|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2539
|
|
เจเรมี่ เลกเก็ตต์ต่างจากพวกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพวกกรีนพีชทั่วไปตรงที่เขาไม่ได้ใช้เรือแคนนูกับไม้พายเป็นอาวุธ ขับเรือโจนทะยานเข้าไปขวางลำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของฝรั่งเศสในน่านน้ำตาฮิติ แต่ผู้อำนวยการกลุ่มกรีนพีช อินเตอร์เนชั่นแนลคนนี้กลับใช้ข้อมูลตัวเลขเป็นอาวุธในการชักจูงให้บรรดาผู้บริหารบริษัทประกันเชื่อว่าสภาวะเรือนกระจกกำลังจะทำให้อุตสาหกรรมของพวกเขาถึงกาลวิบัติ ซึ่งเขาก็ทำสำเร็จเสียด้วย
จนถึงตอนนี้บริษัทประกันยุโรปและเอเชีย 50 แห่งได้ลงนามในข้อตกลงกับองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพื่อร่วมกันพิจารณาปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลมาจากการทำธุรกิจในเวลาเดียวกัน ธนาคารนับโหลก็ร่วมลงนามในข้อตกลงของยูเอ็นดังกล่าวด้วยเช่นกัน เนื่องจากเกรงว่าบริษัททั้งหลายที่ธนาคารปล่อยกู้ไปจะเอาเงินที่ได้ไปปู้ยี่ปู้ยำสภาพแวดล้อมเข้าให้ ซึ่งนับเป็นการบีบให้อุตสาหกรรมต้นเหตุของปัญหาสภาพแวดล้อมต้องหันมาคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
“เจเรมี่ เลกเก็ตต์คือคนสำคัญที่เปลี่ยนแปลงทัศนคติและจิตสำนึกของเรา” รอล์ฟ เกอร์ลิ่ง มหาเศรษฐีเจ้าของเกอร์ลิ่ง กรุ๊ป ออฟ อินชัวรันส์ในเยอรมนีกล่าว
ถึงคำถามเรื่องโลกจะอุ่นขึ้นหรือไม่จะยังมีการถกเถียงกันอยู่ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ตะวันตก แต่มีฉันทามติออกมาแล้วในปีที่ผ่านมาโดยองค์กรที่ยูเอ็นให้การสนับสนุนอยู่คือ INTER GOVERNMENTAL PANEL ON CLIMATE CHANGE ประกาศออกมาแล้วว่าในปี 2100 อุณหภูมิทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 1-3.5 เซนติเกรดเนื่องจากผลของคาร์บอนไดออกไซด์และสารอื่นๆในชั้นบรรยากาศที่ขับเอาความร้อนเอาไว้ นักวิทยาศาสต์กลุ่มหนึ่งถึงกับเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ความแปรปรวนในชั้นบรรยากาศบ่อยขึ้นอาทิพายุเฮอร์ริเคนและน้ำท่วม
ในอดีตบรรดาอุตสาหกรรมต่างๆถูกประณามว่าเป็นสาเหตุของปัญหาเรือนกระจกแต่เลกเกตต์ก็อาสามาแก้ไขสถานการณ์ในทันท่วงที ซึ่งหลายคนบอกว่าเขาเป็นคนที่เหมาะสมที่สุดเพราะเขาคืออดีตที่ปรึกษาอุตสาหกรรมน้ำมันและผู้บรรยายในวิทยาลัย LONDON’S IMPERIAL COLLEGE OF SCIENCE, TECHNOLOG Y&MEDICINE อีกแห่งหนึ่งด้วย
แทนที่เลกเก็ตต์จะไปเจรจากับอุตสาหกรรมต้นเหตุโดยตรง เลกเก็ตต์กลับดอดไปคุยกับบรรดาบริษัทประกันแทนโดยยกตัวอย่างกรณีพายุเฮอร์ริเคนแอนดรูว์ในปี 1992 ที่ทำให้อุตสาหกรรมประกันขาดทุนไปถึง 17,000 ล้านดอลลาร์และอีก 8 รายถึงกับหมดตัว หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆเลกเก็ตต์กล่าวว่า อุตสาหกรรมประกันอาจถึงขั้นอวสาน
แม้ว่าตัวบริษัทประกันจะไม่เคยทิ้งน้ำมันลงในทะเลหรือปล่อยก๊าซพิษออกมา แต่บริษัทเหล่านี้ก็มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการทำธุรกิจของอุตสาหกรรมต่างๆที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งที่บริษัทประกันรับปากกับเลกเก็ตต์คือ จะช่วยในแง่ผลิตภัณฑ์ประกันและส่งเสริมรณรงค์การรักษาสิ่งแวดล้อมและปฏิเสธที่จะขายประกันแก่บริษัทที่ทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีอีกหลายบริษัทที่ยอมซื้อหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเปิดวิวาทะเรื่องนี้
ก้าวต่อไปของเลกเก็ตต์คือการชักชวนให้นายหน้าค้าประกันและนายธนาคารร่วมกันจัดการกับปัญหาเรือนกระจกอย่างที่เขาบอกว่า “นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่ใช่คนแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่นักอุตสาหกรรมใช่” นอกจากนี้เขายังเรียกร้องให้ช่วยกันรณรงค์เรื่อง “การปฏิวัติพลังแสงอาทิตย์” โดยแนะให้ธนาคารต่างๆปล่อยกู้แก่นักกิจการที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงและส่งเสริมกิจการที่ใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทน
|
|
|
|
|