|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2539
|
|
นับแต่ต้นปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมพีซีจะมีแต่ข่าวร้ายให้ได้ยินกันเริ่มจากวันที่ 16 มกราคมที่อินเทล บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ออกมาเผยว่ายอดขายไตรมาสแรกจะไม่กระเตื้องขึ้นเลย ซึ่งถือเป็นไตรมาสแรกในรอบสี่ปีที่ไม่มีอัตราการเติบโต
ถัดมาในวันที่ 1 มีนาคมคอมแพค ผู้ผลิตพีซีรายใหญ่แห่งนี้ประกาศว่ายอดขายไตรมาสแรกมีเข้ามาเบาบางและส่วนต่างกำไรก็หดแคบลงสามวันต่อมา อินเตอร์เนชั่นแนล บิสเนส แมชีส์ (ไอบีเอ็ม)
ก็ออกมาแสดงความผิดหวังถึงอัตราการเติบโตของพีซีในสหรัฐฯ ให้หลังไปเพียงไม่กี่วันในวันที่ 19 มีนาคม เซอร์รัสลอจิก ผู้ผลิตชิปของมะกันก็ประกาศเปรี้ยงปลดคนงานออก 13% โดยอ้างว่าเป็นเพราะยอดขายพีซีมีน้อยมาก
อุตสาหกรรมพีซีที่เคยพุ่งสวนทางกับแรงดึงดูดของโลกมีอันต้องดิ่งลงสู่พื้นปฐพี เหตุใหญ่เป็นเพราะตลาดสหรัฐฯตกอยู่ในอาการซบเซา มีการทำนายไว้ว่ายอดจัดส่งพีซีในปีนี้จะพุ่งขึ้นเพียง 12%
ลดลงจากที่เคยเฟื่องฟูถึง 22% เมื่อปีกลาย
ทั้งนี้เป็นเพราะยอดขายในตลาดประเภทกิจการ, สถาบันการศึกษาและหน่วยงานรัฐบาลหรือครึ่งหนึ่งของยอดจัดส่งกำลังรูดลง เพราะลูกค้ารอใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ เอ็นที รุ่นใหม่ของไมโครซอฟฟต์ที่กำหนดออกมาพร้อมกับยูสเซอร์อินเตอร์เฟซของวินโดว์ 95 ในซัมเมอร์นี้ ในส่วนตลาดโฮมพีซีที่เคยรอนแรงในช่วงที่ผ่านมาก็เริ่มเย็นลง หลายบริษัทเลิกคิดที่จะขยายตลาดพีซีให้ครอบคลุมทุกกลุ่มคนเพราะความที่พีซีมีราคาแพงเกินไปโดยขณะนี้ ดาต้า เควสต์ยืนยันว่าครัวเรือนในสหรัฐฯมีพีซีใช้กันไม่ถึง 29% ด้วยซ้ำ
ปีนี้จึงเป็นปีแห่งความโชคร้ายของวงการพีซี ผู้รับเคราะห์รายแรกสุดเห็นจะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญโดยขณะนี้เท็กซัส อินสตรูเมนท์และไมครอน เทคโนโลยีออกมายอมรับแล้วว่ายอดขายพีซีที่อยู่ในอาการซบเซาเป็นเหตุให้ยอดจัดส่งและกำไรจากชิปความจำถลาลงดิน แม้ไมโครซอฟท์จะยังคงยืนยันที่จะส่งระบบปฏิบัติการดังกล่าวอีกกว่า 50 ล้านก็อปปี้จนถึงวันครบกำหนดคลอดหนึ่งขวบปีในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ แต่อลัน เอฟชูการ์ต ซีอีโอของซีเกตเทคโนโลยี ผู้ผลิตดิสก์ไดรฟ์รายใหญ่ของโลกก็ยอมรับความจริงว่า “ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์บางรายกำลังย่ำแย่ในขณะที่บางรายกำลังไปได้สวย”แข่งเดือดเพิ่มมาร์เกตแชร์
เพื่อรักษาอัตราการเติบโตเอาไว้ คอมแพคและบริษัทคอมพิวเตอร์อีกหลายค่ายจำเป็นต้องเฉือนส่วนแบ่งตลาดกันอย่างรุนแรง แต่สำหรับยักษ์ใหญ่อย่างคอมแพค, ไอบีเอ็มและแอปเปิลที่ยอดขายครึ่งหนึ่งมาจากตลาดนอกสหรัฐฯที่มีปัญหาไม่รุนแรงเท่าคงไม่ต้องเจ็บลึกเหมือนอย่างฮิวเลตต์ แพคการ์ด (เอชพี) ซึ่งเน้นทำตลาดคอนซูเมอร์สหรัฐฯเป็นหลัก
ดิจิตอล อิควิปเมนท์ คอร์ป (เดค) นั้นโบกมือลาตลาดโฮมพีซีไปแล้วหลังจากที่เห็นว่าเป็นตลาดที่หินมาก โดยตัดสินใจดึงพีซี “สตาร์เรียน” ออกจากตลาดและพร้อมยอมรับความพ่ายแพ้ที่จะมีผลต่อกำไรไตรมาสที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 มีนาคม
ในส่วนของเซิร์ฟเวอร์เน็ตเวิร์กกลับมียอดขายโตวันโตคืนด้วยอัตราการขยายตัว 30% ในปีนี้หรือแม้กระทั่งยอดขายคอมพิวเตอร์แล็ปทอปที่เคยดิ่งเหวในปีก่อนก็คาดว่าจะตีตื้นขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่ผู้ผลิตเปลี่ยนมาใช้ชิปเพนเทียม
สำหรับตลาดต่างแดนอย่างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นก็มีโอกาสในการขยายตัวอีกมาเฉพาะในญี่ปุ่นตลาดเดียวคาดว่าคงจะมียอดขายพีซีในปีนี้สูงถึง 6.5 ล้านเครื่องหรือปรับตัวสูงขึ้น 30% ส่วนตลาดโฮมพีซีในประเทศดังกล่าวก็จะปรับตัวสูงถึง 24% เพิ่มขึ้นจากเพียง 19% ในปีก่อนหน้า
สินค้าล้นตลาด
ที่จริงปัญหาใกล้ตัวของผู้ผลิตไม่ใช่อื่นไกล แต่อยู่ที่สินค้าคงคลังที่กองเป็นภูเขาหลังจากที่คริสต์มาสที่ผ่านมามียอดจัดส่งเพิ่มขึ้นเพียง 15% จากไตรมาสสี่ของปีก่อนหน้าจึงเป็นเหตุให้ต้องมีศึกห้ำหั่นราคากันอย่างดุเดือดเลือดพล่านเพื่อระบายพีซีค้างโกดังออกโดยในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา สี่ยักษ์ใหญ่แห่งวงการประกอบด้วยคอมแพค, ไอบีเอ็ม, เอชพีและเดลล์ ทยอยกันตัดราคารวมทั้งสิ้นถึง 30%
แม้สินค้าคงคลังจะร่อยหรอลงไปบ้างแล้ว แต่บริษัทพีซีก็ต้องพบว่าดีมานด์ในตลาดโฮมพีซีในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวฉุดการเติบโตของอุตสาหกรรม ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมากำลังลดน้อยถอยลง โดยอาจจะลดลงเหลือเพียง 8% จากที่เคยพุ่งสูงถึง 22% และ 42% ใน 1995 และ 1994 ตามลำดับยอดขายพีซีที่เคยทำได้อย่างมโหฬารในปี 1992-1995 กลายเป็นเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ที่เป็นอดีตไปแล้วเพราะขณะนี้คอมพิวเตอร์กำลังเปลี่ยนจากเครื่องพิมพ์ดีดไฮเทคเป็นอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงระบบมัลติมีเดียและไซเบอร์ครุยเซอร์หรืออุปกรณ์เจาะเข้าอินเตอร์เน็ตที่อย่างน้อยๆทุกคนก็ต้องมีไว้ใช้คนละเครื่อง
แต่ถึงอย่างไรลูกค้ารุ่นแรกที่จะซื้อไปใช้ในปีนี้ก็คงจะมีเพียง 1 ล้านรายซึ่งน้อยกว่าที่เคยคาดคิดกันไว้ว่าจะมีจำนวนถึงปีละ 2 ล้านรายในส่วนของเอชพีเผยถึงสาเหตุว่าเป็นเพราะบริษัทยังขายสินค้าได้เฉพาะกับลูกค้าหน้าเดิมๆยังไม่เห็นลูกค้าหน้าใหม่แต่อย่างใด
เมื่อการณ์เป็นเช่นนี้ การขยายแชร์ตลาดจึงเน้นที่เครื่องราคาถูกลงซึ่งยังคงใช้เทคโนโลยีรุ่นเก่าอย่างชิปอินเทล 486 แทนที่จะคงราคาเครื่องไว้ในระดับเดิมประมาณเครื่องละ 1,700-3,000 ดอลลาร์หรือดันราคาเครื่องให้สูงขึ้นโดยใส่เทคโนโลยีล่าสุดอย่างเช่นชิปความจำขนาด 24 เมกะไบต์เข้าไป ในความเห็นของบรูซ สตีเฟ่นนักวิเคราะห์ของไอดีซีมองว่ากลยุทธ์ดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ผลิตต้องทำเพื่อสร้าง “คลื่นลูกค้าลูกใหม่”
|
|
|
|
|