Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539
คลับเอเชียปรับตัวหนีตาย             
 





เวลาพูดถึงคลับในเอเชียตามความหมายทั่วไปมักหมายถึงที่ที่ผู้มีอันจะกินต่างชาติมาเจอกัน โดยเฉพาะพวกผู้ดีจากชาตินักล่าอาณานิคมทั้งหลายเพื่อร่วมดื่มกินพูดคุยถึงความหลัง โดยเฉพาะการร่ำสุรากันจนเช้า คลับที่ว่าในปัจจุบันได้ปรับปรุงรูปแบบการบริการไปไม่มากก็น้อยตามความต้องการของลูกค้า

จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดของคลับเหล่านี้คือการเปิดให้นักธุรกิจเงินหนาเข้ามารับประทานอาหาร พูดคุยธุระปะปังกันได้ พร้อมรับจัดงานเลี้ยงอาหารกลางวันแทนที่จะให้เฉพาะพวกผู้ดีเข้ามานั่งจิบยินสีกุหลาบตรงระเบียงโรงแรมพูดคุยถึงความหลังครั้งรุ่งโรจน์

อย่างในสิงคโปร์ ตั้งหลินคลับใกล้ๆกับย่านออร์ชาร์ดโรดอันเลื่องชื่อ มีสมาชิกถึง 5,600 คนและพยายามรักษาสัดส่วนสมาชิกระหว่างคนท้องถิ่นกับต่างชาติไว้ที่ 51-49 %และสมาชิกส่วนใหญ่ของคลับจะเป็นนักธุรกิจ

อีกคลับหนึ่งที่กำลังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากในสิงคโปร์ได้แก่คลับคอร์ป ออฟอเมริกา ซึ่งเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ แฟรงก์ ฟอนอาร์ก อัลเลมาน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาคลับกล่าวว่า คลับคนเมืองที่แท้จริงต้องตั้งอยู่ตรงใจกลางย่านธุรกิจและมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน

นอกจากนี้คลับที่ดียังต้องมีนักธุรกิจระดับสูงในเมืองนั่งแป้นบริหารและให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจอย่างการจัดสัมมนาและจัดงานสังสรรค์ให้นักธุรกิจต่างแดนมาทำความรู้จักกับนักธุรกิจท้องถิ่นเพื่อสะดวกแก่การสร้างสายสัมพันธ์

ในกัวลาลัมเปอร์มีคลับอยู่ถึง 2 แห่งซึ่งกำลังสร้างความสั่นสะเทือนให้คลับเจ้าถิ่นอย่างโรยัล ซาลังงอร์ คลับ ซึ่งรักษารูปแบบการบริการแบบดั้งเดิมตั้งแต่สมัยอาณานิคมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ผู้หญิงยังคงถูกห้ามนั่งเคาน์เตอร์บาร์และสมาชิกยังคงถกเถียงกันไม่จบว่าทำไมชื่อเล่นของมันคือ “สุนัขจุด”

แต่วันนี้มนต์เสน่ห์ของโรยัล ซาลังงอร์เริ่มจืดจางเมื่อถูกรัศมีของผู้มาใหม่อย่างแบงเกอร์คลับบดบัง แม้ว่าแบงเกอร์คลับจะคิดค่าสมาชิกหนักกว่าโรยัล ซาลังงอร์ถึง 1 ใน 3 แต่เสนอบริการที่สมาชิกไม่อาจปฏิเสธ

ถึงแบงเกอร์คลับจะเข้มงวดเรื่องเครื่องแต่งกายและห้ามเด็กเข้า แต่คลับเสนอบรรยากาศสบายๆแก่สมาชิกที่ที่ลูกค้าสามารถมาอาบน้ำชำระร่างกาย อ่านหนังสือหรือพบปะคนที่อยากเจอและยังมีการจัดทริปไปชมภาพยนตร์เพื่อผ่อนคลายอีกด้วย หรือหากไม่อยากออกไปข้างนอก ทางคลับก็มีบริการมินิปาร์ตี้ให้ลูกค้าผู้รักการดื่ม

ทั้งนี้ แบงเกอร์คลับเป็น 1 ใน 20 คลับชั้นนำในเอเชียบริหารงานโดยบริษัทซีซีเอในฮ่องกง จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งของที่นี้คือให้ความบันเทิงแก่สมาชิก

คู่แข่งสำคัญของแบงเกอร์คลับได้แก่ปิโตรเลียม คลับซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเน้นลูกค้าผู้บริหารอุตสาหกรรมน้ำมันทำให้ไม่แปลกใจ หากทางคลับมีการจัดสัมมนาและอบรมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

“หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจของเราคือการช่วยให้นักธุรกิจน้ำมันและแก๊ซมาพบปะสังสรรค์กัน” วาเรลี ฮอนผู้จัดการฝ่ายการตลาดของปิโตรเลียม คลับกล่าว

ส่วนในไทยซึ่งการเป็นสมาชิกคลับโน้นคลับนี้นับเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันเป็นตัวบ่งบอกสถานะของคน คลับที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งคือเฮอริเทจ คลับ ผู้จัดการคลับคือฟิลิป เดวาร์กล่าวว่าคนที่นี่ต้องการไปไหนสักแห่งที่จะมีคนจดจำพวกเขาได้ ที่ที่มีคนนับน่าถือตาไม่ใช่เป็นแค่ SOMEBODY

“ลูกค้าส่วนใหญ่ของเราใช้เวลาไปกับการทานอาหารเย็น ผมเชื่อว่าสมาชิกมาที่นี่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจในสถานที่ที่คนภายนอกไม่อาจกล้ำกรายเข้ามาได้ นอกจากสมาชิกอันทรงเกียรติ” เดวาร์กล่าว

คู่แข่งของเฮอริเทจ คลับได้แก่แปซิฟิกคลับ จุดเด่นของคลับแห่งนี้คือคลับร่วมสมัย บรรยากาศสบายๆไม่ใช่เน้นบรรยากาศธุรกิจอย่างเดียวที่นี่มีทั้งที่อาบน้ำ ที่อบเซาน่าศูนย์สุขภาพ

ตอนนี้ แปซิฟิกคลับมีสมาชิกกว่า 500 คนแล้ว 75% เป็นคนไทย แต่การรับสมาชิกของคลับจะเป็นแบบสมาชิกแนะนำต่อมา ไม่ใช่ออกประชาสัมพันธ์เชิญชวน ซึ่งการรับสมาชิกแบบนี้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคลับส่วนใหญ่ในเอเชียไปแล้ว

คลับชั้นนำในโตเกียวได้แก่ดิ อเมริกัน คลับซึ่งได้รับคำชมอย่างดีจากลูกค้า โดยเฉพาะอาหารรสเลิศทั้งฝรั่งเศสและญี่ปุ่นเอง ซึ่งที่นี้เน้นเป็นพิเศษ แต่คลับที่ไหนเลยจะสู้คลับในฮ่องกง อาทิ จ้อคกี้คลับสมาชิกกว่า 15,000 คน เฮเลน่า เมย์ อินสติติวท์ สำหรับสุขภาพสตรีโดยเฉพาะและที่คลับในฮ่องกงเฟื่องฟูกว่าที่อื่นเพราะฮ่องกงคือดินแดนแห่งการค้าขายอันดับหนึ่งในเอเชีย

จีนก็มีคลับกับเขาเช่นกันนามว่าไชน่า คลับซึ่งมาแปลกไม่เหมือนใครคือนอกจากจะไม่ขึ้นค่าสมาชิกแล้วตามสภาวะเศรษฐกิจแล้ว ยังไม่จำกัดจำนวนสมาชิกด้วยแต่จุดอ่อนของไชน่า คลับคืออาหารที่แสนธรรมดา แต่จุดเด่นของที่นี้คือ บริการรวดเร็วประทับใจแบบไม่ต้องรอให้เอ่ยปากสั่ง ส่วนสาเหตุที่คลับคิดค่าสมาชิกถูกเหลือใจเพราะว่าคนที่นี่ไม่ได้ร่ำรวยอะไรมากนักจึงต้องถนอมน้ำใจเอาไว้หน่อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us