|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2539
|
|
เมื่อกลางเดือนที่แล้ว สมาคมผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯได้รายงานตัวเลขเดือนเมษายนว่า ธุรกิจการผลิตเซมิคอนดักเตอร์สหรัฐฯกำลังประสบยอดการสั่งซื้อที่ตกต่ำที่สุดในรอบ 9 เดือน
กล่าวคือมีสัดส่วนยอดซื้อต่อยอดส่งมอบ (BOOK TO BILL RATIO) แค่ 0.8 ซึ่งตั้งแต่ต้นปีมาสัดส่วนนี้มีแนวโน้มอ่อนตัวลงมาเรื่อยๆ จากระดับ 0.98 เมื่อเดือนมกราคม
สัดส่วนยอดซื้อต่อยอดส่งมอบนี้ คนในวงการเซมิคอนดักเตอร์ เขาถือเป็นตัวชี้ตัวหนึ่งที่สำคัญที่สุดของธุรกิจนี้ การยอมรับสถานการณ์เซมิคอนดักเตอร์ว่าจะอยู่ในระดับปกติหรือไม่ เขาจะดูกันที่ค่านี้ว่าอยู่เหนือมากกว่า 1.0 หรือไม่เพราะถ้าหากต่ำกว่า 1 ก็หมายถึงยอดการซื้อน้อยกว่ายอดส่งมอบ
หรือในทางตรงข้ามถ้าเท่ากับ 1 หรือมากกว่า 1 ก็แสดงว่ามียอดซื้อเข้ามาพอดีหรือมากกว่ายอดส่งมอบ ซึ่งถ้าเป็นสัดส่วนนี้ เซมิคอนดักเตอร์ก็อยู่ในช่วงเฟื่องฟู
เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากกว่าที่ยอดซื้อจะทำการส่งมอบได้มันต้องใช้เวลาหนึ่งไม่ใช่ทันที ดังนั้นยอดที่ส่งมอบเวลานี้ มาจากยอดซื้อในอดีตไม่ใช่ปัจจุบัน
คนในวงการเซมิคอนดักเตอร์จึงพยายามที่จะทำทุกวิถีทางที่จะลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ โดยวิธีการลดทอนเวลาหรือ TIME to MARKET นับแต่ซื้อถึงส่งมอบให้สั้นลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ชาญ อัศวโชคประธานบริหารกลุ่มอัลฟาเทค กลุ่มธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ที่เติบโตเร็วที่สุดของอาเชียน เคยเล่าให้ผมฟังว่าคุณต้องการควบคุม TIME to MARKET ให้อยู่ในระดับที่ต้องการคุณต้องลงไปให้ครบวงจรการผลิตของมัน
เพราะเซมิคอนดักเตอร์เป็นสินค้าไฮเทค ต้องการความแม่นยำสูงกว่าคุณจะส่งมอบได้ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ซื้อก่อนถึง 2 ครั้ง ซึ่งมันจะกินเวลานานถึง 6 สัปดาห์กว่าจะส่งมอบได้สมบูรณ์
เหตุนี้เองที่ตลอดช่วง 1 ปีมานี้ ชาญ อัศวโชคตกเป็นข่าวตลอดถึงเรื่องการลงทุนใหม่เพื่อขยายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของเขา “ผมยืนยันกับคุณได้เลยการตกต่ำของ Book to Bill เป็นเรื่องชั่วคราวไม่เกิน 3 เดือน” เขาพูดกับผมอย่างเชื่อมั่นถึงแนวโน้มตัวชี้นี้
เขาเล่าถึงเบื้องหลังการตกต่ำของตัวชี้นี้ว่า มาจากการอ่อนตัวของดีมานด์คอมพิวเตอร์พีซีในตลาดอเมริกา และยอดขายซอฟต์แวร์วินโดวส์ 95 ที่ไม่ค่อยดีนัก ซึ่งตลาดพวกนี้ของเซมิคอนดักเตอร์ส่วนใหญ่เป็นตลาดขนาด 4 ถึง 8 เมกะไบต์
แต่ความที่โลกสื่อสารกำลังเคลื่อนเข้าสู่ยุคมัลติมีเดีย จึงมีความต้องการอุปกรณ์สื่อสารที่ต้องใช้เซมิคอนดักเตอร์ที่มีหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลชั้นสูงยิ่งขึ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ขนาดสูงกว่า 16 เมกะไบต์จะต้องเป็นสิ่งที่ตามมา และสิ่งนี้คือที่มาของการลงทุนร่วมกับเท็กซัส อินสตุรเม้นท์ (หรือทีไอ) ของชาญ ที่ฉะเชิงเทราเมื่อปลายปีที่แล้ว
หลังจากก่อนหน้าเมื่อต้นปีที่แล้ว เขาได้ตัดสินใจลงทุนกว่า 19,000 ล้านบาทโดยใช้เทคโนโลยีที่ผูกมัดด้วยสัญญาสั่งซื้อ 100% ของการผลิตกับบริษัทร็อคเวล อินเตอร์เนชั่นแนลของสหรัฐฯเพื่อประกอบเวเฟอร์แฟ็บขนาดความจุ 8 นิ้ว
ชาญเล่าให้ผมฟังว่า เวลานี้ ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของกลุ่มอัลฟาเทค ทั้งหมดกระจุกตัวอยู่ที่รับจ้างประกอบและทดสอบซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำของเซมิคอนดักเตอร์มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะลดทอนเวลาการผลิตถึงส่งมอบให้สั้นลงจาก 6 สัปดาห์ให้เหลือเพียง 2 สัปดาห์ถ้าหากเขาไม่มีฐานประกอบชั้นกลางขึ้นมารองรับคือเวเฟอร์แฟ็บ และฐานประกอบและทดสอบเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสุดท้าย
ด้วยเหตุนี้เมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง ชาญก็ออกข่าวอีกครั้งหนึ่งเพื่อประกาศโครงการลงทุนประกอบและทดสอบขั้นสุดท้าย เซมิคอนดักเตอร์อันใหม่ของเขาในนามบริษัทอัลฟาเม็มโมลี่ โดยร่วมกับทีไอและบริษัททีไอ-เอเซอร์ขึ้น
“ผมต้องการไปให้ถึงระดับต้นน้ำของอุตสาหกรรมนี้คือสามารถออกแบบเองและขายเซมิคอนดักเตอร์ภายใต้แบรนด์ของกลุ่มอัลฟาเทคเองเหมือนซัมซุง” เขาเล่าให้ผมฟังถึงจุดสุดยอดของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ในความต้องการของเขา
นั่นหมายความว่าชาญ อัศวโชคยังต้องมีภารกิจขยายการลงทุนต่อไปทั้งที่เขาเองก็ตอบผมชัดเจนไม่ได้ว่าเวลานี้เขามีสินทรัพย์และหนี้สินเท่าไหร่แล้ว
“มันเหมือนขี่หลังเสือ ลงไม่ได้แต่กระนั้นผมเชื่ออยู่อย่างสิ่งที่ผมลงทุนเวลานี้ มันมีอนาคตแน่นอน ตราบใดที่คนต้องการสื่อสารกัน”
|
|
|
|
|