Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539
ทุนการเงินยึดเวทีสภา             
 





การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2539 ดูเหมือนจะถูกกลบด้วยประเด็นเร้าใจที่นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชาสร้างวีระกรรมชิงปิดอภิปรายจนเป็นที่โจษจันท์แล้ว อันที่จริงยังมีประเด็นสำคัญแฝงเร้นซึ่งไม่ควรถูกมองข้าม

ประเด็นที่ว่านี้ คือการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สุรเกียรติ์ เสถียรไทยในวันสุดท้าย โดยขุนพลจากฝ่ายค้านที่เลือกสรรแล้วว่าเชี่ยวชาญเรื่องการเงินการคลังที่สุด ศุภชัย พาณิชภักดิ์-ไตรรงค์ สุวรรณคีรี-พิเชษฐ์ พันธ์วิชาติกุล จากพรรคประชาธิปัตย์

ปรากฏว่าเนื้อหาของการอภิปรายส่วนใหญ่พาดพิงถึงธนาคารแห่งประเทศไทยสถาบันที่เป็นเสาหลักสำคัญทางเศรษฐกิจไทยด้วยเนื้อหาที่เผ็ดร้อนรุนแรงและยาวนานเป็นประวัติการณ์จนมีการพูดกันว่าระหว่างรัฐมนตรีคลังกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยใครกันแน่ที่เป็นเป้าหมายหลักของบรรดา สส.ฝ่ายค้าน

6 ใน 9 หัวข้อที่ศุภชัยลุกขึ้นอภิปรายเป็นความรับผิดชอบของแบงก์ชาติโดยตรง ได้แก่นโยบายดอกเบี้ยการควบคุมสินเชื่อธนาคาร, การไหลเข้าของเงินเก็งกำไรจากต่างประเทศ, การควบคุมเงินเฟ้อ, ปัญหาดอกเบี้ยเงินกู้แพงสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก, การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ไม่นับประเด็นปัญหาธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ (บีบีซี) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของแบงก์ชาติโดยตรงซึ่งอภิปรายไปก่อนหน้านี้แล้ว

ไตรรงค์ สุวรรณคีรี วิพากษ์อย่างออกรส “(รัฐมนตรีคลัง) นึกอะไรออกก็มาตรการมา จิปาถะเลอะเทอะ เพราะท่านสุรเกียรติไปให้ความสนิทสนมต่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมากเกินไป ซึ่งแบงก์ชาติก็ชอบเสนอนโยบายแก้ไขปัญหาเพื่อให้ตนเองมีอำนาจ นี่เป็นลักษณะกิเลสมนุษย์ธรรมดา...”

นี่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงพลังของกลุ่มทุนการเงินที่ฝังรากลึกมานานในสังคมไทยนับแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบการเงินแบบปิดทำหน้าที่ป้องกันคู่แข่งขันอย่างสัมฤทธิ์ผล ขณะเดียวกันก็เอื้อต่อการแผ่อิทธิพลในระบบเศรษฐกิจไทยที่ผูกขาดอยู่เพียงไม่กี่ตระกูล

แต่ไหนแต่ไรมาบทบาทของกลุ่มทุนการเงิน “ซึมลึก” ไม่เอิกเกริกซ่อนสาระไว้ภายใต้หน้าฉากที่ราบเรียบเสมือนคลื่นไต้น้ำ ทว่าบทบาทเหล่านี้กำลังเริ่มเผยตัวออกสู่สาธารณะชนมากขึ้น –สิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐสภาเที่ยวนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน

ทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มทุนการเงินได้สร้างบรรทัดฐานที่เข้มแข็งในระบบการเงินไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้เริ่มทยอยเข้าสู่สนามการเมือง

ดร.ศุภชัย พาณิชภักดิ์ ลาออกจากแบงก์ชาติลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 8 ปีก่อน ช่วงที่สอบตกก็เป็นกรรมการแบงค์ทหารไทย

รุ่นลายครามก็เช่น บุญชู โรจนเสถียร อดีตกรรมการผู้จัดการแบงก์กรุงเทพ ผู้ขัดตาทัพก่อนชาตรี โสภณพนิชจะปีกแข็ง อำนวย วีรวรรณ อดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพฯ ปัจจุบันหัวหน้าพรรคนำไทย

มาถึงรุ่นล่าสุด ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการแบงก์ไทยพาณิชย์ ลาออกไปเป็นรัฐมนตรีคลังสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพคนสุดท้ายที่ไม่ใช่โสภณพนิช มารับตำแหน่งรัฐมนตรีคมนาคมช่วงท้ายของรัฐบาลชุดก่อนฯลฯ

บังเอิญพรรคการเมืองที่ผูกพันธมิตรกับกลุ่มทุนการเงินได้นั้นส่วนใหญ่เป็นฝ่ายค้านในยุคนี้

ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทยขึ้นรับตำแหน่งรัฐมนตรีคลังอย่างโดดเดี่ยว เขาไม่มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มทุนการเงินผิดกับรัฐมนตรีคลังคนก่อน ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ที่ทำอะไรก็ดูง่ายไปหมดออกมาตรการแต่ละครั้งตลาดการเงินขานรับอย่างราบรื่น

ดร.สุรเกียรติถูกปฏิกิริยาในเชิงลบทันทีที่รับตำแหน่ง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทรุดกว่า 70 จุดเมื่อออกมาตรการต่างๆกลุ่มทุนการเงินก็เกิดอาการ “ผิดสำแดง” ดอกเตอร์ทางกฎหมายจากฮาร์วาร์ดคนเดียวของประเทศไทยผู้นี้ยังถูกตั้งข้อหาว่าคุณสมบัติ “ไม่เหมาะสม” ขณะที่อดีตรัฐมนตรีคลังยุคก่อนๆอาทินักเลือกตั้งอย่างประมวล สภาวสุหรือบรรหาร ศิลปอาชาก็ยังไม่โดนหนักข้อเช่นนี้

เมื่อรัฐมนตรีคลังหันไปพึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย วิจิตร สุพินิจผู้ว่าการแบงก์ชาติก็ถูกจัดชั้นโดยกลุ่มทุนการเงินว่าเป็น “พรรคพวก” ของสุรเกียรติ ความเชื่อมั่นที่กลุ่มทุนการเงินเคยมีต่อตัวผู้ว่าการมาตลอด 6 ดปี กลับกลายเป็นความรู้สึกฉันท์ปรปักษ์เข้ามาแทนในช่วงไม่ถึง 7 เดือน

“แต่ก่อนแบงก์ชาติแค่เอ่ยปากขอร้องอะไรคนเขาก็ให้ความร่วมมือดีแต่ตอนนี้ไม่มีใครเขาเชื่อแล้ว เลยต้องออกเป็นคำสั่งเป็นมาตรการออกมา...” ฉากหนึ่งที่ไตรรงค์ อภิปรายสะท้อนภาพความรู้สึกกลุ่มทุนการเงิน

ผลงานที่ผู้ว่าการแบงก์ชาติคนนี้สร้างให้กับระบบเศรษฐกิจการเงินไทยมาตลอด อาทิผ่อนคลายปริวรรตเงินตรา เปิดระบบการเงินวิเทศธนกิจ (BIBF – Bangkok International Banking Facilities) เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค บัดนี้กลับไม่มีใครพูดถึง

ไม่แปลกอะไรที่วิจิตร สุพินิจจะถูกเป็นเป้าอภิปรายในรัฐสภาควบคู่ไปกับคนนอก-สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อย่างเผ็ดร้อนรุนแรงต่อสาธารณชนตลอด 6 ชั่วโมง

กลุ่มทุนการเงินมีอิทธิพลครอบงำและแผ่รากยึดเศรษฐกิจไทยลึกกว่าที่เห็นมากนักบทบาทในเชิงลึกที่สร้างกิจกรรมหลักทุนการเงินถูกกลุ่มทุนการเงินบทบาทในเชิงลึก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us