Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539
หมากฝรั่งลด (รส) บุหรี่             
 





ในบรรดาคอนซูเมอร์โปรดักส์ประเภทต่างๆในสหรัฐฯ หมากฝรั่งรสมินต์ดูจะมีโอกาสสูญพันธุ์มากกว่าใครเพื่อน ค่าที่ราคาเฉียด 50 เซ็นต์แต่กลับเคี้ยวได้ไม่กี่ทีก็หมดรส แต่แปลกที่สมิธไคลน์บีแซมกลับตัดสินใจลงเดิมพันในตลาดนี้ ทว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทไม่ใช่แค่หมากฝรั่งธรรมดาแต่เป็นหมากฝรั่งอดบุหรี่ชื่อยั่วน้ำลายสิงห์อมควันว่า “นิโคแลตต์” ซึ่งออกวางตลาดตามร้านขายยาในสหรัฐฯ ในฐานะยาสามัญประจำบ้านตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน

“กลุ่มเป้าหมายของเราคือพวกสิงห์อมควันที่มีอยู่ทั่วทุกแห่ง” จอห์น เอส. ซีกเลอร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่สมิธไคลน์กล่าว โดยสมิธไคลน์เดินแผนแรกด้วยแคมเปญช่วยเหลือผู้ที่อยากหันหลังให้บุหรี่มูลค่า 70 ล้านดอลลาร์มีทั้งโฆษณาทางทีวีและหากปลายปีนี้คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) ออกใบรับรองให้พลชาสเตอร์นิโคตินช่วยลดบุหรี่ของบริษัทเป็นยาสามัญประจำบ้านตามที่สมิธไคลน์คาดหวังไว้จริงบริษัทเวชภัณฑ์ชั้นนำแห่งนี้ก็จะนำพลาสเตอรี่ว่าไปโฆษณาทางจอตู้ร่วมกับนิโคแลตต์ด้วย

ทางด้านกลุ่มต่อต้านการสูบบุหรี่ต่างเอาใจช่วยให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ของสมิธไคลน์ชนะใจสิงห์อมควันที่ต้องการเลิกบุหรี่ซึ่งถือเป็นงานที่ยากพอดู ดังจะเห็นได้จากยอดขายพลาสเตอร์เลิกบุหรี่ที่ร่วงจาก 300 ล้านดอลลาร์ในปี 1992 มาอยู่ที่ 136 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากมีผู้ไม่ประสงค์ดีโฆษณาชวนเชื่อว่าผู้ใช้อาจเลิกบุหรี่ได้จริงแต่จะหันมาติดพลาสเตอร์เหล่านี้แทน แถมแพทย์ยังไม่ให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่ประกอบการใช้ด้วย

อย่างไรก็ดี ตามรายงานของสมาคมปอดแห่งอเมริกากล่าวว่า ในบรรดาผู้สูบบุหรี่ 46 ล้านคนในสหรัฐฯนั้นมีถึง 70% ที่แสดงเจตนารมณ์ว่าต้องการเลิกพฤติกรรมการอมควันทั้งยังบอกอีกว่าผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ช่วยอดบุหรี่ประสบความสำเร็จมากว่าผู้ที่อดด้วยตัวเองถึง 2 เท่า แต่คนเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ต้องการไปขอความช่วยเหลือจากแพทย์

สมิธไคลน์จึงหวังว่าจะจับคอบุหรี่เหล่านี้ได้อย่างน้อยสัก 23 ล้านคนโดยเริ่มแรกบริษัทจะวางตลาดนิโคแลตต์ขนาด 108 ชิ้นใช้ได้ 2 สัปดาห์ในราคา 50 ดอลลาร์หรือถูกกว่าหมากฝรั่งเลิกบุหรี่ยี่ห้ออื่นที่ต้องมีใบสั่งซื้อจากหมอถึง 75% ซึ่งจะทำให้ยอดขายนิโคแลตต์พุ่งพรวดขึ้น 4 เท่าเป็น 330 ล้านดอลลาร์ในปีหน้า

แต่ปัญหาก็คือ ถ้านิโคแลตต์ล้มเหลวเหมือนพลาสเตอร์เลิกบุหรี่ล่ะ? สมิธไคลน์เตรียมการณ์ไว้เรียบร้อยแล้วโดยการพ่วงนิโคแลตต์เข้ากับโครงการให้การศึกษาเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ซึ่งมีทั้งการเผยแพร่ทางทีวี ออดิโอเทปและคู่มือแนะนำ ทั้งนี้ผู้สูบบุหรี่จะต้องส่งรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบไปให้ จากนั้นบริษัทก็จะจัดส่งคำแนะนำพร้อมหมายเลขโทรฟรีเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม สมิธไคลน์ยังเจาะเข้าไปให้คำแนะนำในเว็บตามสมัยนิยม ผู้ที่สนใจเปิดเข้าไปอ่านได้จากแอดเดรสดังนี้ http:\\www.nicorette.com.

ทั้งนี้ คุณสมบัติของนิโคแลตต์คือ มีนิโคนิตอยู่ 2-4 มิลลิกรัมพอๆกับในบุหรี่ 1 มวนช่วยอาการ “อยาก” บุหรี่ได้ แต่ว่านิโคตินในนิโคแลตต์จะซึมเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรงไม่สร้างความรู้สึกพึงใจเหมือนกับการสูบบุหรี่ที่นิโคตินจะพลุ่งพล่านขึ้นสู่สมองภายในชั่วเวลาที่หัวใจเต้น 5 ครั้ง

นอกจากสมิธไคลน์แล้วแมคนีล คอนซูเมอร์ โปรดักท์เป็นอีกรายที่คิดจะลองของในตลาดนี้ด้วยการส่งสเปรย์นิโคตินชนิดใหม่ชื่อว่า “นิคาทรอล” ลงสู้ศึก โดยผู้ใช้จะสามารถสูดนิโคตินเข้าสู่ร่างกายได้เพียง 0.5 มิลลิกรัมทุกครั้งที่หายใจสูดนิคาทรอลเข้าไป 1 อึก ทว่าผู้ซื้อจะต้องมีใบสั่งของแพทย์ไปยืนยันกับทางร้านขายยาถึงจะได้ลิ้มลองสเปรย์ยี่ห้อนี้ เอฟดีเอยังออกมากำชับว่าหากใช้สเปรย์นี้เกิน 40 มิลลิกรัมจะเป็นอันตราย และถ้าใช้ติดต่อกันเกิน 3 เดือนอาจเกิดอาการติดและเนื้อเยื่อในจมูกอักเสบได้

แต่ขณะที่เอฟดีเอและบริษัทเวชภัณฑ์ขวนขวายส่งผลิตภัณฑ์เลิกบุหรี่ลงตลาดกันอย่างคึกคัก ทางด้านผลิตบุหรี่กลับพยายามพลิกแพลงสถานการณ์หลบหลีกข้อกล่าวหาและกระแสต่อต้าน ตัวอย่างที่เห็นตำตาที่สุดคือ อาร์เจอาร์ นาบิสโกเจ้าของบุหรี่วินสตันและคาเมลที่เปิดตัวบุหรี่ไร้ควัน “อีคลิปส์” ไปแล้วอย่างหน้าชื่นตาบาน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us