Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539
จิบไวน์อาณาจักรมังกรสักนิดจะติดใจ             
 





ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไวน์สามารถเดินทางท่องทั่วโลกได้โดยอาศัยร้านขายเหล้าของเขาเอง เพื่อลองลิ้มรสเหล้าองุ่นกลั่นชั้นยอดจากหลากหลายสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น CHARDONNAYS จากแคลิฟอร์เนีย SHIRAZES จากออสเตรเลียที่เมื่อได้ลิ้มแล้วจะเกิดอาการสดชื่นขึ้นมาทันตาเห็น PINOTAGES จากแอฟริกาใต้และ CABERNETS จากชิลีที่ดื่มแล้วสร้างความแช่มชื่นให้กับอารมณ์หรือ TOKAYS จากฮังการีและ CARRASCALS จากสเปนที่

รสชาติไม่ด้อยไปกว่ากัน

และถึงตอนนี้เราขอเชิญชวนคอไวน์ทั้งหลายซึ่งยินดีที่จะเสี่ยงชิมไวน์จากดินแดนที่ท่านไม่คาดคิดมาก่อน นั่นคือมณฑลเหอเป่ย ซานตงและซินเจียงในอาณาจักรหลังม่านไม้ไผ่ตอนนี้จีนกำลังเริ่มทดลองกลั่นเหล้าองุ่นโดยอาศัยความช่วยเหลือจากหุ้นส่วนต่างชาติอย่างเช่น SEAGRAM, HIRAM WALKER และ PERNOD RICARD ผลลัพธ์ที่ได้คือเหล้าองุ่นที่พวกเขาลองกลั่นนั้นสำเร็จได้ผลดีและกำลังเริ่มปรับปรุงในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆและหากแนวโน้มที่ว่ายังคงเป็นไปอยู่อย่างนี้ อนาคตไวน์ในจีนก็คงจะเห็นแสงสุกใสอยู่รำไร โดยตอนนี้ไวน์ CHATEAU LAFITE ของ ROTHCHILD และ GRANGE HERMITAGE ของ PENFOLD ก็ได้แบ่งพื้นที่วางขายร่วมกันโดยได้ไดนัสตี้ ไวเนอรี่หรือเกรต วอลล์โค.เป็นผู้บรรจุขวดให้

“อุตสาหกรรมไวน์ในจีนเพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้นขณะที่ตลาดก็ใหญ่โต เราไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าอุตสาหกรรมไวน์จะก้าวมาได้ถึงขั้นนี้และเร็วขนาดนี้” เหมา ลี่จีตัวแทนธุรกิจของไดนัสตี้กล่าว

อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมไวน์ที่เพิ่งเกิดใหม่ของจีนนั้นก็ยังคงต้องพึ่งพาต่างชาติอยู่ดี ไล่ตั้งแต่เครื่องจักรซึ่งจำเป็นต้องนำเข้าจากฝรั่งเศสหรือจุกไม้ก๊อกที่นำเข้าจากโปรตุเกส ขณะที่ต้นองุ่นซึ่งบางต้นที่ปลูกมาถึง 8 ฤดูก็คัดมาจากสวนองุ่นในฝรั่งเศส แต่สิ่งที่จีนมีก็คือจำนวนประชากรนักดื่มที่มีอยู่มากมาย ตลาดไวน์ในประเทศยังมีโอกาสโตอีกมาก เนื่องเพราะประชากรเริ่มมีรายได้เพิ่มมากขึ้นบวกกับค่าภาษีไวน์นำเข้าที่ต้องเสียสูงถึง 134%

หยู ชุนปิง แม่ค้าร้านของชำในกรุงปักกิ่งเล่าให้ฟังว่าแต่ก่อนพวกลูกค้าจะเคยชินกับการถามหาเบียร์ซิงต่าวหรือไฟว์ สตาร์เบียร์สองยี่ห้อที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่ผลิตในท้องถิ่น แต่ตอนนี้พวกเขาเริ่มเรียกหาไวน์แดง DYNASTY ที่ขายในราคาขวดละ 32 หยวนหรือ 3.86 ดอลลาร์ “พวกเขาคิดว่ามันเป็นของทันสมัย”

ตอนนี้ภัตตาคารในกรุงปักกิ่งและตามเมืองใหญ่ๆก็มีรายชื่อไวน์ยาวเหยียดในเมนูอาหาร ขณะที่ลิ้นของชนชั้นกลางของจีนเองก็เริ่มหันมาลิ้มลองไวน์ที่ผลิตโดยฝีมือของพ่อค้าเหล้า 134 รายในประเทศคาดว่าในปีที่แล้วจีนสามารถขายไวน์ได้คิดเป็นมูลค่าถึง 72 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 15% จากปี 1994 และดูเหมือนว่าไม่มีใครใส่ใจว่าไวน์ที่ผลิตในประเทศนั้นขาดบางสิ่งบางอย่างไป นั่นก็คือลักษณะพิเศษ “ไวน์แดงของเราเป็นไวน์ที่เยี่ยมที่สุดในจีน” บรูโน เมอร์ซิเย่ กรรมการผู้จัดการของ DRAGON SEAL บริษัทร่วมทุนของ PERNOD RICARD กล่าว “แต่เราก็ยังต้องเดินก้าวไปเพื่อแข่งกับไวน์ BORDEAUX ของฝรั่งเศส”

ว่ากันไปแล้ว คนจีนรู้จักการทำไวน์มานานนับศตวรรษโดยใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบในตอนแรกเริ่ม ในปี 1892 ชาวจีนโพ้นทะเลนาม ฉาง ปี้ฉีได้เดินทางกลับจากยุโรปพร้อมกับต้นองุ่น 10 พันธุ์และตั้งโรงกลั่นเหล้าชื่อว่าฉางหยู ไวเนอรี่ในมณฑลซานตงซึ่งยังคงทำการกลั่นไวน์จนถึงทุกวันนี้

ต่อมาในปี 1900 พระสอนศาสนาชาวฝรั่งเศสได้เปิดโรงกลั่นเหล้าในกรุงปักกิ่งเพื่อผลิตไวน์ที่ใช้ถวายพระผู้เป็นเจ้าและต่อมาก็มีการตั้งโรงกลั่นตามมาเป็นแถวอีกหลายแห่งเริ่มต้นในทศวรรษที่ 1930 และ 1940 ทว่าส่วนใหญ่ก็อยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์ภายหลังจีนเปิดประตูให้กับการลงทุนต่างชาติในปลายทศวรรษที่ 1970 บรรดาพ่อค้าเหล้าก็เป็นหนึ่งในพวกแรกๆที่หวนกลับเข้ามา

ในปี 1980 REMY MARTIN ของฝรั่งเศสได้เปิดบริษัทร่วมทุนในเมืองเทียนจินเพื่อผลิตไวน์ยี่ห้อ DYNASTY ที่ได้กลายเป็นยี่ห้อที่ครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน ด้วยยอดขาย 28 ล้านดอลลาร์บวกกับรายได้อีกหลายล้านดอลลาร์จากการส่งออก ตามด้วย PERNOD RICARD ของฝรั่งเศส SEAFRAM ของแคนาดาและ HIRAM WALKER ของเมืองผู้ดี

สำหรับในต่างประเทศแล้ว ไวน์ของจีนยังคงเป็นของแปลกใหม่เนื่องเพราะมีการส่งออกเพียง 5% เท่านั้น ทว่าเบื้องหลังฉลากปิดชื่อยี่ห้อที่ล้วนฟังดูแปลกๆอย่างเช่น SUMMER PALACE DRAGON SEAL และ GREAT WALL ใครจะรู้บ้างว่าไวน์ยี่ห้อไม่คุ้นหูเหล่านี้ก็มีรสชาติไม่แพ้ใครเหมือนกัน พิสูจน์ได้จากงานแข่งขันประกวดเหล้าไวน์รสเยี่ยมที่ชื่อว่า CHALLENGE INTERNATIONAL DU VIN ประจำปี 1995 ซึ่งจัดขึ้นที่เมือง BORDEAUX ในฝรั่งเศส DRAGON SEAL 1993 DAY WHITE ผลงานจากบริษัทร่วมทุนของ PERNOD RICARD คว้ารางวัลที่ 1 มาครองได้อย่างสง่างาม “ผู้คนมักไม่เชื่อว่าจีนก็สามารถผลิตไวน์ชั้นยอดได้” เหมากล่าว

ในปีนี้ คาดว่าไวน์จำนวน 30 ล้านขวดจะถูกเปิดเพื่อดื่มสังสรรค์กันบนโต๊ะอาหารมื้อค่ำของชาวจีน หากจะว่าไปสำหรับอุตสาหกรรมไวน์ที่เพิ่งเริ่มก้าวเตาะแตะก็ถือได้ว่ามันเป็นปาร์ตี้ที่ยิ่งใหญ่ทีเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us