ภายใต้หลักปรัชญาที่ต้องการสร้างมหาวิทยาลัยแห่ง การวิจัย ที่ไม่ยึดอยู่กับกรอบและขนบของการศึกษาแบบเดิม
เงินลงทุนจำนวนกว่า 1,000 ล้านบาท จึงได้ถูกแปลงสภาพ เป็นตึกอาคารที่มีรูปทรงของสถาปัตยกรรมล้ำหน้าแปลกตา
เพื่อสะท้อนวิสัยทัศน์กว้างไกล และหลักปรัชญา ว่าด้วยการ วิจัย การเรียนรู้
และการบริหารจัดการไว้อย่างครบครัน
แม้ว่าการก่อสร้างอาคารในส่วนต่างๆ ซึ่งได้เริ่มลงมือ ก่อสร้างตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี
2542 จะสำเร็จลุล่วงพร้อม รองรับการเรียนการสอนของนักศึกษารุ่นแรกที่กำหนดไว้
ในปี 2545 นี้ก็ตาม แต่ลำพังเพียงแค่ถาวรวัตถุที่เป็นตึก อาคารเหล่านี้ ย่อมไม่สามารถนำพาให้เกิดนวัตกรรมทางการ
ศึกษาดังที่ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มสร้างมหาวิทยาลัย แห่งนี้มุ่งหมายจะให้เกิดเป็นจริงขึ้นมาได้
"เรากำลังรับสมัครนักศึกษา เพื่อเริ่มภาคการศึกษาแรกในเดือนกันยายน ปีนี้
ซึ่ง เป็นการเริ่มภาคการศึกษาในช่วงเวลาเดียวกับที่สถาบันการศึกษาทั่วโลก
แต่แตกต่างจาก สถานศึกษาในประเทศไทยที่ใช้เดือนมิถุนายนเป็นหลัก ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ
ใน อีกหลากหลายความแตกต่างที่มหาวิทยาลัยชินวัตรจะหยิบยื่นให้กับนักศึกษา
แต่เป็นไป ภายใต้มาตรฐานของการศึกษาระดับนานาชาติ" โอฬาร ไชยประวัติ ในฐานะนายกสภา
มหาวิทยาลัยชินวัตร ซึ่งเป็นหมวกใบใหม่ของเขา เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง
ภายใต้ความสัมพันธ์ในฐานะศิษย์เก่าร่วมสถาบัน MIT และร่วมอยู่ในมูลนิธิศึกษา
พัฒน์ พารณ อิศรเสนา อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นผู้ทาบทามให้ โอฬาร
เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร เพื่อสานงานต่อและคิดงานใหม่
โดย ทักษิณ ชินวัตร แสดงความเห็นชอบ ก่อนที่พารณ จะผันตัวเองไปจัดการงานวางระบบ
การศึกษาขั้นมูลฐานตามแนว constructionism กับโรงเรียนในโครงการหลายแห่ง
โอฬาร ไม่ใช่หน้าใหม่ในแวดวงการศึกษาไทย เพราะในฐานะผู้บริหารองค์กรธุรกิจ
ที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่ง เขาไม่เพียงได้รับเชิญจาก
สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งให้เป็นวิทยากรพิเศษอย่างต่อเนื่องเท่านั้น หากแต่เขายังดำรง
ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งด้วยเช่นกัน
ประสบการณ์ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ให้คำ ปรึกษาและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
ในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้เขาตระหนักดีว่าปัญหาในการจัดระบบการ ศึกษา มิได้อยู่ที่การขาดแนวความคิดที่ชัดเจนเท่านั้น
หากประเด็น หลักที่ทำให้ไม่สามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาไปข้างหน้าได้อยู่
ที่ข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณ และกรอบกำหนดของระเบียบ ราชการที่สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งต้องดำเนินตามด้วย
ขณะเดียวกัน ภายใต้พื้นฐานของการเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ระดับดุษฎีบัณฑิต เขาย่อมตระหนักดีว่า
การเข้าไปรื้อสร้างเพื่อ รังสรรค์สิ่งใหม่ภายใต้เงื่อนไขของโครงสร้างเดิมย่อมยากลำบาก
กว่าการนับหนึ่งเพื่อวางรากฐานสร้างสิ่งใหม่ให้ปรากฏขึ้น
"ผมไม่ได้ตอบรับในทันที เพราะต้องการทำความเข้าใจกับภาระที่ได้รับมอบหมาย
เสียก่อน ประกอบกับช่วงนั้นยังมีงานด้านอื่นๆ ที่ยังคั่งค้าง กระทั่งเมื่อ
6-7 เดือนที่แล้วจึง เข้ารับตำแหน่งนี้ ซึ่งแนวความคิดของมหาวิทยาลัยก็ดี
ทัศนะของผู้ก่อตั้งก็ดี ที่ระบุว่าจะสร้างสถานศึกษาที่หลุดโลกจากกรอบเดิมเป็นจุดใหญ่ที่ทำให้ผมตอบตกลง"
โอฬาร ที่ ณ วันนี้ยังมีหมวกในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
คลัง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ควบคู่กับงานในฐานะกรรมการและที่ปรึกษาขององค์กรต่างๆ
อีกจำนวนหนึ่ง ลำดับความให้ฟัง
ตามแผนงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งเดิมต้องการที่จะเปิดการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบในปีการ
ศึกษา 2545 เป็นปีแรก แต่ประสบปัญหาทั้งในด้านของการอนุมัติหลักสูตรจากทบวงมหาวิทยาลัย
และการสรรหาบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาดำเนินการสอน ทำให้การเปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรก
เพิ่งเริ่มดำเนินการในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเท่านั้น และทำให้ประมาณการว่าด้วยจำนวนนักศึกษาที่จะรับ
ในแต่ละปีที่ตั้งไว้ รุ่นละ 500 คน ถูกปรับลดให้เหลือเพียง 250 คนสำหรับการเปิดการศึกษาในปีแรกนี้
นี่อาจเป็นเหตุผลและภารกิจหลักสำหรับ โอฬาร ไชยประวัติ ในตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยนี้
"เราเป็นมหาวิทยาลัยที่ต้องการเน้นศาสตร์ของการบริหารจัดการ ซึ่งแผนการตลาดก็เป็นส่วนหนึ่ง
ของแผนปฏิบัติการที่บุคลากรทุกคนที่นี่จะต้องทำด้วยความเข้าใจที่ตรงกัน"
เขาย้ำ
นอกเหนือจากการเข้าร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อวางกรอบโครงและกำหนดยุทธศาสตร์ใน
การบริหารมหาวิทยาลัยร่วมกับคณาจารย์และกรรมการมหาวิทยาลัยส่วนอื่นๆ แล้ว
ภายใต้แผนการประชา สัมพันธ์ เพื่อเร่งรัดการรับรู้ของตลาด ให้ตระหนักถึงการมีอยู่ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้
กิจกรรมที่โอฬารและมหาวิทยาลัยชินวัตร ดำเนินอยู่ในขณะนี้ก็คือ การจัดสัมมนาในหัวข้อต่างๆ
ซึ่งเป็นทั้งการเปิดตัวมหา วิทยาลัย และบทบาทใหม่ของโอฬารไปในคราวเดียว
การเร่งที่จะเปิดการเรียนการสอนตามกำหนดของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะในส่วน
ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรวิศวกรรมโทรคมนาคม, วิศวกรรมการออกแบบซอฟต์แวร์,
วิทยาการคอมพิวเตอร์, บริหารธุรกิจ และสถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อม รวม 5 หลักสูตร
เท่านั้น หากแต่ยังหมายรวมถึง หลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ และโครงการ Mini
Techno MBA รวมทั้ง Executive and Professional Development ที่เน้นกลุ่มนักบริหาร
และนักวิชาชีพในองค์กรต่างๆ ด้วย
การสัมมนาว่าด้วยแนวโน้มของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความต้องการด้าน การฝึกอบรมในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ซึ่งมหาวิทยาลัย ชินวัตร เชื่อว่าเป็น First National HR-Forum จึงเป็นภาพสะท้อนของการปฏิบัติการตาม
แผนการตลาดที่มุ่งสื่อสารนำเสนอหลักสูตร และบริการของมหาวิทยาลัยไปสู่บุคลากร
ด้านทรัพยากรมนุษย์ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเด่นชัด
ขณะที่การรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ซึ่งมีจุดเน้นอยู่ที่นักเรียนจากโรงเรียนนานา
ชาติ และนักเรียนไทยที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากต่างแดน ก็ดำเนินไปท่ามกลางช่องทาง
หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเยาวชนไทย-อเมริกัน ที่เข้าร่วมในโครงการเยือนถิ่นแผ่นดินแม่เข้า
เยี่ยมชมสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย หรือการจัด
summer camp สำหรับนักเรียนมัธยมปลายในช่วงที่ผ่านมา ก็ล้วนเป็นกิจกรรมที่ไม่แตกต่างจากการสร้าง
brand awareness และ image building ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่กำลังได้รับความนิยมในแวดวงธุรกิจขณะนี้
เท่าใดนัก
กระนั้นก็ดี บทพิสูจน์ความสามารถของโอฬาร ไชยประวัติ ในตำแหน่งนายกสภามหา
วิทยาลัยที่จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยชินวัตร ได้ผ่านเกิดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาไทย
คงไม่ สามารถสรุปได้ในเวลาอันสั้น อีกทั้งย่อมเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือประสานจากองคาพยพ
ส่วนอื่นๆ ของสถานศึกษาแห่งนี้ด้วย