Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539
น้ำพึ่งเรือ-เสือพึ่งป่าในฮอลลีวูด             
 





เมื่อคลาร์ค เกเบิลพระเอกรุ่นเก๋าจาก GONE WITH THE WIND ถอดเชิ้ตเผยให้เห็นแผ่นอกกำยำใน IT HAPPENED ONE NIGHT ในปี 1934 หนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่สมัยนั้นต่างแข่งกันเพาะกล้ามอย่างเอาเป็นเอาตาย ขณะที่สาวๆก็เลิกซื้อเสื้อยืดและหันมาซื้อเชิ้ตให้แฟนแทน มาปี 1980 ริชาร์ด เกียร์ใน THE AMERICAN GIGOLO ก็ทำให้ผู้ชายรู้สึกถึงความสบายในการสวมสูทอาร์มานี่

ประเด็นนี้อาจจะถูกโจมตีว่าเป็นการล้างสมองคนดูแต่มองอีกแง่หนึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านั้นก็ทำให้ภาพยนตร์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ทั้งยังนำมาซึ่งเงินและศักยภาพสู่ผู้สร้างด้วยเพราะบางครั้งเงินที่ได้จากผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่นำมาประกอบฉากก็ช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนที่พุ่งเกินงบได้อย่างไม่น่าเชื่อ

เช่นกรณีเป๊ปซี่โคที่ทุ่มกว่า 5 ล้านดอลลาร์เพื่อให้ซับเวย์ เชนฟาสต์ฟูดในเครือไปปรากฎในฉากหนึ่งใน ACE VENTURA : WHEN NATURE CALLS และนำชื่อของเป๊ปซี่และซับเวย์ไปประทับไว้ในโฆษณาหนังเรื่องนี้ด้วยหรือเมื่อ 3 ปีก่อนที่ฟอร์ด มอเตอร์ยอมขายเอ็กซ์พลอเรอร์ 10 คันให้แก่กองถ่าย JURASSIC PARK ในราคาคันละ 35,000 ดอลลาร์ทั้งที่ราคาจริงนั้นคันละเหยียบ 300,000 ดอลลาร์

เมื่อการนำผลิตภัณฑ์ไปประกอบในฉากหนังหรือที่เรียกกันว่า PRODUCT PLACE MENT เป็นที่ฮือฮาขึ้นมาเพราะบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์เล็งเห็นว่าเป็นช่องทางนำสินค้าพุ่งตรงสู่ความสนใจของลูกค้าทั่วโลกที่ได้ผลที่สุดวิธีหนึ่ง จึงทำให้เกิดข่าวลืออึกทึกครึกโครมว่ามีการวิ่งเต้นต่างๆนานา เพื่อให้สินค้าของตนได้ “เข้าฉาก” ด้วยเป็นต้นว่ามีการส่งอาหารการกินหรือเสื้อผ้าจำนวนมากไปยังสตูดิโอบ้างก็นำสินค้าใหญ่ๆมาขายหั่นราคาสะบั้นหั่นแหลกหรือถึงขั้นแจกฟรีให้ผู้กำกับและดาราเช่นฟอร์ด เอ็กซ์พลอเรอร์ที่ยังใช้การได้หลังการถ่ายทำก็ถูกนำมาขายในราคาขายส่งให้แก่คนในกองถ่าย JURASSIC PARK

ทั้งนี้ บรรดาเอเยนต์จะคอยไล่ตามสคริปท์ที่ทางผู้สร้างจัดส่งมาให้เพื่อหาโปรดักส์มาเสนอ เช่นในสคริปท์หนัง IN THE LINE OF FIRE ของโคลัมเบียร์ พิกเจอร์สในปี 1993 ซึ่งมีอยู่ฉากหนึ่งที่คลินท์ อีสต์วูดพระเอกของเรื่องที่เล่นเป็นองครักษ์คอยพิทักษ์ประธานาธิบดี ต้องนั่งกินไอศกรีมกับนางเอกคือ เรอเน่ รุสโซ่นั้นเอเยนต์ผู้หนึ่งที่ได้รับสคริปท์ได้เสนอให้ใช้เบรเยอร์ไอศกรีมเพราะดูตามบุคลิกของอีสต์วูดแล้วไม่เหมาะที่จะมานั่งละเลียดไอศกรีมแฟชั่นอย่างฮาเก้น ดาซส์หรือเบน แอนด์ เจอร์รี่ ซึ่งในที่สุดดีไซเนอร์ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจด่านสุดท้ายก็เห็นดีตามนั้น ผลก็คือ เบรเยอร์ ไฮศกรีมได้เข้าฉากกับอีสต์วูด ส่วนกองถ่ายก็ได้ไอศกรีมมากินฟรีในงานปาร์ตี้

แต่บางครั้งบางบริษัทก็สูญเปล่า เช่นแมคโดนัลด์ที่ยอมให้กองถ่าย BYE BYE LOVE เข้ามาใช้สาขาแห่งหนึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำนานถึง 15 วันแลกกับการนำอาหารเมนูต่างๆไปโชว์โฉมในฉาก แต่ผลปรากฎว่าหนังเรื่องนี้เจ๊งสนิท รายได้นับแสนๆเหรียญที่แมคโดนัลด์พึงจะได้จากการจำหน่ายอาหารใน 15 วันนั้นจึงมลายหายไปในพริบตาโดยไม่ได้อะไรกลับคืนมาแม้แต่น้อย

และบางครั้งเอเยนต์บางรายก็ต้องทำหน้าที่ที่ตรงข้ามกับงานปกติ นั่นก็คือการดึงโปรดักส์ออกมาจากฉาก เช่นครั้งหนึ่งที่บรรดาผู้ผลิตเหล้าขวนขวายหาวิธีหลบหลีกไม่ให้ผลิตภัณฑ์ของตนไปปรากฎในหนัง DOLORES CLAIBORNE ของวูดดี้ อัลเลน ที่ว่าด้วยชายขี้เมาที่ชอบทำร้ายเมีย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us