Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539
ยุทธการลอกคราบนกยักษ์             
 





เชื่อไหมว่าวันนี้คุณสามารถทำธุรกิจสายการบินได้โดยที่ไม่ต้องเป็นเจ้าของเครื่องบินแม้แต่ลำเดียวหรือแม้แต่อะไหล่และหน่วยซ่อมบำรุง เพราะไอร่าอิคเนอร์และเอเออาร์ของเขาจะช่วยคุณเอง

สายการบินของคุณกำลังต้องการเครื่องโบอิ้ง 747 ไปเสริมเที่ยวบินสู่ยุโรปในช่วงซัมเมอร์หรือเปล่า? ลองปรึกษาอิคเนอร์ดู เขาอาจจะมีเครื่องบินสักลำหรือกำลังจะมีเครื่องบินที่จะหมดสัญญาเช่าพอดี หรือว่าต้องการอะไหล่ เอเออาร์ของอิคเนอร์ก็มีเหมือนกัน

ช่วง 12 เดือนล่าสุดกำไรสุทธิของเอเออาร์พุ่งพรวด 55% เป็น 14.5 ล้านดอลลาร์จากรายได้ประมาณ 500 ล้านเหรียญแม้แต่ช่วงที่ลูกค้าของเขากระอักจากพิษราคาเชื้อเพลิงถีบตัวสูงขึ้นและสงครามราคาเอเออาร์ของอิคเนอร์ก็ยังฟันกำไรได้ตามปกติ

วันๆอิคเนอร์ยุ่งอยู่กับการโทรศัพท์เรื่องซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนและให้เช่าเครื่องบินจนแทบจะไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น เขาบอกว่านี่เป็นธุรกิจที่สิทธิในการซื้อถือเป็นสิ่งสำคัญสุดยอด

3 ปีก่อนผู้จัดการสายการบินคนหนึ่งมาเลียบๆเคียงๆในสำนักงานของเอเออาร์เพื่อหาซื้อเกียร์ลงจอดมือสองแล้วเขาก็ได้สิ่งที่ต้องการไปในราคาเพียง 3 ล้านดอลลาร์หรือครึ่งหนึ่งของราคาเกียร์ใหม่ถอดด้าม

ปัจจุบัน อิคเนอร์แปลงสภาพเอเออาร์จากเทรดเดอร์เข้าสู่ธุรกิจบริหารคลังสินค้าหลังจากที่พบว่าสายการบินมากมายกำลังเจริญรอยตามเซาธ์เวสต์แอร์ไลน์ และซัปพลายเออร์อิสระที่ต่างประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการหั่นต้นทุน

วิธีการก็คือ เอเออาร์จะซื้ออะไหล่สำรองในโกดังของลุฟท์ฮันซ่าและซาบีน่า เพื่อมาเก็บไว้ในโกดังของตัวเอง จากนั้นก็หาสายการบินที่ต้องการซื้ออะไหล่มารับช่วงต่อ บริการของเอเออาร์ทำให้แผนกยกเครื่องยนต์เครื่องบินของเจเนอรัล อิเล็กทริกในเวลล์ทุ่นค่าใช้จ่ายด้านอะไหล่ลงได้ถึงปีละ 1 ล้านดอลลาร์และยังประหยัดเวลาในการหาซัปพลายเออร์ลงไปได้อีกครึ่งหนึ่ง

และเมื่อไม่นานมานี้ เอเออาร์ก็เพิ่งเซ็นสัญญาระยะ 2 ปีมูลค่า 20 ล้านดอลลาร์กับนอร์ธเวสต์ แอร์ไลน์เพื่อป้อนอะไหล่และเปลี่ยนชิ้นส่วนบางชิ้นในฝูงบินดีซี-9 ที่สายการบินเพิ่งซื้อเข้ามา

อิคเนอร์บอกว่าธุรกิจนี้ยังมีช่องทางอีกมาก ตลาดอะไหล่เครื่องบินมีมูลค่าถึง 25,000 ล้านดอลลาร์และ 80% ตกเป็นของสายการบินอย่างไรก็ดีมีการประเมินว่าแต่ละปีสายการบินใช้อะไหล่เพียง 6,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น และหากมีการลดอะไหล่ในโกดังลง 25% จะทำให้สายการบินประหยัดต้นทุนลงได้ถึงเกือบ 2,000 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมนี้ที่เมื่อปีที่แล้วมีกำไรเพียง 1,500 ล้านดอลลาร์เท่านั้น

สำหรับเอเออาร์นั้น เมื่อแรกก้าวสู่ธุรกิจนี้ในช่วงปลายทศวรรษที่แล้วในฐานะเทรดเดอร์ มีส่วนต่างกำไรสุทธิ 6% แต่วันนี้ เอเออาร์ยอมให้ตัวเลขดังกล่าวหดเหลือเพียง 3% เพื่อแลกกับข้อตกลงบริหารคลังสินค้าระยะยาว แต่ตอนที่ธุรกิจสายการบินตกต่ำในช่วงต้นทศวรรษนี้ รายได้ของเอเออาร์ลดลงจาก 467 ล้านดอลลาร์มาอยู่ที่ 383 ล้านดอลลาร์ภายในเวลาแค่ 2 ปี

ความสำเร็จของเอเออาร์มาจากประสบการณ์วัยหนุ่มของอิคเนอร์โดยแท้ ตอนนั้นเขายังมักน้อยหาช่องซื้ออะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่ามาขายให้กับคนเบี้ยน้อยหอยน้อยด้วยกันจนกลางทศวรรษ 1950 อิคเนอร์จึงเข้าสู่ธุรกิจเครื่องบินแต่ก็ยังจับแค่ชิ้นส่วนเล็กๆอย่างวิทยุประจำเครื่องในเครื่องบินทหาร โดยขณะนั้นเครื่องบินเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินกองเกินของกลาโหม

ปี 1955 อิคเนอร์ก่อตั้งอัลเลน แอร์คราฟท์ เรดิโอ (อัลเลนคือชื่อกลางของเขา) จากวิทยุ เขาขยายไปสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกสำหรับการบินชนิดอื่นที่ใหญ่ขึ้นไป ก่อนจะยกระดับไปค้าขายเครื่องบินทั้งลำ

ณ วันนี้อิคเนอร์มองเห็นแนวโน้มของการรวมตัวในหมู่สายการบินมากขึ้นโดยเฉพาะสายการบินในยุโรปและละตินอเมริกา นำโอกาสใหม่ๆให้แก่เทรดเดอร์อย่างเอเออาร์เพราะหลังการผนวกมักจะมีการมองหาซัปพลายเออร์อิสระเพื่อเซฟต้นทุน

เขายกตัวอย่างเฮิร์บ เคลเลเฮอร์ (นายใหญ่เซาธ์เวสต์)ที่ริเริ่มแนวทางดังกล่าวขึ้นมาตอนนี้เขามีเครื่องบินเพียงลำเดียวคือโบอิ้ง 737 และไม่มีปัญหาเรื่องเคาน์เตอร์ขายตั๋วเหมืนกับสายการบินอื่นๆเซาธ์เวสต์ยังไม่มีหน่วยเทคนิคของตัวเอง สิ่งที่เคลเลเฮอร์ทำคือ บินรับ-ส่งผู้โดยสารจากสถานที่หนึ่งไปยับงอีกสถานที่หนึ่งเท่านั้น เขาอาจจะประสบความสำเร็จเพราะเป็นสายการบินที่เพิ่งตั้งไข่ไม่ใช่หน้าเก่าอย่างเดลต้า,ยูไนเต็ดหรืออเมริกัน แอร์ไลน์ที่ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ เพราะติดอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานนับแต่ที่พวกเขาก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา แถมยังมีสหภาพพนักงานที่คอยขัดขวางไม่ให้ทำในสิ่งที่เคลเลเฮอร์ทำ

สายการบินในวันนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีเครื่องบินของตัวเองแม้แต่สักลำดังจะเห็นได้จาก 65% ของเครื่องบินทั้งหมดที่ให้บริการอยู่ทั่วโลก ซึ่งล้วนแต่เป็นเครื่องที่เช่ามาทั้งสิ้นและอิคเนอร์ก็อยู่ในธุรกิจนี้เมื่อเร็วๆนี้ เขาเพิ่งซื้อเครื่องโบอิ้ง 737 มา 200 ลำและกำลังเตรียมจะปล่อยออกไปเขาอาจหาทางขายมันให้กับสายการบินหน้าใหม่หมาดๆหรือให้สายการบินที่ต้องการขยายเส้นทางบินเช่า แต่ถึงจะล้มเหลวทั้ง 2 อย่างอิคเนอร์ก็ยังมีทางดิ้นต่อไป

“ความหมายของเครื่องบินก็คือ ชิ้นส่วนกองมโหฬารที่จับมาประกอบกันเพื่อให้บินได้และนี่แหละคือประตูหลังของเรา” อิคเนอร์กล่าวก่อนลา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us