Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539
ประธานฮิวเลตต์-แพคการ์ดผู้ใจบุญ             
 





ความสำเร็จของฮิวเลตต์ แพคการ์ (เอชพี) ได้กลายเป็นตำนานบทหนึ่งของวงการธุรกิจสหรัฐฯไปแล้วจากโรงรถเล็กๆในแคลิฟอร์เนียผันผ่านวันเวลาอันยาวนานมาเป็นซิลิคอน วัลเลย์แหล่งผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่สำคัญของโลกจากพลังที่อัดแน่นอยู่ในหัวสมองของสองสหายสแตนฟอร์ด เดวิด แพคการ์ดและวิลเลียม ฮิวเลตต์

ผลิตภัณฑ์ของเอชพีมีตั้งแต่เครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ไปจนถึงอุปกรณ์การแพทย์ที่สามารถจับเสียงหัวใจเต้นของลูกน้อยก่อนลืมตาออกมาดูโลก

ในเวลานี้ เอชพีมีรายได้กว่า 31,000 ล้านดอลลาร์มีพนักงานกว่า 100,000 คนแต่ที่ขาดไปตอนนี้คือตัวแพคการ์ผู้ก่อตั้งเพราะเขาเพิ่งอำลาโลกนี้ไปในวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมาด้วยวัย 83 ปีบุรุษผู้กลายมาเป็นตำนานหน้าหนึ่งของวงการเซมิคอนดักเตอร์โลก

แพคการ์ดและฮิวเลตต์มักเดินตรวจตราที่ทำงานในชุดเสื้อผ้าสบายๆแต่นั่นหาได้เป็นอุปสรรคต่อการได้รับการคารวะจากพนักงานของบริษัทไม่และคำว่า “HP WAY” ที่ทั้งสองสหายมักเน้นย้ำอยู่เสมอทุกคนถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานของเอชพี

แต่ใครเลยจะล่วงรู้ถึงความใจบุญสุนทานของสองสหายราชาเซมิคอนดักเตอร์ผู้ไม่ยอมเอ่ยนามยามบริจาคเงินให้กับสถาบันหรือองค์กรต่างๆแต่หลังจากสองผู้เฒ่าล่วงลับไปแล้ว สมควรมิใช่หรือที่ชาวโลกสมควรรับรู้ความใจบุญแบบไม่เอาหน้าของทั้งสอง

เจ้าหน้าที่ของสแตนฟอร์ดคำนวณว่าทั้งสองบริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยเป็นตัวเลขไม่ต่ำกว่า 300 ล้านดอลลาร์ เงินที่ได้ทางมหาวิทยาลัยนำไปเป็นทุนให้นักศึกษาในภาควิศวกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติคุณแก่ศาสตราจารย์เฟรดเดอริค เทอร์แมนแห่งภาควิศวกรรมที่ทั้งสองบูชาและถือว่าเป็นผู้เปิดทางสว่างสายวิชาชีพได้

ว่ากันว่าฮิวเลตต์ผู้ล่วงลับมีสุขภาพแบบไม่ทนลมทนฝนและไม่ชอบออกงานสังคม ส่วนแพคการ์ดผู้เพื่อน อนุญาตให้สาธารณชนรู้จักได้บ้างด้วยการบริจาคเงิน 40 ล้านดอลลาร์ให้มอนเตเร่ย์ เบย์ อควอเรียม ในขณะที่มูลนิธิแพคการ์ดก็บริจาคเงิน 480 ล้านดอลลาร์สนับสนุนงานวิจัยทางทะเลฝึกอบรมคนเลี้ยงเด็ก การอนุรักษ์ฟิล์มในฮอลลีวูดและการติดตั้งระบบดิจิตัลให้ห้องสมุดรัฐสภาคองเกรส

แพคการ์ดยังบริจาคเงินสร้างโรงพยาบาล CHILDREN’S HOSPITAL ที่สแตนฟอร์ดเพื่ออุทิศให้กับภรรยาผู้ล่วงลับไปแล้ว นามลูซิลล์ นอกจากนี้ แพคการ์ดยังยกหุ้นที่เขาถืออยู่ในบริษัทที่ตอนนี้มีมูลค่า 4,300 ล้านดอลลาร์ให้มูลนิธิของเขาอีกด้วย เพื่อนำไปใช้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

“พวกคุณไม่ควรย่ามใจกับความสำเร็จที่คุณได้รับพวกคุณต้องเดินหน้าต่อไปและพยายามค้นหาสิ่งที่ดีกว่า แพคการ์ดกล่าวทิ้งข้อคิดไว้กับพนักงานในวันที่เขาอำลาจากตำแหน่งประธานบริษัทในปี1993   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us