Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2539
ร้านอาหาร ตต.เรียนรู้ลิ้นญี่ปุ่น-โสมใต้             
 





แมคโดนัลด์และพิซซ่าฮัทอาจเข้ายึดหัวหาดในทุกเมืองหลวงของชาติเอเชียแต่ทว่าการทำให้อาหารของตะวันตกเป็นที่ต้องรสนิยมคนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ซึ่งยึดติดอยู่กับรสของอาหารประจำชาติอย่างเหนียวแน่นดูจะเป็นเรื่องที่หนักเอาการทีเดียว

“ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีรูปแบบวัฒนธรรมที่ต่างเชื่อมผนึกกันอย่างแนบแน่นมาก และสำหรับธุรกิจด้านอาหารแล้ว รูปแบบประเพณีนิยมเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ” ทีเดียวโฆษกของเนสท์เล่กล่าว

ยูนิลีเวอร์ กลุ่มบริษัทขายสินค้าอุปโภค-บริโภคสัญชาติอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์มีอันต้องล้มแผนการร่วมทุนกับเกาหลีใต้ระยะเวลา 8 ปีกลางคันในปี 1993 ส่วนการร่วมทุนครั้งที่สองร่วมกับกลุ่มตงปังเพื่อจำหน่ายสบู่ แชมพู ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหนัง ชาลิปตันและอื่นๆก็ประสบขาดทุนโฆษกของยูนิลิเวอร์กล่าวว่าบริษัท “ต้องเผชิญกับบริษัทท้องถิ่นซึ่งเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวจำนวนมาก”

กระนั้นใช่ว่าร้านอาหารตะวันตกจะประสบชะตากรรมอันน่าเศร้าเหมือนกันทุกรายไปยกตัวอย่างเช่น แฟรนไชส์ร้านอาหารของ T.G.I. FRIDAY’S ที่อัดโต๊ะขนาด 2-5 ที่นั่งไว้เพียบเพื่อต้อนรับลูกค้าโดยรายการอาหารที่ป๊อปปูล่ามากที่สุดคือไก่ CAJUN

คำถามที่ตามมาก็คือทำไมอัตราความสำเร็จของแต่ละร้านจึงต่างกัน คำตอบก็เพราะส่วนใหญ่เมื่อคนญี่ปุ่นและเกาหลีหันมารับประทานอาหารตะวันตก พวกเขาไม่ใช่รับประทานเพียงเพราะรสชาติหรือความสะดวก แต่ถือว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของการยอมรับวิถีชีวิตแบบตะวันตก

ซื่อยี่ ผู้อำนวยการด้านการตลาดและฝึกอบรมร้านอาหารเอเชียน สตาร์ แฟรนไชส์ของ T.G.I.ในเกาหลีเล่าว่าตอนที่เปิดภัตตาคารครั้งแรกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เขารู้สึกตกใจกับวัฒนธรรมของคนเกาหลีใต้มากเพราะคนพวกนี้ส่วนใหญ่จะขี้อายและไม่ชอบออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ขณะที่ผู้ให้บริการในร้านอาหารส่วนใหญ่ก็แข็งท่ออย่างกับทหารปราศจากรอยยิ้ม ในทางตรงก้นข้ามวัฒนธรรมของ T.G.I. คือความเป็นมิตร คนอเมริกันจะฝึกลูกจ้างตามแบบวัฒนธรรมของอเมริกันคือเปิดเผยสนุกสนาน บางครั้งก็ถึงขั้นบ้าบอเลยทีเดียว

“ตอนที่ก้าวเข้ามาครั้งแรกลูกค้าชาวเกาหลีจะมีความรู้สึกว่าร้านของเราเสียงดังเจี๊ยวจ๊าวเกินไป แต่พอครั้งต่อมาพวกเขากลับถามหาถึงงานฉลอง เราปฏิบัติต่อลูกค้าดีกว่าลูกค้าของ T.G.I. ในสหรัฐฯเสียอีก เรามีวงดนตรีที่ประกอบด้วยลูกจ้าง 10 คนที่เล่นทั้งกลอง ฮาร์โมนิก้า กีตาร์และร้องเพลงในงานฉลองวันเกิด” ซื่อยี่บรรยายต่อ

แต่ก็ใช่ว่าการทำร้านอาหารตะวันตกในญี่ปุ่นและเกาหลีจะประสบความสำเร็จแบบอัตโนมัติเสมอไป อย่างเช่นร้านพลาเน็ต ฮอลลีวูดที่เข้ามาขายในกรุงโซลและต้องปิดตัวเองภายใน 6 เดือน “บริการห่วย คุณภาพอาหารเลว แถมที่ทำเลยังไม่ดีอีก” ซื่อยี่กล่าว

ในญี่ปุ่น ความพยายามที่จะเปิดรูดอลฟ์ วาเลนติโน บาร์บีคิว เฮาส์โดยโซโก้ เชนห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ก็ล้มเหลวเช่นกัน เรียวอิชิ มารูยาอดีตผู้จัดการของโซโก้กล่าวว่า “เราตัดสินใจที่จะเปิดร้านในโอซากา เพราะร้านขายบาร์บีคิวจำนวนมากเป็นร้านขายเนื้อหมู แต่คนที่นี่ชอบเนื้อมากกว่าโตเกียวเป็นเมืองนานาชาติเหมือนปารีสหรือนิวยอร์ก จึงดูเป็นกลางๆหากเราประสบความสำเร็จในโอซากา เราก็สามารถประสบความสำเร็จในทุกที่ที่ญี่ปุ่น แต่ผลที่ออกมากกลับไม่ดีเราจำต้องปิดร้านอาหาร

มารูยาอธิบายว่า ในญี่ปุ่นความชื่นชอบในรสอาหารยังถูกจัดแบ่งย่อยออกไป อีกคือแบ่งออกเป็น 3 เกาะใหญ่ๆ แต่ละเกาะก็จะมีวัฒนธรรมอาหารที่เป็นของตัวเอง หรือขนาดเพียงเกาะเดียว รสชาติอาหารท้องถิ่นยังแตกต่างกันเลย

ร้านอาหารตะวันตกจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับรสนิยมตามแบบฉบับของคนเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่นเมนูของ T.G.I. ได้บรรจุเอารายการอาหารที่ชื่อว่า “BULGOUKI” ซึ่งเป็นเนื้อปลาที่นิยมกินกันมาตั้งแต่เก่าก่อน

เจ้าของร้านอาหารบางรายพบว่าตนจำต้องไม่เพียงแต่เปลี่ยนแปลงรสชาติอาหารให้ถูกปากชาวเอเชียเท่านั้น แต่ยังต้องทำให้ลูกค้าผิวเหลืองพวกนี้เคยชินกับสไตล์การกินแบบตะวันตกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเดินกินตามถนน ถือเป็นเรื่องต้องห้ามในเกาหลีใต้ แต่ร้านขายไอศกรีมบาสกินรอบบินส์ของอังกฤษกลับเปลี่ยนสภาพนั้นได้

เป็นเพราะข้อจำกัดเรื่องที่นั่ง บริษัทร่วมทุนของบาสกินจึงหันมาใช้วิธีเชื้อเชิญลูกจ้างทั้งหมดของบริษัทมาลองชิมไอศกรีมในช่วงระหว่างตอนบ่ายและตอนเย็น ผลที่ตามมาก็คือมีพนักงานทั้งหญิงและชายที่แต่งตัวภูมิฐานเดินกินไอศกรีมของบาสกินในกรุงโซลกันให้ขวัก เพราะพวกเขาเห็นว่าไอศกรีมของบาสกินมีรสชาติแปลกสร้างความตื่นเต้นชวนให้ลิ้มลองไม่ใช่น้อย

กระนั้นก็ดี ยังมีอีกหลายร้านที่เจอดีเข้าอย่างจัง อย่างเช่นดันกิ้น โดนัทที่ไม่สามารถควบคุม

แฟรนไชส์ในเกาหลีใต้และยังมีมือดีเอาชื่อของดันกิ้น ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตแถมยังขายสินค้าที่ไม่สะอาดอีกต่างหาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us