Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539
ลีลาเจาะประตูหลังของรถอเมริกัน             
 





นับเป็นเวลาหกปีเต็มกว่าที่เจเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) พี่เบิ้มของบิ๊กทรีแห่งวงการรถยนต์อเมริกันจะสามารถเจาะตลาดรถยนต์เกาหลีใต้ที่ปิดตายมานานได้สำเร็จโดยได้เข้าร่วมทุนกับแดวู มอเตอร์ในเครือของแดวู กรุ๊ปแต่แล้วก็ต้องขายหุ้นบางส่วนในบริษัทร่วมทุนให้แก่พันธมิตรรายนี้ไปในปี 1992 หลังจากได้ข้อสรุปว่าแดวู มอเตอร์มุ่งมั่นแต่จะเพิ่มยอดขายรถมากกว่าการฉุดกำไรที่ตกอยู่ในอากาย่ำแย่

ในวันนี้แดวู มอเตอร์ก็กำลังขมีขมันกับการนำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งหมดที่ได้จากจีเอ็มมาใช้ในการผลิตรถในโรงงานของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นโรงงานในที่ใด โดยขณะนี้แดวู มอเตอร์มีโรงงานประกอบรถยนต์อยู่ในประเทศต่างๆ อาทิ อินเดียและโปแลนด์ ต่างกับบริษํทรถยนต์จากดีทรอยด์ไม่เพียงถูกบีบให้ออกจากตลาดเกาหลี แต่ยังต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันกับผู้ผลิตรถค่ายโสมขาวในตลาดอื่นๆด้วยในเวลาเดียวกัน โดยในปีที่ผ่านมาเกาหลีใต้ส่งออกรถไปตีตลาดในต่างประเทศเกือบ 1 ล้านคันแต่กลับนำเข้ารถจากต่างประเทศเพียง 7,000 คันเท่านั้น

เมื่อเห็นว่าการบุกเข้าไปผลิตรถยนต์ในถิ่นโสมต้องพบกับกลโกงมากมาย อุตสาหกรรมรถยนต์จึงเบนเข็มมาทางอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่เจอปัญหาน้อยกว่า เนื่องจากทุกวันนี้บริษัทรถยนต์ของเกาหลีใต้ยังคงต้องพึ่งพาซัปพลายเออร์ผลิตชิ้นส่วนจากนอกประเทศอยู่อีกมาก

ทีอาร์ดับบลิว ผู้ผลิตสินค้าคงทนคอนซูเมอร์สัญชาติอเมริกันรับหน้าที่ป้อนเทคโนโลยีรุ่นใหม่ อาทิ อุปกรณ์อัดลมสำหรับถุงลมนิรภัยและวาล์วเครื่องยนต์ ให้แก่สี่บริษัทร่วมทุนผลิตรถยนต์ของเกาหลีใต้อีกทั้งยังคว้าสัญญาไลเซ่นส์อีกสองงานจากบริษัทรถยนต์ของประเทศดังกล่าวด้วย ปีที่ผ่านมายอดขายจากตลาดโสมขาวของทีอาร์ดับบลิวพุ่งขึ้น 20% ทำได้กว่า 100 ล้านดอลลาร์โดยได้ตั้งเป้าว่ายอดขายในตลาดนี้จะขยายตัวปีละประมาณ 7-10% ซึ่งนับว่าไม่เลวทีเดียวสำหรับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการผลิตรถในช่วงที่คาดกันว่าตลาดรถยนต์ทั่วโลกจะเติบโตปีละ 2%

เจมส์ สมิธ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของทีอาร์ดับบลิวมองการณ์ไกลว่า “เมื่อผู้ผลิตรถเกาหลีบุกเข้าตลาดสหรัฐฯ ยุโรปและประเทศสมาชิกสมาคมชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนเราเล็งเห็นโอกาสดีที่จะเกิดกับธุรกิจของเรา”

สำหรับฟอร์ด ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับสองของสหรัฐฯมองว่าธุรกิจผลิตชิ้นส่วนของบริษัท อย่างเช่นระบบเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์เครื่องยนต์กำลังไปได้สวยโดยในปีที่ผ่านมาบริษัท ร่วมทุนผลิตชิ้นส่วนสามแห่งในแดนอารีดังมียอดขายรวมกันประมาณ 750 ล้านดอลลาร์และในไม่ช้าก็จะมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนแห่งใหม่ขึ้นมาอีกแห่งซึ่งคาดว่าจะทำยอดขายให้ปีละ 400 ล้านดอลลาร์

บริษัทรถยนต์อเมริกันเริ่มจับตามองคู่แข่งจากเกาหลีใต้นับจากวินาทีแรกที่ส่งรถบุกตลาดอเมริกัน ปัจจุบันนี้ รถเกาหลีใต้ไม่เพียงพัฒนาจนมีคุณภาพสูงกว่าเดิม แต่ยังดาหน้ากันเข้าถล่มรถทุกค่ายในตลาดสำคัญๆทั่วโลก แม้ตัวเลขรถเกาหลีส่งออกไปยังตลาดอินทรีในปีที่ผ่านมาจะมีเพียง 200,000 คันแต่ในปีเดียวกันนั้น รถเกาหลีใต้จำนวนสูงถึง 800,000 คันได้บุกเข้าไปลุยในตลาดอื่นๆไล่ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออกจนถึงอเมริกาใต้

ปีที่ผ่านมา บริษัทเกาหลีผลิตรถได้มากถึง 2.5 ล้านคันสามารถแซงหน้าบริษัทแคนาดาขึ้นมาอยู่ในฐานะผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับห้าของโลกแต่ก็ยังใฝ่ฝันจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็นสองเท่าของจำนวนดังกล่าวให้ได้ภายในสี่ปีข้างหน้า

อุตสาหกรรมรถยนต์จากดีทรอยต์จึงเล็งเห็นโอกาสทองทางด้านธุรกิจเพราะรู้ดีว่าบริษัทเกาหลีมักจะพึ่งพาซัปพลายเออร์ชิ้นส่วนจากบุคคลภายนอกเป็นหลักเหมือนบริษัทญี่ปุ่น แต่ซัปพลายเออร์ของเกาหลีที่แม้จะมีจำนวนมากถึง 1,500 รายแต่ก็ยังเป็นบริษัทเล็กๆที่มีขีดความสามารถทางเทคนิคเพียงจำกัด ดังกรณีของฮุนได มอเตอร์ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สุดของเกาหลีนั้น ต้องใช้ซัปพลายเออร์ผลิตชิ้นส่วนขั้นต้นกันถึง 450 รายเพื่อผลิตรถให้ได้ 1.1 ล้านคันในปี 1994 ต่างกับโตโยต้า บริษัทรถยนต์รายใหญ่สุดแดนปลาดิบที่ใช้ซัปพลายเออร์เพียง 230 รายแต่สามารถผลิตรถได้มากกว่าถึงสามเท่าของจำนวนรถที่ฮุนไดผลิตได้

เกาหลีใต้ไม่อาจจะพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปเงินอุดหนุนจากภาครัฐซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงองค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) แต่การจะขายรถในต่างประเทศให้ได้ 6,000 คันตามที่ตั้งเป้าผลิตในแต่ละปี จำเป็นอย่างยิ่งที่เกาหลีจะต้องใช้ชิ้นส่วนที่ดีที่สุดและเป็นเทคโนโลยีล่าสุดไม่ว่าจะเป็นถุงลมนิรภัย, ระบบเบรกแอนตี้ล็อกและระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์

แต่น่าเสียดาย อุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องหาซื้อมาจากซัปพลายเออร์ต่างชาติเท่านั้นเมื่อเป็นเช่นนี้จีเอ็มจึงยอมสงบสติอารมณ์กับเรื่องการกีดกันตลาดเกาหลีใต้ โดยหันมาส่งเทคโนโลยีรุ่นล่าสุดให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีใต้ผ่านทางบริษัทในเครือที่ชื่อว่าเดลฟีออโต้โมทีฟ ซิสเต็มส์ซึ่งปัจจุบันนี้ก็รับหน้าที่ป้อนชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุดบางชิ้นให้แก่บริษัทรถเกาหลีใต้อยู่แล้ว

ถึงวันนี้จีเอ็มก็ยังคงมีหุ้นบางส่วนอยู่ในบริษัทร่วมทุนผลิตชิ้นส่วนสี่แห่งในเกาหลีใต้ที่ถือหุ้นกันฝ่ายละ 50% บริษัททั้งสี่ทำยอดขายได้กว่า 800 ล้านดอลล่าร์ในปีที่ผ่านมา ลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทก็คือแดวูมอเตอร์ ทั้งนี้ จี.สก็อตต์ แกรแฮม รองกรรมการผั้ดการใหญ่ของเดลฟี ออโต้โมทีฟ ซิสเต็มส์ในเกาหลีอธิบายให้ฟังกันว่า “แดวูแจ้งไปยังจีเอ็มถึงเรื่องการเพิ่มความร่วมมือในต่างประเทศในด้านเทคโนโลยี การบริหารและการผลิตและเราก็บอกไปว่าธุรกิจของเราในเกาหลีใต้มีศักยภาพสูงในการทำยอดขายให้ได้ถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ในราวปี 2000” สรุปกันง่ายๆก็คือว่าธุรกิจรถของอเมริกันดูจะเชื่อมั่นเต็มร้อยว่า จะสามารถคว้าเค้กชิ้นใหญ่จากอุตสาหกรรมรถเกาหลีใต้ได้อย่างแน่นอน-ฟอร์จูน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us