Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539
ปิ๊ปปิน อนาคตของแอปเปิล?             
 





ก่อนหน้าที่จะลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของแอปเปิล คอมพิวเตอร์ ไมเคิล สปินด์เลอร์ มักจะพูดถึงเทคโนโลยีใหม่ชื่อว่า “ปิ๊ปปิน” (PIPPIN) หรือคอมพิวเตอร์แมคอินทอชขนาดเล็กที่จะออกมาเปิดเกมรุกครั้งใหญ่สุดในตลาดคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ในทุกครั้งที่มีโอกาส โดยหมายมั่นปั้นมือที่จะส่งปิ๊ปปิน ซึ่งเป็นทีวีกึ่งพีซีให้ลูกค้านั่งเล่นเกม “แมค” หรือเจาะเข้าท่องโลกในอินเตอร์เน็ตกันถึงเตียงนอน

ขณะเดียวกันเขาก็เพียรพยายามกำจัดอาการตื่นตระหนกของนักวิเคราะห์ที่พวยพุ่งมาหลังจากที่แอปเปิลรายงานภาวะขาดทุนด้วยการสร้างกระแสนิยมในคอนเซ็ปต์ปิ๊ปปินอยู่แทบทุกวัน ทว่า เจ. วิลเลี่ยม เกอร์ลี่ย์นักวิเคราะห์ประจำซีเอส เฟิร์ส บอสตัน คอร์ป.กลับเย้ยหยันว่า “สปินเดอร์โอ ปิ๊ปปินอย่างกับว่ามันจะเข้ามากอบกู้บริษัทได้”

หากว่ากันตามจริงจะเห็นได้ว่าปิ๊ปปินนั้นนอกจากจะไม่ได้ช่วยอุ้มสปินด์เลอร์แล้วยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนชะตากรรมของแอปเปิลด้วยซ้ำ แม้สายผลิตภัณฑ์ปิ๊ปปินรุ่นแรกในชื่อว่า “แอทมาร์ก” (ATMARK) จะมีบันได เจ้าของเกมเพาเวอร์เรนเจอร์เดินหน้าทำตลาดในญี่ปุ่นไปแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา โดยตั้งราคาจำหน่ายเครื่องละ 620 ดอลลลาร์แต่เมื่อครั้งเปิดตัวในสหรัฐฯเมื่อต้นเดือนเดียวกัน ปิ๊ปปินกลับได้รับการตอบรับจากเหล่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ค่อนข้างจะเบาบางมาก ในส่วนบันไดเองที่แม้จะตั้งความหวังกับแอทมาร์กไว้สูง กลับตั้งเป้ายอดจัดส่งแอทมาร์กในปีแรกเพียง 500,000 เครื่องเท่านั้นซึ่งเท่ากับว่าแอปเปิลจะไม่ได้ผลตอบแทนอะไรมากนักเพราะคิดค่ารอยัลตี้ 10-20 ดอลลาร์จากแอทมาร์กแต่ละเครื่องและเพียง 1 ดอลลาร์จากดิสก์เกมแต่ละแผ่น

แอทมาร์ก ซึ่งเป็นชื่อของสัญลักษณ์ @ (แอลฟา) มีปัญหามากมายมาตั้งแต่ที่โครงการปิ๊ปปินยังไม่คลอด ซึ่งชื่อนี้เมื่อปี 1993 คือชื่อโครงการเครื่องเล่นเกมพกพาชนิดหนึ่งที่ถูกพับเก็บไปในเวลาต่อมาและในปี 1994 แอปเปิลก็เดินหน้าหาทางให้ไลเซนส์ผลิตภัณฑ์พ่วงต่อกับทีวีแก่บริษัทต่างๆ

บันได (BUNDAI) เองก็เคยกะแผนการว่าจะเข็นแอทมาร์กออกสู่ตลาดในเดือนธันวาคมปี 1995 แต่แล้วก็ต้องจับเข่าคุยกับแอปเปิลใหม่ จนกระทั่งได้ข้อสรุปว่าต้องรอจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคมปี 1996 ก่อนเพื่อจะได้เพิ่มฟังก์ชั่นในการเจาะเข้าอินเตอร์เน็ตผนวกเข้าไปด้วย โดยตั้งความหวังไว้ว่าจะสามารถทำให้แอทมาร์กกลายเป็นอุปกรณ์เจาะเข้าเวิลด์ ไวด์เว็บที่มีราคาถูก

ในครั้งนั้น บันไดเก็งว่าหากตัดสินใจปล่อยแอทมาร์กลงตลาดไปก่อน ก็คงจะต้องเปิดศึกกับอุปกณ์เจาะเข้าอินเตอร์เน็ตอีกเป็นฝูงที่จะกระโจนลงมาแข่งขันในช่วงปลายปีซึ่งถือเป็นคำคาดการณ์ที่แม่นยำอย่างกับตาเห็น ปลายเดือนเมษายนปี 1995 ออราเคิล ซิสเต็มยืนยันว่าบริษัทจะแถลงถึงแผนที่จะมีบริษัทคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ระดับโลกคิดจะสร้างอุปกรณ์ตามดีไซน์ของเน็ตเวิร์ค คอมพิวเตอร์ของออราเคิล ส่วนอีกรายคือเซก้าเอ็นเตอร์ไพรส์ ก็มีทีท่าว่าจะเข็นเครื่องเล่นเกมในอินเตอร์เน็ตลงสู่ตลาดในราคาที่ต่ำกว่าแอทมาร์กด้วยซ้ำ

แอทมาร์กนั้นมีจุดที่น่าประทับใจไม่น้อยตรงที่มีความสามารถในการรั่นซอฟต์แวร์ด้านการศึกษาและการเจาะเข้าอินเตอร์เน็ต ส่วนเรื่องราคาที่สามารถตั้งให้ต่ำลงได้เป็นเพราะแอทมาร์กใช้โมเด็มความเร็วต่ำขนาด 14.4 กิโลไบต์ต่อวินาที (เคบีพีเอส) แทนที่จะเป็นโมเด็มความเร็วสูงขนาด 28.8 เคบีพีเอส แต่สำหรับคีย์บอร์ดนั้นเป็นออปชั่นราคาพิเศษ ทว่าแอทมาร์ก็มีข้อเสียอยู่อย่างคือข้อความที่ปรากฎบนจอไม่ชัดเจน จึงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเล่นอินเตอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม คุณค่าในตัวของปิ๊ปปินก็ยังมีอยู่ คือการพิสูจน์ให้วงการเห็นว่าแอปเปิลสามารถลดขนาดองค์กรให้บางและเล็กแต่มากด้วยประสิทธิภาพได้อีกครั้งในประวัติศาสตร์ด้วยการใช้เจ้าหน้าที่สำหรับโครงการนี้เพียง 25 คนเท่านั้นพวกเขาทั้งหมดยังทำหน้าที่เดินสายขายเทคโนโลยีปิ๊ปปินให้แก่ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในจำนวนนั้นมีซัมซุง กรุ๊ปของเกาหลีใต้และมิตซูบิชิอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นที่ซื้อเทคโนโลยีไปแล้วและรับปากว่าจะผลิตแอทมาร์กป้อนให้บันได

ซัทจิฟ ซาฮิล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสของแอปเปิล ยืนยันเรื่องนี้ว่า “มันเป็นรูปแบบการทำธุรกิจแห่งอนาคต” อย่างไรก็ดีถึงวินาทีนี้จะมีเพียงบันไดเท่านั้นที่รับหน้าเป็นผู้จัดจำหน่าย แต่แอบเปิลก็มั่นใจเกินร้อยกับแผนการสำหรับตลาดสหรัฐฯที่จะเปิดเผยกันในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ ซึ่งมีข่าวว่าจะใช้งบโปรโมตถึง 50 ล้านดอลลาร์สูงกว่าแคมเปญเครื่องเล่นเกม “เพลย์สเตชั่น” ของโซนี่ที่ใช้ 40 ล้านดอลลาร์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us