Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539
ไดโนเสาร์บุกโอซากา             
 





ข่าวการเซ็นสัญญาสร้างยูนิเวอร์แซล สตูดิโอธีมปาร์คในโอซากาของเอ็มซีเอไม่เพียงเป็นข่าวดีของบริษัทท่องเที่ยวและธุรกิจอื่นๆในเมืองนี้เท่านั้น แต่ยังตอกย้ำให้คนทั่วไปรู้ว่าโอซากาสามารถสร้างชื่อเสียงในเชิงธุรกิจได้จริง

เพราะทันทีที่รู้ว่าเอ็มซีเอจับเข่าคุยกับเมืองซาไกเรื่องการสร้างธีมปาร์คเมื่อ 4 ปีก่อนเมืองต่างๆทั่วแดนซากุระต่างพยายามทุกวิถีทางเพื่อเบนความสนใจของเอ็มซีเอมายังตนด้วยการเสนอวิสัยทัศน์สุดยิ่งใหญ่ในทำเลทองแถมท้ายด้วยมาตรการล่อใจด้านการเงินอีกมากมายเท่าที่จะคิดหากันมาได้

แต่ดีที่โอซากามีข้าราชการหัวการค้าที่ชื่อ ไคสุเกะ โมริตะที่แอบทราบข่าวความล้มเหลวของเมืองซาไกจากเพื่อนสนิทนาม แฟรงค์ สตาเน็ค กรรมการผู้จัดการใหญ่เอ็มซีเอ เอ็นเตอร์ไพรซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้นำทีมงานเอ็มซีเอในการหาทำเลสร้างธีมปาร์คในญี่ปุ่น

โมริตะมองเห็นโอกาสอันสวยสดงดงามทันที หลังจากที่โอซากาเพิ่งเสร็จสิ้นโครงการอะควอเลียมระดับเวิลด์คลาสที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ถึง 5.2 ล้านรายเพียงชั่วปีแรกที่เปิด

“ผมสามารถบอกได้ถึงทุกอย่างที่พวกเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ทรัพยากร ตลาด โครงสร้างพื้นฐานและวิธีโน้มน้าวให้รัฐบาลท้องถิ่นอนุมัติโครงการ” โมริตะเล่า

และโมริตะนี่เองที่กล่อมให้รัฐบาลท้องถิ่นของโอซากาทบทวนโครงการพัฒนาท่าเรือในแถบโคโนฮาน่าเพื่อโปรโมตเป็นเขตอุตสาหกรรมภายใน 3 เดือนเขาสามารถรวบรวมข้อมูลที่บ่งชี้ว่าธีมปาร์คจะช่วยสร้างงานและโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจตลอดจนยกระดับภาพพจน์เชิงอุตสาหกรรมของโอซากาได้มหาศาลเพียงใด “ผมแสดงให้เห็นว่าโอซากาจะได้อะไรบ้างหากเอ็มซีเอเข้ามาตั้งธีมปาร์ค”

ขนาดอันใหญ่โตมโหฬารของโครงการนี้ทำให้รัฐบาลกลางญี่ปุ่น ซึ่งหมายรวมหมดถึงกระทรวงอุตสาหกรรม,ไปรษณีย์และโทรคมนาคม, คมนาคม,การก่อสร้างและหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม จำต้องยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยงานนี้ตกเป็นความรับผิดชอบของโมริตะอีกครั้ง เริ่มจากในฐานะประธานคณะอนุกรรมการโครงการ ตามมาด้วยตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่โอซากา ยูนิเวอร์แซล โปรโมชัน (โอพียู) ที่ตั้งขึ้นมาในเดือนธันวาคม 1994 เพื่อดูแลการระดมทุนและทำข้อตกลงมูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์ ระยะเวลา 20 ปี

การก่อสร้างยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ เจแปน (ยูเอสเจ) ซึ่งจะเป็นธีมปาร์คแห่งแรกของเอ็มซีเอนอกสหรัฐฯจะเริ่มขึ้นในปี 1998 และเปิดดำเนินการในปี 2001 ทั้งนี้เอ็มซีเอและแรงค์ ออร์แกไนเซชั่นของอังกฤษซึ่งถือหุ้น 50% ในธีมปาร์คของเอ็มซีเอในฟลอริด้า จะถือหุ้นในยูเอสเจฝ่ายละ 17% ที่เหลือเป็นของกลุ่มกิจการของบรรดาบริษัทในโอซาก้า

ยูเอสเจจะอยู่บนพื้นที่ 54 เฮกตาร์และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาที่มีชื่อว่า “ยูนิเวอร์แซล ซิตี้ โอซาก้า” ในอาณาบริเวณ 160 เฮกตาร์ ซึ่งจะประกอบด้วยโครงการบ้านจัดสรร ชอปปิ้งมอลล์และธุรกิจใหม่ๆอีกมากมาย

รอน เบนชั่น กรุ๊ป ซีอีโอของยูนิเวอร์แซล เรกครีเอชั่น กรุ๊ป (ยูเอสอาร์จี) กล่าวว่าธีมปาร์คแห่งใหม่ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยตลอดกาลทั้งในด้านทีวีและภาพยนตร์ จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดบริษัทโปรดักชันจากญี่ปุ่นและทั่วโลกได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ธีมปาร์คแห่งนี้จะสร้างและดำเนินการโดยยูเอสเจซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีโมริตะเป็นกรรมการผู้จัดการและรัฐบาลท้องถิ่นของโอซากาถือหุ้น 25% ส่วนทางยูเอสอาร์จีจะควบคุมในด้านครีเอทีฟและมีส่วนร่วมในการบริหารสถานที่ นอกจากนั้นยังได้สตีเว่น สปีลเบิร์ก

พ่อมดฮอลลีวูดมาช่วยงานด้านครีเอทีฟในการนำบางฉากในหนังดังอย่าง JURASSIC PARK และ ET มาดัดแปลงสร้างความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยวในธีมปาร์ค

ผู้บริหารหลายรายของเอ็มซีเอมองว่าการสร้างธีมปาร์คในโอซาก้าในช่วงเวลานี้เป็นโอกาสเหมาะอย่างยิ่งเพราะกว่าจะถึงวันที่เปิดให้บริการเศรษฐกิจฟองสบู่ของญี่ปุ่นที่เคยแตกพล่านพ่นพิษเรื้อรังมาหลายปี ก็จะถึงคราวฟ้าหลังฝนให้ไพร่ฟ้าหน้าใสได้เบิกบานกันบ้าง

ทั้งนี้ แม้การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนี้จะอิงอยู่บนพื้นฐานดีมานด์บนเกาะญี่ปุ่นเป็นหลัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้บริหารโครงการมองข้ามโอซากาในฐานะที่เป็นที่ตั้งสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ของญี่ปุ่นที่เปิดดำเนินการไม่มีหยุดพักตลอด 24 ชั่วโมงและถือเป็นประตูบานใหญ่ที่เปิดสู่เอเชีย

ไม่เช่นนั้นเมเยอร์คงไม่ปิดท้ายโดยคาดหวังสวยหรูว่าแต่ละปีจะมีผู้มาเที่ยวชมธีมปาร์คแห่งนี้ประมาณ 8-9 ล้านคนคิดเป็นรายได้ราว 500 ล้านดอลลาร์ซึ่งถ้าเป็นจริงตามที่เขาว่า รับรองไม่กี่ปีโครงการนี้คืนทุนแน่นอน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us