|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2539
|
|
การจัดระเบียบบริหารราชการของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตามกฎหมายให้ถือว่ากทม.มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีกฎหมายของตนเอง ในส่วนของเทศกิจจัดอยู่ในส่วนราชการของ กทม.ที่เรียกชื่ออย่างอื่นนอกเหนือจากส่วนราชการอื่นๆของกทม.ที่กำหนดไว้จึงมีฐานะเป็นสำนักที่เรียกกันว่า “สำนักเทศกิจ”
การจัดตั้งหรือยุบหน่วยงานที่มีลักษณะเดียวกับเทศกิจหรือหน่วยงานอื่นๆในกทม.จะต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกทม.โดยทำเป็นประกาศของกทม.และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อเทศกิจเป็นหน่วยงานหนึ่งของกทม. จึงมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ (พรบ.) ระเบียบบริหารราชการกทม.ซึ่งระบุไว้ในพ.ร.บ. เล่ม 102 ตอนที่ 115 ของราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2528 หมวด 5 ที่ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกทม.มีดังนี้
1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั้งนี้ตามข้อบัญญัติกทม.และตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกทม. 2. การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด 3. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 4. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
5. การผังเมือง 6. การจัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ 7. การวิศวกรรมจราจร 8. การขนส่ง 9. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ 10. การดูแลรักษาที่สาธารณะ 11. การควบคุมอาคาร 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14. การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 15. การสาธารณูปโภค16. การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล 17. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 18. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 19. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 20. การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่นๆ 21. การจัดการศึกษา 22. การสาธารณูปการ 23. การสังคมสงเคราะห์ 24. การส่งเสริมการกีฬา 25. การส่งเสริมการประกอบอาชีพ 26. การพาณิชย์ของกทม. 27. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เทศบาลนครหรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีมหาดไทยมอบหมาย หรือที่กฎหมายระบุให้เป็นหน้าที่ของกทม.
จากกฎหมายที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ที่เทศกิจพึงปฏิบัติได้ตามนี้หากเป็นภารกิจที่เจ้าหน้าที่เทศกิจต้องปฏิบัติอยู่จริงทุกข้อ จำนวนเทศกิจกว่า 1,000 คนที่มีอยู่คงไม่เพียงพอเป็นแน่แท้ แต่ลองตรวจดูกันหน่อยซิว่า “เทศกิจทำอะไรอยู่บ้างในวันนี้?”
|
|
|
|
|