Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539
COBRA GOLD ปฏิบัติการสะท้านฟ้า             
 





“ท่านผู้บังคับบัญชาและท่านผู้มีเกียรติทุกท่านขอต้อนรับด้วยความอบอุ่นสู่หาดเทพา ในการสาธิตการดำเนินกลยุทธ์ร่วม/ผสมและในโอกาสนี้ ขอต้อนรับผู้บัญชาการทหารสูงสุดและพณฯ อัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยด้วยความจริงใจ”

สิ้นเสียงห้าวหาญผ่านเครื่องกระจายเสียงเชิญชมการสาธิตฝึกยกพลขึ้นบกภายใต้รหัส “คอบร้า โกลด์” (COBRA BOLD) ครั้งที่ 15 เพื่อแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาขีดความสามารถของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เพื่อนพันธมิตรสหรัฐฯ นำมาร่วมฝึกกับของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศและนาวิกโยธิน องค์ประกอบสำคัญของการฝึกร่วม/ผสมที่สามารถปฏิบัติการโจมตีได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง อันแสดงให้เห็นถึงการบรรลุจุดสุดยอดในการฝึกอาวุธและความชำนาญของกองทัพไทยและกองทัพสหรัฐฯ ตั้งแต่ขั้นตอนของการวางแผนอย่างประสานสอดคล้องตลอดจนความพรั่งพร้อมของกำลังรบและความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน

ในการสาธิตการฝึกนี้ได้ชมการจัดกำลังรบที่ใช้กำลังพลฝ่ายไทยถึง 10,000 คน เรือ 17 ลำอากาศยาน 27 เครื่อง ฝ่ายสหรัฐฯ 9,000 คนเรือ 13 ลำ อากาศยาน 41 เครื่องเพื่อปฏิบัติการในส่วนต่างๆได้แก่ส่วนจัดเตรียมสนามรบ ส่วนปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ส่วนปฏิบัติการส่งกำลังทางอากาศเข้าปฏิบัติการรบภายใต้สถานการณ์ที่สมมติขึ้นเพื่อยึดที่หมายของกองกำลังฝึก/ร่วมบริเวณหาดเทพา

ทางด้านเนินขาขวามือสมมติให้เป็นที่หมายของกองกำลังร่วม/ผสม ส่วนบริเวณโล่งเป็นเขตทิ้งลงของกำลังทางอากาศและเป็นจุดกำหนดการบินหาข่าวด้วยเครื่องบินแบบอีพี-3 “ORION”

ของสหรัฐฯ บินเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการจากทางทิศเหนือ

ในขณะเดียวกันเครื่องบินแบบพี 3 “Orion” จากกองทัพเรือไทยเคลื่อนที่ติดตามมา โดยได้รับมอบภารกิจที่แตกต่างกันออกไปเพื่อค้นหาส่วนแยกปฏิบัติการในทะเลของฝ่ายข้าศึก

และเพื่อประกันความสำเร็จในภารกิจของเครื่อง P-3 เครื่องบินคุ้มกันแบบ F 16 “FALCONS” ที่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง ติดตั้งไว้ด้วยจรวดอากาศ-สู้-อากาศ AIM 9 “SIDEWINDER” เป็นจรวดที่มีความเหมาะสมต่อภารกิจในการครองอากาศก็เข้ามาเสริม

ขณะที่กำลังชมอยู่เพลินๆ เครื่องบิน F/A-18 A “HORNET” ของนาวิกโยธินอเมริกาซึ่งสมมติเป็นเครื่องบินสกัดกั้นของฝ่ายตรงข้าม เข้าทำการรบกวนการปฏิบัติของฝ่ายพันธมิตร

หลังจากฝ่ายพันธมิตรครองอากาศได้แล้ว ทางบริเวณแนวขอบฟ้าเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ B-1-B “LANCER” กำลังโจมตีที่หมาย เครื่องบินแบบนี้สามารถบรรทุกระเบิดน้ำหนัก 42,000 ปอนด์ได้สบายด้วยพิกัดความเร็วสองเท่าความเร็วเหนือเสียงและบินในขณะปล่อยอาวุธนำวิถีได้ในระดับความสูง 1,000 เมตรนับเป็นเครื่องบินรบลำมหึมาที่แม้จะแค่โฉบผ่านไปอย่างช้าๆก็ส่งเสียงคำรามกึกก้องน่านน้ำไทยจนนายทหารสหรัฐฯ บางคนต้องยกมืออุดหูขณะที่พญาอินทรีเหล็ก B-18 บินเหนือศีรษะ

ทางทะเลก็จะเห็นหน่วยปฏิบัติการสงครามพิเศษทางเรือในชื่อ “SEAL” กำลังดำเนินกลยุทธ์เข้าสู่ฝั่ง โดยเรือยางความเร็วสูง “CRRC” ติดท้ายขนาด 55 แรงม้า

ขณะที่บนท้องฟ้าจะเห็นเฮลิคอปเตอร์แบบ CH 53 ลำเลียงชุดปฏิบัติการพิเศษผสมจากหน่วยปฏิบัติการสงครามพิเศษทางเรือ ทำการโดดร่มในลักษณะกระโดดสูงแต่เปิดร่มในระดับต่ำสู่ที่หมายเพื่อแทรกซึมเบื้องสูงทางยุทธวิธีที่เรียกว่า “HALO”

นอกจากการปฏิบัติการรบแล้ว ทางราชนาวีสหรัฐฯยังนำเฮลิคอปเตอร์ “SEAHAWK” มาปฏิบัติการบินสนับสนุนภารกิจปฏิบัติการจิตวิทยา โดยการโปรยใบปลิวเหนือพื้นที่ฝ่ายตรงข้ามพร้อมๆกับบินกระจายเสียงมุ่งหวังให้กำลังฝ่ายตรงข้ามเสียขวัญหรือยอมจำนน

การสาธิตฝึกยกพลขึ้นบก (COBRA GOLD) ครั้งที่ 15 นี้มีการปฏิบัติการร่วมกันล้วนน่าชมกว่า 20 รายการนอกเหนือจากภารกิจที่เรียกว่า “การครองอากาศ” และการโจมตีทางอากาศ (AIR STRIKE) แล้วยังมีการปฏิบัติการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศเพื่อการสนับสนุนโดยเครื่องบินL-39 “ALBATROSS” ตอนนี้ทำหน้าที่ตอบสนองตามคำขอให้การสนับสนุนทางอากาศในขณะที่ในทะเลจะเห็นกำลังรบยกพลขึ้นบก เคลื่อนที่เข้าฝั่งซึ่งเป็นช่วงวิกฤต เครื่องบินโจมตีแบบ A-7 “COR SAIRS” ของทหารเรือไทยเปิดโจมตีด้วยอาวุธปืนกลอากาศต่อเป้าหมาย

บัดนี้เครื่องบิน AV-8 B “HARRIERS” ซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะสามารถขึ้น-ลงในแนวดิ่งปฏิบัติงานบนเรือยกพลขึ้นบก มีกำลังไว้ใช้แม้ในยามจำกัดเรือบรรทุกเครื่องบินหรือสนามบินบินเข้าหาเป้าหมายมาแสดงวันนี้เรียกเสียงปรบขมือจากผู้ชมด้วยการผงกหัว ทำความเคารพวี ไอ พีที่นั่งชมอยู่ก่อนเชิดหัวบินกลับฐาน

แม้การสาธิตการปฏิบัติการร่วมกันในครั้งนี้จะไม่มีการใช้กระสุนจริง แต่ก็แสดงได้สมจริงอาจเป็นประจักษ์พยานให้มั่นใจถึงขีดความสามารถและสมรรถนะของอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองกำลังทั้งสองประเทศตลอดจนความพร้อมในการปฏิบัติการยุทธร่วม/ผสมและที่สำคัญยิ่งย่อมเป็นสิ่งยืนยันในความสัมพันธ์อันดีของสองประเทศสืบต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us