Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539
เปิดเมืองสุโขทัย เมื่อ “มรดกโลก” อยู่ใกล้แค่ 1 ชั่วโมงบิน             
 





สุโขทัยเป็นเมืองที่มีดินแดนประวัติศาสตร์ 3 อาณาจักรใหญ่ คือเมืองเชลียง ศรีสัชนาลัยและสุโขทัย ซึ่งมีพื้นที่อย่างต่ำ 500 ไร่ถึง 2,000 ไร่ในเขตเมืองชั้นในและหากรวมบริเวณรอบนอกเขตพระราชฐานอย่างอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยก็จะมีพื้นที่กว่า 4,000 ไร่มีวัดให้ชมนับร้อยวัดอย่างน้อยๆก็ต้องใช้เวลาชมทีละครึ่งวันจึงจะทั่ว

ถ้าไม่ใช่นักศึกษาหรือผู้มีธุระต้องแวะชมโดยตรงแล้วก็มักจะผ่านเลยไป มากกว่ามีเวลานิดเดียวแล้วแวะไปก็ชมไม่ได้เต็มอิ่ม

หลังจากกรมทางหลวงตัดและปรับปรุงถนนสาย 101 ผ่านเมืองสุโขทัยที่แยกมาจากถนนสาย 1 หรือถนนพหลโยธินพร้อมกับการสร้างทางสายกรุงเก่า-จ.ตาก ทำให้คนแวะเวียนมาสุโขทัยได้ง่ายขึ้น

ยิ่งง่ายขึ้นอีกเมื่อ “บางกอกแอร์เวย์” เลือกสร้างสนามบินเพื่อเปิดเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-สุโขทัยและกรุงเทพฯ-สุโขทัย-เชียงใหม่ ขึ้นในจังหวัดนี้ทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นทั้งในเขตและนอกเขตแผ่นดินไทยมาเที่ยวเมืองเก่าอันถูกจัดให้เป็นมรดกโลกกันได้มากและสะดวกขึ้นภายใน 60 นาที

“แทนที่เราต้องเสียเวลากับการเดินทางครึ่งค่อนวันจากกรุงเทพฯมาถึงสุโขทัย เราก็ย่นระยะเวลาในการเดินทางเพื่อเอาเวลามาซึมซับกับบรรยากาศความงามของมรดกโลกและสิ่งต่างๆในสุโขทัยได้มากขึ้น” คำกล่าวจากนักท่องเที่ยวที่มาถึงที่สุโขทัยด้วยวิธีที่เร็วกว่าที่เขาเคยมา

ด้วยข้อจำกัดของสายการบินใหม่อย่างบางกอกแอร์เวย์ หรือบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัดที่ว่าหากจะสร้างสนามบินเป็นของตัวเองเพื่อเปิดเส้นทางบินใหม่ในไทยแล้วละก็จะต้องสร้างในจังหวัดที่บริษัทเดิมอย่างสายการบินไทย หรือบริการเอื้องหลวงที่คุ้นเคยของผู้นิยมเดินทางทางอากาศในประเทศไทยจะต้องไม่มีสนามบินอยู่

“หากมองในพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวเกือบทุกจังหวัดมักจะมีสนามบินอยู่แล้ว

ทำให้เราเลือกมาสร้างสนามบินที่สุโขทัยสำหรับสายการบินของบางกอกแอร์เวย์โดยยึดหลักความกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น เน้นอาคารแบบเปิดโล่งเพื่อให้ผู้มาเยือนสัมผัสบรรยากาศได้อย่างเต็มที่นับจากก้าวแรกที่ลงจากสนามบิน” เจ้าหน้าที่ของบางกอกแอร์เวย์เปิดเผยและกล่าวว่า

สนามบินสุโขทัยตั้งอยู่บนพื้นที่ 2,000 ไร่ครอบคลุมเขตพื้นที่ ต.คลองกระจง ต.ท่าทอง และต.ย่านยาว อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ห่างจากตัวเมือง จ.สุโขทัยประมาณ 30 กิโลเมตรในปัจจุบันยังถือเป็นสนามบินที่คนรู้จักไม่มาก จึงไม่น่าแปลกใจว่ากิจกรรมต่อไปภายหลังการใช้งานของสนามบินอยู่ตัวครบทุกด้าน การประชาสัมพันธ์และป้ายชี้ทางมาสนามบินภายในเขต จ.สุโขทัยคงจะมีให้เห็นได้ชัดกว่านี้

เพราะตอนนี้มีเพียงป้ายบอกทางไปสนามบินไกลสุดแค่ 3 กิโลเมตรจากสนามบินเท่านั้น

อย่างนี้แล้วคงไม่ต้องบอกว่าป้ายชื่อนั้นสำคัญไฉนเพราะอย่างน้อยก็ทำให้คนไม่รู้จัก ได้รู้กันสักทีว่าสุโขทัยก็มีสนามบินกับเขาแล้ว

สำหรับปัญหาการก่อสร้างสนามบินแต่ละแห่งที่พบมักเป็นเรื่องของกรณีพิพาทระหว่างบริษัทผู้ประกอบการกับเจ้าของที่ดินข้างเคียงหรือเจ้าของที่ดินเดิม แต่สำหรับสนามบินสุโขทัยปัญหาที่พบกลับเป็นเรื่องของการก่อสร้างในบางฤดูทำให้การทำงานล่าช้าลงไปบ้างแต่ไม่ถึงกับเป็นปัญหาใหญ่

“ปัญหาที่เราต้องระวังในตอนแรกคือ เรื่องของดิน ซึ่งมีความยืดหยุ่นมาก ถ้าเราต้องการให้รันเวย์รับน้ำหนักได้ 21.5 ตันตามที่เราได้สร้างมาต้องซื้อดินมาจากที่อื่น เพราะดินในบริเวณนี้มีการยุบตัวสูงไม่สามารถใช้งานได้ ค่าใช้จ่ายที่หนักก็คือค่าถมดินที่เราถมจากระดับพื้นดินเดิมขึ้นมา 3.50 เมตร โดยดูให้พ้นจากระดับน้ำท่วมหนักในปีก่อนนอกเหนือจากเงินค่าซื้อที่ดินที่ใช้ไปประมาณ 300-400 ล้านบาทสำหรับที่ดินไร่ละ 50,000-80,000 บาทซึ่งยังคงเป็นราคาที่ทรงตัวอยู่ถึงทุกวันนี้” ร.อ.ประสิทธิ์ ศรีประเสริฐ ผู้ควบคุมการก่อสร้างสนามบินกล่าว

ภายในสนามบินประกอบด้วยทางวิ่งผิวแอสฟัลติดคอนกรีต ขนาด 45x2,100 ม.พร้อมไหล่ทางวิ่งสองข้างขนาดความกว้าง 7.50 ม.และเผื่อทางวิ่งด้านละ 60 ม.ลานจอดขนาด 50x250 ม. สามารถจอดเครื่องบินแบบโบอิ้ง 737 ได้จำนวน 3 ลำเครื่องช่วยเดินอากาศ ระบบไฟฟ้าสนามบิน ระบบวิทยุสื่อสารการบินและเครื่องวัดลมอุปกรณ์ดับเพลิง ระบบสาธารณูปโภค ได้แก่โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา ถนนลานจอดรถเป็นต้น

นอกจากนี้ยังประกอบด้วย อาคารที่พักผู้โดยสารขาเข้าและขาออก ขนาดพื้นที่ 2,400 ตร.ม. จุผู้โดยสารได้ 200 คน ศาลาต้อนรับ หอบังคับการบิน อาคารที่ทำการดับเพลิงและกู้ภัย สถานีตรวจอากาศการบิน

พร้อมกันนี้ในอนาคตบางกอกแอร์เวย์ได้เตรียมพื้นที่ด้านข้างทั้งสองของอาคารต้อนรับผู้โดยสารข้างละ 50 ไร่ ไว้สำหรับการพัฒนาเป็นท่าอากาศยานสำหรับการบินระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับการตรวจคนเข้าเมือง

“ส่วนนี้คาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณปีครึ่ง ตอนนี้อยู่ระหว่างการเสนอแบบแปลนให้กรมการบินพาณิชย์ตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยว่าใช้ได้หรือไม่และเมื่อถึงเวลานั้นชาวต่างชาติก็จะบินตรงมาสุโขทัยได้เลย” ร.อ.ประสิทธิ์กล่าว

ส่วนด้านซ้ายของตัวอาคารจะจัดสร้างเป็นรีสอร์ตในรูปแบบของบ้านพักตากอากาศจำนวน 40 หลังมีน้ำล้อมรอบและบริษัทใกล้รีสอร์ตยังมีแผนจัดสร้างสุโขทัยสแควร์เพื่อรวบรวมให้เป็นแหล่งขายของพื้นบ้าน สุโขทัย อาทิ ทองโบราณ ผ้าตีนจก เตาเผา ถ้วยชามสังคโลก ฯลฯ

“สุโขทัยสแควร์” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสนามบินสุโขทัยนี่เอง ที่บางกอกแอร์เวย์หวังว่าสักวันหนึ่งจะกลายเป็นแหล่งรวมของดีเมืองสุโขทัย ที่จะสืบทอดความเป็นตลาดปสานแต่ดั้งเดิม

แต่ที่แน่ๆที่ตลาดปสานในสนามบินแห่งนี้คงไม่ใช้ลักษณะใครใคร่ ค้าค้า เพราะอย่างน้อยสิทธิ์การให้เช่าพื้นที่และการคัดเลือกร้านค้าก็ต้องผ่านทาง “บางกอกแอร์เวย์” ผู้บริหารสนามบินแห่งนี้เสียก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us