|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2539
|
|
ร้านขายของชำของสจ๊วต เลียวนาร์ด ที่เมืองนอร์วอล์ก รัฐคอนเนกติกัตเป็นที่เลื่องลือมานานเกือบ 3 ทศวรรษแล้ว ด้วยเงินหมุนเวียนเข้าออกโดยเฉลี่ยในแต่ละปีมีมากถึง 88 ล้านดอลลาร์เปรียบเทียบกับสาขาหลักๆของร้านประเภทเดียวกันที่มีมูลค่าเพียง 14 ล้านดอลลาร์
แม้ว่าร้านในนอร์วอล์กจะวางสินค้าขายในร้านเพียง 1,300 รายการ ซึ่งทาบไม่ติดกับ 20,000 รายการที่วางขายอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆแต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะร้านของเลียวนาร์ดโดดเด่นในด้านราคาย่อมเยา อาทิ นมสดพร่องมันเนย 1 แกลลอน ที่วางขายในร้านของเลียวนาร์ดขายในราคาเพียง 1.78 ดอลลาร์แต่ร้านอื่นๆจะขายในราคา 2.39 ดอลลาร์
นอกจากจะช่วยลูกค้าประหยัดเงินในการจับจ่ายใช้สอยแล้ว ร้านแห่งนี้ยังดึงดูดเจ้าตัวน้อยๆของบรรดาลูกค้าอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกั้นคอกให้มีสวนสัตว์สัตว์เลี้ยงอยู่ในร้าน การแต่งตัวเป็นไก่ของพนักงานในร้านและออกมาเดินป้อเรียกร้องความสนใจมีก้าน ผักมายืนร้องเพลงอยู่บนชั้นวางและกล่องนมโยกย้ายลีลาตามจังหวะเพลงอยู่บนชั้นผลิตภัณฑ์นมเนย
บรรดากลเม็ดเด็ดพรายการเรียกลูกค้าข้างต้น ส่งผลให้ยอดขายต่อพื้นที่ของร้านนี้พุ่งขึ้นสู่อันดับสูงสุดในอเมริกาคือ 3,470 ดอลลาร์ต่อ 1 ตารางฟุตและยอดขายต่อพื้นที่ของร้านของเลียวนาร์ดยังได้รับการบันทึกไว้ในหนังสือกินเนสบุ๊คอีกด้วย มิหนำซ้ำเหล่าผู้บริหารวอล-มาร์ทก็ยังสนใจศึกษาวิธีการของร้านนี้ด้วย
ในปี 1991 เลียวนาร์ดได้เปิดทำการร้านแห่งที่สองขึ้นซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแดนบูรีออกไปเป็นระยะทาง 30 ไมล์ปัจจุบันร้านแห่งที่สองนี้มีเม็ดเงินหมุนเวียน 60 ล้านดอลลาร์ต่อปี
ส่วนผลกำไรของ 2 ร้านรวมกันเฉลี่ยแล้วประมาณ 2.5% ของยอดขายซึ่งมากกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆซึ่งได้กำไรโดยเฉลี่ยประมาณ 1%
แต่เลียวนาร์ดโลภมากเกินไปจนถูกจับกุมในข้อหาเลี่ยงภาษีและในที่สุดเขาก็ยอมรับผิดเพียงคนเดียวและให้ลูกชายคนโตรับผิดชอบร้านต่อไป
หลังจากนั้นมีข่าวร่ำลือว่าครอบครัวเลียวนาร์ด เปิดร้านขึ้นอีกเป็นแห่งที่สามซึ่งคาดกันว่าคงตั้งอยู่ที่เวสต์เชสเตอร์ในนิวยอร์ก
และแล้วคดีเดียวกันก็เกิดขึ้นกับครอบครัวนี้อีกครั้ง แต่เกิดกับทอมซึ่งเป็นลูกชายคนเล็กของบ้านวัย 40 ปีสจ๊วตผู้เป็นพี่ชายพยายามที่จะรักษาชื่อเสียงของร้านจึงได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบซอฟต์แวร์ให้สามารถซ่อนรายรับบางส่วนของร้านให้ดูว่า ทอมหลีกเลี่ยงภาษีเพียงเล็กน้อย ส่วนรายการโกงภาษีจำนวนมากก็ถูกสจ๊วตนำออกจากร้านเมื่อสจ๊วตเดินทางไปบ้านพักตากอากาศที่เซนต์มาร์ติน
อย่างไรก็ตาม ครอบครัวนี้ก็ไม่สามารถหลบเลี่ยงเงื้อมมือกฎหมายได้พ้น อดีตพนักงานของร้านที่ถูกไล่ออกรายหนึ่งได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจและอีกรายก็ได้ชี้ตัวว่าทอมเป็นผู้กระทำผิด
หากจะสรุปเรื่องราวของครอบครัวเลียวนาร์ดแบบนิทานอีสปก็คงจะกล่าวได้ว่า เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้าคิดจะละเมิดกฎหมายก็ควรจะดูแลคนที่เกี่ยวข้องและรู้เห็นได้ดีกว่านี้และถ้าจะให้ดียิ่งกว่าก็คือไม่ควรละโมบจนเกินไป
|
|
|
|
|