Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539
ซอฟต์แวร์อินเดียถึงคราวปรับตัว             
 

 
Charts & Figures

บ.ซอฟต์แวร์ยักษ์ในอินเดีย (ยอดขาย 1995)


   
search resources

Software




ถ้าสหรัฐฯ มีบิลล์ เกตต์เป็นราชาซอฟต์แวร์อินเดียก็มีนเรนทรา กุมาร

ตอนที่เขามีอายุ 25 ปีกุมารยืมเงินพ่อมา 300 ดอลลาร์มาพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ซึ่งอีก 1 ปีถัดมาเขาก็กลับมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ปราบไวรัส ที่ตอนนี้มียอดขายประมาณ 20,000 ชุดในอนาคตบริษัทของกุมารคือ แนชซอฟต์มีแผนจะส่งโปรแกรมของเขาไปขายยังสิงคโปร์และสหรัฐฯ

การที่อินเดียมีแรงงานราคาถูกจำนวนมหาศาลและมีนักเขียนโปรแกรมมือดีอยู่มาก ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อินเดียมีมูลค่าประมาณ 840 ล้านดอลลาร์ต่อปี โดยในจำนวนนี้ 58% มาจากการส่งออกและคาดว่ายอดดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2000

อย่างไรก็ดี กุมารกล่าวว่า อินเดียคงไม่มีทางไปไกลขนาดนั้นเพราะนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของอินเดียมัวแต่คิดเรื่องหาเงินจากแรงงานราคาถูกในการเขียนซอฟต์แวร์เฉพาะด้านตามสั่ง แต่ละเลยเรื่องการออกแบบซอฟต์แวร์ใหม่ๆและการจัดจำหน่ายในตลาดโลก ในขณะที่บริษัทซอฟต์แวร์ใหญ่ๆอย่างโอราเคิลและโนเวลล์กำลังว่าจ้างโปรแกรมเมอร์แดนภารตะมาเขียนและออกแบบซอฟต์แวร์ให้ ทำให้ค่าจ้างค่าตัวโปรแกรมเมอร์เหล่านี้สูงขึ้นอีกเท่าตัว

กุมารกล่าวต่อไปว่า นักพัฒนาซอฟต์แวร์อินเดียนั้นถูกทอดทิ้งในทางสภาพภูมิศาสตร์และไม่สามารถไล่ทันกระแสความก้าวหน้าของซอฟต์แวร์ในสหรัฐฯได้ ซึ่งมีการจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ผ่านอินเตอร์เน็ต ขณะที่ผู้เล่นซอฟต์แวร์ในอินเดียเองก็เพิ่งจะรู้จักเข้าไปเล่นในอินเตอร์เน็ตได้ไม่นาน

นอกจากนี้ปัญหาแรงงานจำนวนมากในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อินเดียก็เป็นอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งต่อบริษัท ตาต้า คอนซัลแทนซี เซอร์วิส บริษัทผลิตซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียเผยว่า บริษัทมีคนงานถึง 4,700 คนและเพิ่งจะมีกำไรประมาณ 112 ล้านดอลลาร์เท่านั้นแต่ทุกครั้งที่มีการสั่งผลิตซอฟต์แวร์ตามคำสั่ง บริษัทก็ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์ใหม่ทุกครั้งทำให้ผลกำไรบริษัทไม่เพิ่มขึ้นตาม

ความจริงสิ่งที่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อินเดียต้องทำคือ การเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อรักษาการโต บริษัทต่างๆในตอนนี้กำลังเริ่มลดปริมาณการผลิตซอฟต์แวร์เฉพาะด้านลงและหันมาเน้นซอฟต์แวร์ที่ขายในตลาดวงกว้างได้มากขึ้น อาทิซอฟต์แวร์การเงิน การจัดการสินค้าคงคลังสำหรับผู้ประกอบการ

นอกจากนี้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อินเดียยังมีปัญหาการตลาด ทำให้ตอนนี้หลายบริษัทเลือกที่จะเปิดสำนักงานในต่างประเทศ รวมถึงในสหรัฐฯเพื่อหาข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลาในขณะที่อีกหลายบริษัทรวมถึงตาต้า คอนซัลแทนซีกำลังเร่งหาคู่ทำธุรกิจกับบริษัทต่างประเทศ แม้ว่าตาต้าฯจะมีสำนักงานผลิตซอฟต์แวร์เฉพาะด้านอยู่ทั่วโลกก็ตาม

“คุณไม่สามารถนั่งอยู่ที่อินเดีย แล้วมีข้อมูลใหม่ๆเสมอเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ที่ผู้คนต้องการ” กรรมการผู้จัดการมาสเท็ก บริษัทซอฟต์แวร์อินเดียที่มีสาขาอยู่ในแคลิฟอร์เนียกล่าว

ทุนเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อินเดียไม่พัฒนาเท่าที่ควร ในตอนนี้มีบริษัทซอฟต์แวร์อินเดียไม่กี่แห่งที่เข้าไปจดทะเบียนในตลาดแต่บริษัทเหล่านี้ก็พยายามปล่อยกู้ให้อุตสาหกรรมพัฒนาสินค้าไฮ-เทคอีกปีละ 20 ล้านดอลลาร์เพื่อให้มีทุนวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆออกมา

แล้วผู้บริโภคทั่วโลกจะกล้าซื้อซอฟต์แวร์ที่มาจากอินเดียรึเปล่า? นั่นคงต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพและแบบของซอฟต์แวร์ที่อินเดียผลิต แต่ตอนนี้อินเดียยังไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์เนมชั้นนำในตลาดโลกด้วยซ้ำและนั่นคือสิ่งที่อินเดียต้องรีบทำ หากว่ายังอยากรักษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของตนต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us