Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539
‘หาบเร่-แผงลอย’ ต้นกำเนิดสำนักเทศกิจ             
 





“เทศกิจ” แยกออกมาเป็นสำนักเทศกิจขึ้นตรงกับกทม.ในสมัยพลตรีจำลอง ศรีเมืองเป็นผู้ว่ากทม. เป็นหน่วยงานที่สามารถบังคับให้ลูกบ้านในเขตปกครองของกทม.ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายของกทม.ได้ทุกประการ

ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่เทศกิจมาดูแล กทม.เคยจัดให้มีตำรวจเทศกิจขึ้นมาดูแลในส่วนนี้อยู่ก่อน โดยเกิดขึ้นในสมัยที่ชลอ ธรรมศิริเป็นคณะผู้บริหารราชการกรุงเทพมหานครโดยจัดตั้งตำรวจเทศกิจ จากความยินยอมของกรมตำรวจและความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือนเมื่อเดือนมกราคม 2520

จุดประสงค์หลักในการก่อตั้งตำรวจเทศกิจ มาจากการรณรงค์เรื่องหาบเร่แผงลอย ซึ่งมีการคิดการแก้ไขปัญหาหาบเร่แผงลอยมาก่อนหน้านั้นเป็นเวลาถึง 20 ปีเริ่มแรกกทม.ได้ร่วมมือกับกรมเจ้าท่าและกรมตำรวจกำหนดแผนปฏิบัติขึ้นก่อนในการควบคุมดูแล แล้วต่อมากทม.จึงร่วมมือกับตำรวจจัดตั้งตำรวจเทศกิจเป็นหน่วยงานขึ้นภายหลัง เพื่อลดปัญหาการขัดแย้งระหว่างกรมตำรวจกับกทม.ในการรณรงค์หาบเร่แผงลอยในยุคดังกล่าว ที่ทำให้กทม.ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่

ในยุคที่เริ่มตั้งตำรวจเทศกิจจึงถือเป็นขั้นทดลองโดยตั้งขึ้นจำนวน 32 สถานีนครบาล อัตรากำลังสถานีนครบาลละ 8-12 นายรวมทั้งสิ้นมีประมาณ 320 คนโดยให้รับเงินเดือนและงบค่าใช้จ่ายจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร เมื่อมีการปฏิบัติอย่างจริงจังแม้จะมีการต่อต้านจากประชาชนบ้างแต่หน่วยงานนี้ก็ยังคงดำเนินงานต่อไปด้วยดี จนแยกมาเป็นสำนักเทศกิจในยุคของพลตรีจำลองดังกล่าวข้างต้นพร้อมกับให้มีประจำทุกเขต

การบริหารงานดูแลหาบเร่แผงลอยยึดหลัก 3 ประการคือมีความสะอาด ปลอดภัย และเป็นระเบียบเรียบร้อยมีการรณรงค์จับทั้งผู้ซื้อผู้ขายที่ซื้อขายกีดขวางเกะกะทางเท้า และให้หยุดเพื่อทำความสะอาดในทุกวันพุธ มีการกำหนดจุดกวดขันพิเศษห้ามตั้งวางขายของโดยเด็ดขาด เช่น บริเวณป้ายรถเมล์ สะพานลอยคนข้าม บริเวณทางเท้าที่มีความกว้างไม่ถึง 2 เมตรเป็นต้น ซึ่งเป็นนโยบายที่ปฏิบัติสืบต่อมาถึงยุคที่ ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยาเป็นผู้ว่ากทม.

แต่ในยุคนี้จะยังคงนโยบายเดิม หรือเปลี่ยนไปก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ว่าคนล่าสุดนี้แล้วว่าจะให้ขายของได้ทุกวันแต่ต้องทำความสะอาดทุกวันหรือปฏิบัติตามนโยบายเดิมไม่เปลี่ยนแปลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us