Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
ชมรมเรือคะยัคชลบุรี             
 





เรือคะยัค (KAYAK) เดิมเป็นเรือของชาวเอสกิโม ที่ใช้ในการล่าสัตว์ แต่ปัจจุบันเรือชนิดนี้ถูกพัฒนา เพื่อใช้สำหรับการท่องเที่ยวแนวผจญภัยมากขึ้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เรือคะยัคสำหรับล่องแก่ง และเรือคะยัคสำหรับสู้คลื่นลมในทะเลหรือ ซีคะยัค

จากขอมูลของททท. กิจกรรมพายเรือคะยัคในประเทศไทยส่วนใหญ่ เป็นซีคะยัค ที่นิยมเล่นกันอยู่ทางภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณอ่าวพังงา ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมพายไปเที่ยวชมทัศนียภาพแปลกใหม่ตามเกาะ และลอดเข้าไปตาม ถ้ำต่างๆ โดยมีบริษัททัวร์รับจัดการเรื่อง เส้นทาง และ ที่พักให้พร้อม

ส่วนเรือคะยัคล่องแก่งนิยมเล่น กันตามลำน้ำ ที่ไหลผ่านป่าเขา เช่น แม่น้ำแควน้อย แควใหญ่ ในกาญจนบุรี ห้วยแม่กลองในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก แม่น้ำแม่แตง เชียงใหม่ แม่น้ำแม่กก เชียงราย ซึ่งจะมีบริษัททัวร์ ให้บริการทั้งการเดินทาง อาหาร ที่พัก และ อุปกรณ์ พร้อมกับสอนเทคนิคการพายเรือให้เสร็จสรรพ

แต่หากจะพูดถึงความนิยมการเล่นเรือคะยัคในจังหวัดชลบุรีแล้ว ค่อนข้างจะแตกต่างออกไป เพราะกิจกรรมเรือคะยัคของ "ชมรมเรือพายจังหวัดชลบุรี" มี ที่มาต่างจากกิจกรรมเรือคะยัคทั้งสองแบบข้างต้น

ชมรมเรือพายจังหวัดชลบุรี เกิดขึ้นจากการบุกเบิกของ ฤือชัย กาญจนวนิช นักธุรกิจด้านค้าปลีกจากกรุงเทพฯ หนึ่งในสมาชิกชมรมจักรยานเสือภูเขา ที่ต้องการแสวงหากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงผจญภัยแนวใหม่หลังบุกเบิกเส้นทางบนบกมาจนทั่วแล้ว และมีกลุ่มแพทย์-นักธุรกิจในจังหวัด ที่ต้องการบุกเบิกการท่องเที่ยวแนวใหม่เข้าร่วม

ฤือชัย ซึ่งมีบ้านพักอยู่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำบางพระ ได้ซื้อเรือซีคะยัคเข้ามาพายเล่นในอ่างเก็บน้ำบางพระ ตั้งแต่ เมื่อ 4 ปี ก่อน และเผยแพร่สู่สมาชิกในกลุ่มเดียวกัน จนปัจจุบันจำนวนเรือซีคะยัคในกลุ่มมีจำนวนกว่า 10 ลำ จึงได้ตั้งเป็นชมรมเรือพายชลบุรี ขึ้นมา และให้นายแพทย์กฤษดา บานชื่น นายแพทย์ประจำโรงพยาบาลชลบุรี ผู้ชื่นชอบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กึ่งผจญภัย เป็นประธาน

กฤษดาบอกว่า จำนวนเรือซีคะยัคมีไม่เพียงพอกับจำนวนผู้สนใจ เพราะการหาซื้อเรือซีคะยัคในประเทศทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากมีผู้ผลิตเพียงรายเดียว คือ บริษัทซี สปอร์ต จำกัด ซึ่งรับผลิตเรือคะยัคจากไฟเบอร์ ออฟติกราคา ลำละประมาณ 3 หมื่นบาท ขณะที่การสั่งซื้อจากต่างประเทศค่อนข้างลำบาก เพราะจะต้องผ่านขั้นตอนการนำเข้ามากมาย การเล่นเรือซีคะยัคจึงจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่ ชื่นชอบจริงๆ เท่านั้น

เส้นทางเรือซีคะยัคของชมรมเรือพายชลบุรี มี 4 เส้นทาง เส้นทางแรก นำเรือมาจอดเทียบ ที่บริเวณแนวชายทะเลจังหวัดชลบุรี หน้าศาลาร่วมใจชล เพื่อพายเรือฝ่าคลื่นลมทะเลออกไปยังกระชังปลา ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้กลางทะเล การพายเรือออกไปแต่ละครั้งสมาชิกสามารถซื้อปลาในกระชังนำไปให้ร้านอาหาร ที่ลอยอยู่กลางทะเลปรุงให้รับประทานก่อนพายเรือกลับ

เส้นทาง ที่ 2 พายเรือออกไปยังปากแม่น้ำบางปะกง เพื่อชมธรรมชาติ 2 เส้นทางแม่น้ำ และชมนกกาน้ำ ที่อาศัยอยู่บนเกาะร้างกลางปากแม่น้ำบางปะกง เส้นทางนี้ผู้พายเรือจะต้องนำเรือซีคะยัค บรรทุกใส่รถยนต์ เพื่อนำเรือไปเทียบท่า ที่บริเวณตลิ่งแม่น้ำ ซึ่งลงได้หลายจุด ก่อนพายเรือออกไปชมต้นตะบูน ที่ปลูกอยู่บริเวณ 2 ข้างทาง นอกจากนั้น สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการล่องแก่ง แม่น้ำบางปะกงก็มีแก่งให้ล่องเช่นกัน โดยผู้ที่ต้องการล่องแก่งจะพายเรือย้อนมาทางด้านหลังของปากแม่น้ำ เพื่อผจญกับแก่ง ที่เกิดจากการปล่อยน้ำหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าบางปะกง ซึ่งมีลักษณะเกือบจะเหมือนแก่งธรรมชาติ ที่ให้ความ สนุกตื่นเต้นกับผู้รักการผจญภัยได้เป็นอย่างดี

เส้นทาง ที่ 3 ล่องไปตามคลองบ่อ ทอง ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำธรรมชาติ ที่ยาวที่สุดในจังหวัด ไหลจากอำเภอบ่อทองลง สู่แม่น้ำบางปะกง มีระยะทางประมาณ 70-80 กิโลเมตร การพายเรือซีคะยัคผ่าน เส้นทางสายนี้ ผู้พายต้องพบอุปสรรค นานัปการ เริ่มตั้งแต่พายเรือผ่านป่าอ้อย ที่ปลูกมากในอำเภอบ่อทอง ซึ่งจะต้องพกมีดสำหรับฟันอ้อย ที่หักลงมาขวางเส้นทางน้ำ บางครั้งยังต้องลงจากเรือ เพื่อแบกเรือผ่านเส้นทางน้ำ ที่ตื้นเขิน การผจญภัยเส้นทางนี้ถือว่าเป็นทั้งการท่องเที่ยว และการผจญภัยแบบสุด ๆ เช่นกัน

เส้น ที่ 4 กำลังถูกบรรจุให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ในจังหวัดชลบุรี คือ การพายเรือซีคะยัคชมป่าชายเลน ที่ปัจจุบันถือเป็นพื้นที่ป่าชายเลน ผืนสุดท้ายของจังหวัด มีเหลือไม่ถึง 500 ไร่ เริ่มจากนำเรือซีคะยัคมารวมกัน ที่บริเวณหมู่บ้านเทศบาลชลบุรี หน้าศาลาร่วมใจชล ก่อนนำเรือพายลัดเลาะไปตามเส้นทางป่าชายเลน ไปสิ้นสุด ที่บริเวณหลังหมู่บ้านริมทะเล

ตลอดเส้นทางผู้พายจะได้ชมธรรมชาติ และนกนานาชนิด รวมทั้งยังได้รับรู้ถึงความร่มรื่น ที่เกิดจากต้นไม้ ที่ขึ้นปกคลุม 2 ข้างทาง เส้นทางนี้มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร

ในบางโอกาสสมาชิกของชมรมเรือพายชลบุรี ยังได้รวมตัวกันพายเรือซีคะยัค ออกไปยังปากแม่น้ำบริเวณตำบลบางทรายจังหวัดชลบุรี เพื่อชมปลาโลมาเผือก ที่มักว่ายเข้ามาติดกระชังปลาของชาวประมงเป็นประจำ

การพายเรือซีคะยัคออกไปชมปลาโลมาเผือกใช้เวลาไม่นาน เพราะจุดชมปลาโลมาเผือกห่างจากฝั่งแม่น้ำตำบลบางทรายเพียง 2-3 กิโลเมตร

กฤษดา บานชื่น ประธานชมรมเรือพายชลบุรี เล่าว่า การพายเรือซีคะยัคในแต่ละเส้นทาง จะใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง ชั่วโมงหนึ่งจะพายได้ประมาณ 1-2 กิโลเมตร เนื่องจากเรือซีคะยัคเป็นเรือขนาดเล็ก ที่ต้องอาศัยกำลังงาน และความชำนาญ ในการพายเป็นอย่างยิ่ง

ความสนุกสนานของการพายเรือซีคะยัค นอกจากได้ชื่นชมความงามตามธรรมชาติแล้ว การแก้ปัญหา และอุปสรรคข้างหน้ายังเป็นสิ่งท้าทายใหม่ของผู้รักการผจญภัย ที่สำคัญเรือซีคะยัคสามารถทนต่อกระแสน้ำ และคลื่นลมได้เป็นอย่างดี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us