Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539
บอริส เยลต์ซิน หมีขาวที่ไม่ใหญ่แต่ตัว             
 





โดยปกติ ผู้คนหาอ่านอัตชีวประวัติบุคคลสำคัญของโลกได้จากงานเขียนหลังเกษียณของเจ้าตัว อีกทีก็เขียนโดยบุคคลอื่นหลังวิญญาณลาร่างไปแล้ว แต่สำหรับนายบอริส นิโกเลเยวิช เยลต์ซิน (BORIS NIKOLEVICH YELTSIN) ประธานาธิบปีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียน นามที่นับได้ว่าเป็นหนึ่งในนักการเมืองมหาอำนาจที่สำคัญที่สุดเพียงไม่กี่คนของโลกปัจจุบัน กลับมานั่งหลังขดหลังแข็งยามดึกดื่น พลั่งพรูลำดับภาพเหตุการณ์การปฏิวัติรัฐประหารเมื่อเดือนสิงหาคม 2534 ที่สั่นสะเทือนไปทั่วโลก ไม่แต่เฉพาะรัสเซีย เหตุการณ์ครั้งนั้นจึงจุดประกายไฟลุกโชนให้นายเยลต์ซินลงมือเป็นนักเขียนจำเป็นแล้วให้เพื่อนชาวอังกฤษแปลจากภาษารัสเซีย ขณะที่ยังดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ

หนังสือชื่อ BORIS YELTSIN-THE VIEW FROM KREMLIN เป็นงานเขียนรวมรสชีวิตจิตวิญญาณที่เป็นเอกเทศของประธานาธิบดีเยลต์ซิน ตีแผ่เผ็ดมันการทำงานของหน่วยราชการลับบันลือโลก เค จี บี (KGB) ต่อกรณีลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์นเอฟเคนเนดี้เสริมไว้ด้วยประวัติลึกๆของนายลี ฮาวี ออสวัลด์ที่มาอยู่ในรัสเซียก่อนเข้าขบวนการ เคจีบี รับคำสั่งสังหารโหดประธานาธิบดีสหรัฐฯและในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ นายเยลต์ซินยังได้ไขความลับที่รัสเซียซ่อนเร้นมานานกับการลอบขายอาวุธให้ขบวนการกู้ชาติ ไอ อาร์ เอ (IRA) ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลอังกฤษ ทั้งยังได้รู้เบื้องลึกก่อนและหลังเหตุการณ์การปฏิวัติครั้งใหญ่ พลิกเก้าอี้อดีตประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาซอฟกับพลพรรคที่ถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง ตัดสายใยความสัมพันธ์ของเพื่อนร่วมชาติขาดสะบั้นสลายประเทศออกเป็นเสี่ยงๆขณะที่ประชาชนชาวรัสเซียต่างหันมาชูนายเยลต์ซินขึ้นครองบัลลังก์เคลมลิน ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม 2534 จนถึงตุลาคม 2536

“สองวันแรกที่ผมเข้าไปนั่งที่ทำเนียบไวท์เฮาส์ ในฐานะนายคนใหม่หลายคนที่เคยอยู่ในระบบการบริหารแบบเดิมๆต่างมีอาการเกร็งหวาดหวั่นไปกับข่าวลือว่าผมจะเข้ามากวาดล้างให้สิ้นซาก พากันหลบหน้าหลบตา ไม่มีใครยอมมาทำงานพวกเขานินทาว่าบอริส ดีแต่ชูกำปั้นประท้วงตามท้องถนนเท่านั้น”

ใครที่เห็นลักษณะท่าทางกำยำ ยิ้มยากของนายเยลต์ซินแล้วไม่มีใครนึกออกหรอกว่าเขาเป็นคนที่มีอารมณ์ขันแฝงไว้ด้วยความอ่อนไหวฉายให้เห็นไว้ในงานเขียนฉบับเปิดใจ...

“ครั้งหนึ่งภรรยาผมเป็นโรคนิวโมเนียป่วยหนักต้องเข้าโรงพยาบาลลูกคนเล็กยังกินนมแม่อยู่ ผมก็ต้องพาขึ้นรถไฟไปสองวันสองคืนเพื่อเอาไปฝากคุณย่าไว้ ระหว่างอยู่บนรถไฟลูกก็ร้องจะกินนมคนบนรถไฟก็ช่วยกันหาน้ำมาให้แต่ก็ไม่หยุดร้อง ผมเอานิ้วให้ดูดก็ไม่หยุดเลยเปิดเสื้อให้ลูกดูดนม คราวนี้ได้ผล”

ในบางตอนของหนังสือ BORIS YELTSIN : THE VIEW FROM KREMLIN นายเยลต์ซิน ตีแผ่ความร้าวฉานในความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับนายกอร์บาชอฟ (GORBACHEV) รวมไปถึงความล้มเหลวของการบริหารเศรษฐกิจและการปฏิรูปการเมืองของนายกอร์บาชอฟ และการที่สำนักงานสืบราชการลับกลาง KGB ลอบบันทึกการสนทนาของทั้งสองผู้นำที่เกี่ยวกับชะตากรรมของประเทศรัสเซีย อีกทั้งการที่นายเยลต์ซิน ตัดสินใจเลือกนาย ALEXANDER RUTSKOI เป็นรองประธานาธิบดีอย่างกะทันหัน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารในปี 1991 ให้ชาวโลกได้รับรู้ความนัยกันแบบสิ้นไส้สิ้นพุง

ไม่ว่านายเยลต์ซินจะขยับไปทางไหนเจ้าหน้าที่ๆเคยอยู่ในระบบโปลิตบุโรก็จะคอยสอดส่อง แต่การที่นายเยลต์ซินเป็นคนค่อนข้างมุทะลุ จึงไม่แคร์ที่จะทำการเปลี่ยนแปลงใดๆแม้กระทั่งการย้ายที่อยู่อาศัยที่ทำงานจาก “เดอะไวท์เฮาส์” ที่เคยใช้กันมาช้านานไปเป็น “เดอะ เครมลิน” ด้วยสาเหตุสำคัญอย่างเดียวคือความปลอดภัยที่แตกต่างกันในทุกรูปแบบด้วยระบบสื่อสารชนิดครบวงจร พร้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่นายเยลต์ซินหามาเอง คราวนี้ล่ะอย่าหวังว่าใครจะดักฟังคำสนทนา ในยุคของเยลต์ซินได้อีก

“ปีแรกนายเยลต์ซินจ้างพลเรือนมารักษาความปลอดภัยแทน RUSSIAN SUPREME SOVIET ต่อมาพวกนี้ก็เริ่มฝึกฝนกลเม็ดเด็ดพรายต่างๆปัญหาอยู่ที่ว่าหน่วยรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลในประเทศนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของสถาบันเดียวคือคณะกรรมการกลางของ Kgb หน่วยเก้าแทบทั้งสิ้น ร้ายไปกว่านั้นที่หน่วยนี้ก็มีนายพล PLEKHANOV คนที่ออกคำสั่งปลดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของนาย GORBACHEV ในคืนก่อนการปฏิวัติเป็นหัวหน้าหน่วย”

เพราะเหตุนี้นายเยลต์ซินจึงต้องใจถึงวางโครงการสมานฉันท์กับเหล่าเสนาบดีชุดเดิมโดยจะยอมไปคุกเข่าขอความเห็นใจบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลายให้หันมาให้ความรักและสนับสนุนตนเองเหมือนนายเก่าๆ

เป็นที่รู้กันว่า นายเยลต์ซินที่นอกจากจะเป็นคู่ปรับทางการเมืองคนสำคัญของนายกอร์บาชอฟแล้ว ยังไม่ชอบขี้หน้ากันเป็นการส่วนตัวถึงขนาดประกาศตัดอนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟไม่ให้ได้ผุดได้เกิดอีกต่อไป ประธานาธิบดีร่างใหญ่บอริส เยลต์ซิน ในช่วงที่จะยึดอำนาจจากนาย

กอร์บาชอฟนั้นได้ร่วมประชุมลับกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงอเมริกันเกือบตลอดคืนเพื่อหาช่องทางลี้ภัย

การเมืองให้กับประธานาธิบดีรัสเซีย ในสถานทูตสหรัฐ กอร์บาชอฟได้ผุดได้เกิดอีกต่อไป

อ่านหนังสือ THE VIEW FROM THE KREMLIN เขียนโดยบอริส เยลต์ซินแปลเป็นภาษาอังกฤษหนากว่า 300 หน้า เผยชีวิตรักโรแมนติกสู่ชาวโลกเป็นครั้งแรกของบอริส

เยลต์ซินชาวเมืองเบอโยซนิกิที่มีต่อภรรยาสุดที่รัก NAINA ที่เขาพบในสถาบันการศึกษาเดียวกันและจากกันด้วยสัญญาใจว่าจะกลับไปพบกันในอีกหนึ่งปี ณ ดินแดน “ตรงกลาง” ที่ไม่ใช่ทั้งบ้านเกิดของเยลต์ซินและไนน่าแต่เมื่อคำสัญญาของฝ่ายหญิงไม่เป็นไปตามนั้น เยลต์ซินจึงออกอุบายร่างจดหมายโดยไม่เซ็นชื่อกำกับว่า เขากำลังป่วยหนักใกล้ตายด้วยโรคหัวใจ

ตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินยืนยันว่า “ความลับ” ทุกอย่างที่นำมาเขียนนั้น มาจากลิ้นชักที่ตีตรา “ลับ” และเป็นเพียงเศษหนึ่งส่วนพันๆหมื่นๆเอกสารลับที่ถูกล็อกลั่นกุญแจมานานนับปีได้ ถูกมอบผ่านเลขาธิการพรรคคนแล้วคนเล่า และทุกครั้งที่นายเก่าจากไปความลับเหล่านั้นก็จะถูกประทับตรา “ลับ ลับมาก หรือลับสุดยอด” และก็ถูกนำไปเก็บเข้าเซฟไว้ให้คนต่อไป นายเยลต์ซินยังบอกว่า หลายคนอาจผิดหวังกับความลับเก่าๆที่เขาเลือกเอามาตีแผ่ แต่ก็ขอให้รู้ไว้เถอะว่ามันเป็นความลับจริงๆ!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us