แบบสถาปัตยกรรมของระบบการ เงิน หรือที่วงวิชาการเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Financial
System Architecture กลาย เป็นประเด็นแห่งวิวาทะในวงวิชาการ เศรษฐศาสตร์อีกครั้งหนึ่งเมื่อบริษัทยักษ์
ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากพากัน ล้มละลายทีละบริษัทสองบริษัท
วงวิชาการเศรษฐศาสตร์พากัน ถกเถียงกันมาเป็นเวลาช้านานว่า ควรจะออกแบบระบบการเงินอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจมากที่สุด
ระบบการเงินมีแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันอยู่ 2 แบบ โดยที่แต่ละแบบ อยู่คนละขั้ว
แบบที่หนึ่งเป็นระบบการเงิน ที่พึ่งธนาคารเป็นฐาน หรือ Bank-Based Financial
System แบบที่สองเป็นระบบ การเงินที่พึ่งตลาดเป็นฐาน หรือ Market-Based Financial
System
Bank-Based Financial System เป็นระบบการเงินที่พึ่งพิงธนาคารในการจัด
สรรทรัพยากรทางการเงินธนาคารทำหน้าที่ เป็นสถาบันคนกลาง ด้านหนึ่งระดมเงินออม
จากประชาชน อีกด้านหนึ่งจัดสรรทรัพยากร ทางการเงินสำหรับการประกอบกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจประเภทต่างๆ ทั้งการลงทุนและการบริโภค
Market-Based Financial System เป็นระบบการเงินที่พึ่งพิงการทำงานของ ตลาดทุนหรือตลาดหลักทรัพย์
วิสาหกิจต่างๆ เมื่อต้องการเงินทุนในการประกอบการหรือ ดำเนินกิจการ จะต้องออกหลักทรัพย์เพื่อนำ
ออกขายในตลาดหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่ ออกอาจเป็นหลักทรัพย์ที่แสดงความเป็น
เจ้าของ (Ownership Securities) และ/หรือ หลักทรัพย์ที่แสดงสภาพแห่งหนี้
(Debt Securities) ประชาชนผู้มีเงินออมเป็นผู้ตัด สินใจว่าจะซื้อหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทใด
บริษัทที่ขายหลักทรัพย์ได้ย่อมมีเงินทุน สำหรับการประกอบหรือดำเนินกิจการ
ตัวอย่างประเทศที่ยึด Bank-Based Financial System ได้แก่ เยอรมนี และญี่ปุ่น
ตัวอย่างประเทศที่ยึด Market-Based Financial System ได้แก่ สหรัฐ อเมริกา
และอังกฤษ
ประเทศที่ยึด Bank-Based Financial System ใช่ว่าจะไม่มีตลาดทุน หรือตลาดหลักทรัพย์
เพียงแต่มิได้มี ความสำคัญเท่าธนาคารในการทำหน้าที่ จัดสรรทรัพยากรในตลาดการเงิน
ในทำนองเดียวกัน ประเทศที่ยึด Market-Based Financial System ใช่ว่า จะไม่มีธนาคารและสถาบันการเงิน
ประเภทต่างๆ เพียงแต่การจัดสรร ทรัพยากรในตลาดการเงินส่วนใหญ่ผ่าน ตลาดทุนหรือตลาดหลักทรัพย์
ภายใต้ Bank-Based Financial System ผู้บริหารธนาคารเป็นผู้กุมชะตา กรรมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภท
ต่างๆ และเป็นผู้ชี้เป็นชี้ตายกิจกรรม เหล่านั้น กิจกรรมที่ได้รับจัดสรรเงินทุน
จากธนาคาร ย่อมมีโอกาสเติบโตได้มาก ส่วนกิจกรรมที่มิได้รับจัดสรรเงินทุน
ก็ต้องรอวันอับเฉา ในประเทศที่ระบบ สถาบันการเงินยังด้อยพัฒนา ธนาคาร เป็นธุรกิจในครอบครัว
บางครั้งธนาคาร ผันเงินฝากประชาชนไปใช้ประโยชน์ใน ธุรกิจของผู้บริหารหรือญาติมิตรพวกพ้อง
ของผู้บริหาร หากธุรกิจที่ได้รับจัดสรร เงินกู้จากธนาคารสามารถเติบโตอย่าง
มั่นคง กิจการธนาคารก็พลอยมั่นคงด้วย เพราะได้รับชำระดอกเบี้ยและเงินต้น
ในกรณีตรงกันข้าม หากธุรกิจที่ได้รับ จัดสรรเงินกู้จากธนาคารเสื่อมทรุด สินเชื่อธนาคารย่อมกลายเป็นสินเชื่อ
ที่ไม่ก่อรายได้ (Non-Performing Loans) เมื่ออัตราการสูญหนี้เพิ่มขึ้นจนทำลาย
ฐานรากของธนาคาร วิกฤติการณ์ธนาคาร ย่อมอุบัติขึ้น
วิกฤติการณ์การเงินที่เกิดขึ้นใน อาเซียตะวันออกในปี 2540 สะท้อนให้ เห็นจุดอ่อนของ
Bank-Based Financial System เพราะการจัดสรรเงินให้กู้ของ ธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ
เป็น ไปโดยมิได้ประเมินศักยภาพทางธุรกิจ ของโครงการที่ขอเงินกู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
และอย่างเข้มงวด หากแต่เป็น ไปตามความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์และ ระบบพวกพ้อง
จนมีการประทับตราระบบ ทุนนิยมในอาเซียตะวันออกว่าเป็นระบบ ทุนนิยมพวกพ้อง
(Crony Capitalism) ภายหลังวิกฤติการณ์การเงินปี 2540 มี วิวาทะในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ว่า
สมควร ที่จะเปลี่ยนแบบสถาปัตยกรรมระบบการเงิน ในอาเซียตะวันออก จาก Bank-Based
Financial System เป็น Market-Based Financial System หรือไม่ และจะเปลี่ยน
แปลงแบบสถาปัตยกรรมนี้อย่างไร
นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันจำนวน ไม่น้อยเชื่อว่า Market-Based Financial System
ดีกว่า Bank-Based Financial System เมื่อเกิดวิกฤติการณ์สถาบันการเงิน ในญี่ปุ่นนับตั้งแต่ปี
2534 เป็นต้นมา ประกอบกับความเสื่อมทรุดทางเศรษฐกิจของ เยอรมนีภายหลังการพังทลายของกำแพง
เบอร์ลิน ยิ่งเป็นการตอกย้ำความเชื่อดังกล่าวนี้ แต่แล้ววิกฤติการณ์วิสาหกิจอเมริกัน
ที่ก่อเกิดตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา ก่อให้เกิดข้อกังขาว่า Market-Based
Financial System ดีกว่า Bank-Based Financial System จริงหรือ
ภายใต้ Market-Based Financial System บริษัทจะได้รับจัดสรรทรัพยากร ทางการเงินจากตลาดทุน
ก็ต่อเมื่อมีผลการ ประกอบการดี บริษัทจึงต้องพยายามประกอบ การให้มีกำไร กำไรจากการประกอบการ
มีผลต่อราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หาก ตลาดทุนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทรัพ-ยากรทางการเงินจะถูกจัดสรรให้แก่บริษัท
ที่มีผลการประกอบการดี อันเป็นเหตุให้ มีการใช้ทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
แต่วิกฤติการณ์วิสาหกิจอเมริกัน ที่กำลังเกิดขึ้นนี้เป็นผลมาจากการผลิต
สารสนเทศลวงประชาชนผู้มีเงินออม บริษัท ยักษ์ใหญ่จำนวนมาก อาศัยการตกแต่ง
บัญชีเพื่อให้มีกำไรสูงกว่าความเป็นจริง แต่ในกรณีส่วนใหญ่รอดหูรอดตาผู้ตรวจ
สอบบัญชี โดยมิได้รู้เห็นเป็นใจประชาชน ผู้มีเงินออมพากันแห่ไปซื้อหุ้นของบริษัท
ที่มีอัตรากำไรสูง โดยหลงเข้าใจว่าเป็น กำไรที่เกิดขึ้นจริง กว่าที่จะรู้ว่าเป็นกำไร
ลวงก็เป็นเวลาที่บริษัทล้มละลายแล้ว
วิกฤติการณ์วิสาหกิจอเมริกันที่ เกิดขึ้นครั้งนี้ ช่วยเปลือยข้อบกพร่องของ
Market-Based Financial System หากบริษัทสามารถตกแต่งตัวเลขกำไรได้ และสามารถปั่นหุ้นได้
โดยไม่มีใครจับได้ ไล่ทันอย่างทันการ ตลาดทุนย่อมมิอาจ ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรทางการเงิน
อย่างมีประสิทธิภาพได้
ท่านจะเลือกแบบสถาปัตยกรรม ระบบการเงินใดระหว่าง Bank-Based Financial
System กับ Market-Based Financial System