|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2539
|
|
แล้วการเมืองไทยก็วนเวียนอยู่ในเกลียวเดิมอีกครั้ง
เป็นเกลียวหวาน !
หมุนได้คล่อง หมุนไปได้เรื่อยๆแต่ไม่เดินหน้าไปทางไหนทั้งนั้นไม่ว่าด้านซ้ายหรือด้านขวา ทำให้ผิดวัตถุประสงค์ของการทำเกลียว
ผมเขียนต้นฉบับชิ้นนี้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เมื่อรู้ข่าวว่าพรรคพลังธรรมถอนตัวออกจากรัฐบาล
เหตุผล ?
ไม่มีอะไรมากหรอกนอกจากหวังคะแนนนิยมในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้
คะแนนนิยมจากคนกรุงเทพฯ
สถานการณ์การเมืองโดยรวมนั้น รัฐบาลภายใต้การนำของคุณบรรหาร ศิลปอาชาเริ่มไร้เสถียรภาพไม่ใช่จากการทำงานของฝ่ายค้าน หากแต่เป็นความแตกแยกกันเองภายในพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ว่าจะจากความหวาดระแวงกันเองระหว่างคุณบรรหาร ศิลปอาชากับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ความหงุดหงิดของพรรคนำไทยและคุณอำนวย วีรวรรณ
และโดยเฉพาะเกมรุกจาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงกรณีการพิจารณาตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่
แม้ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดวันที่ 13 สิงหาคม 2539 จะมีทางออกที่รักษาหน้ากันอยู่
แต่เป็นที่รู้กันว่าเกมรุกจาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงจะต้องมีต่อเนื่อง
ในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 211
คุณบรรหาร ศิลปอาชาจะต้องเผชิญกับการถูกประณามหยามเหยียดในสภาผู้แทนราษฎร จากการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้าน ที่เลือกเปิดอภิปรายเฉพาะนายกรัฐมนตรีคนเดียว
การยุบสภาเห็นรำไรอยู่ข้างหน้า
ถ้าพรรคพลังธรรมร่วมหัวจมท้ายกับรัฐบาลต่อไป ถึงอย่างไรก็ต้องลงไปเลือกตั้งใหม่อยู่แล้ว แต่จะเสียเปรียบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำพรรคฝ่ายค้านมาก พรรคประชาธิปัตย์จะได้คะแนนนิยมจากคนกรุงเทพฯ ในฐานะที่ด่ารัฐบาลได้เจ็บได้สะใจ พรรคพลังธรรมซึ่งมีแต่ฐานอยู่ในกรุงเทพฯมีโอกาสจะสูญเสียฐานนั้นจนอาจเป็นพรรคต่ำสิบได้
ชิงถอนตัวรักษาคะแนนนิยมไว้ดีกว่า
เรื่องมีอยู่เท่านี้ !
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงนั้นไม่ได้เสียดายเก้าอี้ หวงตำแหน่งการที่ขัดแย้งกับรัฐบาลแล้วไม่ถอนตัวในทันทีก็เป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่ง ยุทธวิธีที่จะสร้างคะแนนนิยมในหมู่ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
พรรคนำไทยก็เช่นกัน
ร่ำๆจะถอนตัวตั้งแต่วันประชุมพรรคร่วมรัฐบาลวันที่ 11 สิงหาคม 2539 แล้วแต่ชั้นเชิงการฉวยโอกาสยังเป็นรองพรรคพลังธรรม
ในที่สุดบ้านเราก็คงจะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้ง
เป็นการเลือกตั้งที่ไม่มีอะไรใหม่ เพราะยังคงอยู่ในกรอบเดิม กติกาเดิม นักการเมืองหน้าเดิมๆ ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเดิมบ้าง ย้ายพรรคบ้าง แต่หาได้มีนโยบายใหม่ที่สร้างสรรค์อะไรไม่ เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วเราก็จะมีการจัดตั้งรัฐบาลในรูปแบบเดิม
ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไปก็เห็นๆกันอยู่
อาจเป็นพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
หรือกลับไปเป็นคุณชวน หลีกภัย
มีใครบอกความแตกต่างในการบริหารงานของแผ่นภายใต้ 2 ท่านนี้ได้บ้าง
มิไยที่จะมีข้อเรียกร้องให้ดำเนินการปฏิรูปการเมือง แต่รัฐบาลหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ทั้ง 2 ชุดไม่ได้ทำอะไรเป็นเรื่องเป็นราวเลย นอกจากพูดแล้วก็ทะเลาะกัน ในการเลือกตั้งคราวนี้ก็หาได้มีพรรคการเมืองไหนกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมถึงการปฏิรูปการเมืองไม่ ในความคิดของพวกเขามีแต่ต้องการทำจำนวนที่นั่งให้ได้มากที่สุด คบคิดหารือจับกลุ่มกันเพื่อร่วมเป็นรัฐบาล แบ่งแยกจับจองกระทรวงทบวงกรมกันไว้ล่วงหน้า
แล้วเราก็จะเผชิญสถานการณ์อย่างเดิม
ทุกอย่างหมุนไป...หมุนไป...หมุนไป...
แต่สุดท้ายก็อยู่ที่เดิม
เพราะเกลียวมันหวาน !
ยังจะคงเป็นเช่นนี้เรื่อยไป...
หากเกลียวยังไม่ถูกทำลาย
|
|
|
|
|