎหมายของเจ้าของร้านต่อบุคคลภายนอก และความรับผิดชอบของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าจะมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ทั้งสองแบบไม่เกิน 10 ล้านบาท
"ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายธุรกิจจะขยายตัวประมาณ 17% หรือมีเบี้ยประกันภัยรับ 1,700 ล้าบาท จากในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมามีกำไรถึง 103.97 ล้านบาท ซึ่งเติบโตเพิ่มขึ้นระยะเดียวกันปีก่อนถึง 70% อย่างไรก็ตามบริษัทยังตั้งเป้าหมายจะเพิ่มสำนักงานตัวแทนให้ได้ 115 สาขา จากปัจจุบันที่มีอยู่ 101 สาขา โดยจะเน้นในพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคใต้เป็นหลัก และจะพัฒนาตัวแทนขายของบริษัทร่วมกับบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ทั้งนี้เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายขึ้น" นางนวลพรรณกล่าว
|
|
|
|
|