Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539
โฟล์กทำท่าไหนครองใจตลาดจีน             
 





ดร.มาร์ติน พอซธ์ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโฟล์กสวาเก้น ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้ผ่านประสบการณ์อย่างโชกโชนกล่าวถึงตลาดรถแดนมังกรว่า จีนซึ่งมีประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคนถือเป็นตลาดแห่งอนาคต

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้ผลิตรถรายใหญ่ๆของโลกหลายรายต่างรู้สึกไม่หลงเหลือความอยากที่จะกะเทาะตลาดแห่งนี้ เพราะเจอเข้าอย่างจังกับประสบการณ์อันไม่น่าพิสมัยจากฝีมือของรัฐบาลในเดือนมิถุนายน 1994 ที่ผ่านมาเหล่าผู้ผลิตรถชั้นแนวหน้าระดับโลกซึ่งรวมถึงโตโยต้า ฟอร์ดและเจเนอรัล มอเตอร์หรือจีเอ็มได้เดินทางมายังกรุงปักกิ่งตามคำเชื้อเชิญของรัฐบาลเพื่อสร้างรถยนต์

แห่งอนาคตให้กับจีนหรือที่เรียกว่ารถสำหรับครอบครัวขนาด 1300 ซีซี.

นักจากวันนั้นเป็นต้นมาพวกเขาก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตารอคอยว่าเมื่อไหร่รัฐบาลจีนจะประกาศรายชื่อผู้ชนะประมูลให้สร้างแฟมิลี่ คาร์กระนั้นการรอคอยของพวกเขาก็ไม่มีทีท่าจะเป็นจริงขึ้นมา เพราะจนถึงทุกวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ยอมปริปาก พอร์ธอธิบายว่าเมื่อรัฐบาลจีนเชื้อเชิญผู้ผลิตรถให้เดินทางมายังปักกิ่งจีนได้พูดอย่างแจ่มชัดแล้วว่า มีเพียงการนำเสนอ การจัดสัมมนาและแสดงนิทรรศการเท่านั้น สำหรับรถแฟมิลี่ คาร์ส่วนคำว่า “ประมูล” จีนมิได้อ้างถึงแต่อย่างใด

พอซธ์ไม่เชื่อว่า บรรดาผู้ผลิตรถที่ยังขาดความชำนาญคาดหวังที่จะเจาะเข้าตลาดจีนอย่างจริงจัง และสามารถสร้างยอดขายได้ในทันควัน ประสบการณ์อันยาวนานของเขาสอนให้รู้ว่า ความคิดที่จะผลิต ขายหรือให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์ในจีนนั้นต้องอาศัยเวลาอันยาวนาน

นับตั้งแต่ปี 1984 โฟล์กสวาเก้นค่อยๆเรียนรู้ศิลปะการบริหารในจีนอย่างจริงจังส่งผลให้บริษัทเมืองเบียร์รายนี้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดรถจีนด้วยส่วนแบ่งในตลาดเกินกว่า 40% ในปัจจุบันและสำหรับส่วนตัวของพอซธ์เองก็ไม่ยอมที่จะยกส่วนแบ่งตลาดให้กับบริษัทที่เพิ่งเริ่มตั้งตัวในจีนอย่างฟอร์ด หรือฮุนไดเป็นแน่ “ผมพูดว่าโชคดีเพราะคุณไม่สามารถฉกเอาประสบการณ์ของเราไปได้ในชั่วข้ามคืน”

การที่จะประสบความสำเร็จในการบริหารในตลาดรถที่เต็มไปด้วยอุปสรรคและอยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างจีนนั้นขึ้นอยู่กับการผนวก 4 องค์ประกอบหลักเข้าด้วยกันอย่างระมัดระวังคือ การร่วมทุนการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในท้องถิ่นหรือ LOCAL CONTENT การบริการและสุดท้ายประชาชนซึ่งก็หมายถึงลูกค้านั่นเอง

สำหรับจีน การร่วมทุนถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง มิใช่เพียงเพราะเป็นความต้องการของรัฐบาลเท่านั้น แต่มันเป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะหุ้นส่วนชาวจีนจะรู้เรื่องตลาดดี ซึ่งนั่นทำให้การทำงานของบริษัทไปได้สวย “มันเป็นความเข้าใจผิดหากคุณคิดว่าคุณสามารถบริหารบริษัทร่วมทุนในจีนได้เพียงเพราะบริษัทคุณมีหุ้นในกำมือมากกว่า”

ความเห็นของพอซธ์ก็คือจำเป็นต้องร่วมมือกับหุ้นส่วนชาวจีน “คุณจำเป็นต้องสอนหุ้นส่วนและเอาชนะใจพวกเขาเราสอนคนของเราว่าคุณต้องนั่งคิดไปพร้อมกับหุ้นส่วนและทำงานด้วยกัน แม้ว่าต้องอาศัยเวลาถึง 2 สัปดาห์ก็ตาม”

ผู้บริหารที่รู้จริงต้องตระหนักว่า พวกเขามาที่นี่มิใช่เพื่อมาสั่ง แต่มาเพื่อแนะแนวทาง ความลับข้อหนึ่งที่ทำให้โฟล์กประสบความสำเร็จก็คือการจับคู่ให้กับผู้จัดการทั้งจากฝ่ายเยอรมนีและจีน

“เราวิเคราะห์ในทุกงานหลังจากนั้นก็ถามตัวเองว่ามีผู้จัดการชาวจีนคนไหนบ้างในกลุ่มที่สามารถทำงานชิ้นนั้นได้ หากเขามีความสามารถเพียง 80% เราก็จัดหาคนของเราให้เป็นที่ปรึกษา แต่หากมีศักยภาพถึง 90% ฝ่ายเราก็จะเป็นผู้ช่วย เราตัดสินใจที่จะให้มีการทำงานร่วมกันเป็นคู่เสมอ เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันได้อย่างแท้จริง”

โฟล์กจงใจที่จะเพิ่มจำนวนการใช้ชิ้นส่วนประกอบในท้องถิ่นของรถซานตานา ซึ่งเริ่มผลิตในจีนในปี 1984 ขึ้นเป็น 87% เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับรัฐ

ในจีน โฟล์กมีบริษัทร่วมทุนถึง 84 แห่งมีข้อตกลงทำสัญญาอีก 100 ฉบับร่วมกับบริษัทท้องถิ่นสำนักงานตัวแทนในกรุงปักกิ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลักเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นคือการประสานงานเกี่ยวกับข้อตกลงเรื่องชิ้นส่วนประกอบในท้องถิ่น

เคล็ดลับประการต่อมาก็คือ การให้บริการแก่ลูกค้าในจีนหากมองไปยังแผนที่ของจีนในทุกๆภาคจากทิเบตไปจนถึงเซี่ยงไฮ้ โฟล์กจะตั้งศูนย์บริการอย่างน้อยหนึ่งแห่ง จนทุกวันนี้ศูนย์บริการของโฟล์กในจีนมีมากกว่า 300 แห่งแล้ว ซึ่งยากเกินกว่าที่คู่แข่งจะไล่ตามทันในระยะเวลาเพียงชั่วข้ามคืน

บุคคลที่สำคัญที่สุดสำหรับพอซธ์คือลูกค้า “คุณจำเป็นต้องเข้าใจว่าทุกคนทำงานอย่างเต็มที่เพื่อลูกค้าและก็ไม่มีใครเป็นเจ้านายที่แท้จริงบางครั้งคนของผมถามว่า ใครคือเจ้านายของผม ผมตอบว่าไม่มีเจ้านายหรอก มีเพียงลูกค้าเท่านั้น” พอชธ์ยืนยันในตอนท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us