อะไรก็เกิดขึ้นได้ในโลกของเทคโนโลยี แม้แต่การดูทีวี ก็ไม่จำกัดอยู่บนหน้า
จอโทรทัศน์อีกต่อไป ยังหมายถึงการดูได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าฝ่ามือ
หรือ pocket PC ที่เรียกว่าบริการ TV on mobile
บริการ TV on mobile จัดเป็นส่วนหนึ่งของบริการเสริมอีกรูปแบบหนึ่ง ของจีเอสเอ็ม
แอดวานซ์ ที่ให้กับลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ที่มีระบบ GPRS ซึ่งเป็น เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลความเร็วสูง
ที่เอไอเอสเปิดให้บริการมาพักใหญ่ และยังอยู่ ระหว่างการสรรหาบริการ และ
application ใหม่ๆ มาให้บริการ และ TV on mobile ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายของพวกเขา
ที่มาของบริการนี้เป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่าง 3 ธุรกิจภายใต้เครือข่าย
ของกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่นด้วยกันเอง ประกอบไปด้วย เอไอเอส บริษัทไอทีวี และชินนี่
ดอทคอม
"Theme ของบริการ TV on demand อยู่ที่การเป็นบริการในลักษณะ on demand
คือ สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา และทุกที่ทุกเวลา" สุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์
ผู้จัดการฝ่ายบริการเสริม บริษัทแอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด บอก "นี่คือความแตกต่างจากการดูทีวีทั่วไป"
ในขณะที่ทีวีทั่วไป อาจต้องรอจนถึง 6 โมงเย็น หรือทุ่มตรง แต่บริการ TV
on demand ไม่ใช่ ผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูล ได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือเวลา
ใด ข้อแม้อย่างเดียว คือ พวกเขาต้องมี โทรศัพท์มือถือ Pocket PC และที่สำคัญ
คือ สมัครใช้บริการก่อน
หลักสำคัญของการให้บริการนี้ เป็น ลักษณะของการ access ข้อมูลผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
จึงต้องทำงานร่วม กันระหว่างไอทีวี ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ป้อน เนื้อหาที่เป็นข้อมูลข่าวในช่วงแรก
5 หมวด คือ ข่าวในประเทศ ต่างประเทศ กีฬา บันเทิง และข่าวจราจร เนื้อหาข่าวเหล่านี้
จะถูกส่งไปยัง server ของชินนี่ ซึ่งทำ หน้าที่เป็น application service
provider ดูแลเนื้อหาที่ไอทีวี ก่อนที่จะส่งผ่านไปยัง เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
ระบบ GPRS ที่ เอไอเอสเป็นเจ้าของเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถ access
ข้อมูลได้ตลอดเวลา
จุดขายที่ถือเป็นไฮไลต์อีกอย่าง หนึ่งของบริการนี้ อยู่ที่การแสดงผลในรูป
ของภาพเคลื่อนไหว แทนที่จะเป็นแค่เสียง และข้อความ (text) จะอยู่ในรูปของวิดีโอ
เป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Video Streaming ใช้สำหรับ
การส่งข้อมูลภาพ
ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป ผู้ที่ พลาดการชมฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศ จะได้ดูภาพลูกฟุตบอลที่กำลังถูกยิงเข้า
ประตู จากการยิงของโรนัลโด ในศึก ฟุตบอลโลกที่ผ่านมาหมาดๆ ด้วยความ เร็ว
40 กิโลบิตต่อวินาที ได้บน Pocket PC เช่นเดียวกับได้ชมข่าวการอภิปรายงบประมาณของรัฐบาล
"ถ้าต้องการดูโทรทัศน์ ต้องรอจน กว่าจะถึงเวลาฉาย ต้องชมรายการที่ทีวี
ฉาย แต่ลักษณะนี้เป็น on demand เพราะเป็นการ access ข้อมูล เลือกเฉพาะที่สนใจ
ข่าวกีฬา ก็ไปเลือกดูข่าวกีฬา ข่าว ที่ไอทีวีนำเสนอ เป็นทั้ง text และเป็นวิดีโอ
เป็นภาพเหมือนทีวี แต่เล็กลงหน่อย"
แม้ว่าวิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ ที่กำลังเดินหน้าต่อไปทั้งความเร็วของ
เครือข่าย และซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่จะใช้ พัฒนา application และบริการรูปแบบ
ใหม่ออกสู่ตลาด และการตอบรับของผู้ใช้ ในช่วง 2 สัปดาห์ ที่มีผู้ใช้ราวพันคน
เป็น การส่งสัญญาณที่ดีได้ในระดับหนึ่ง
แต่ด้วยต้นทุนของผู้ใช้ต้องมีทั้ง โทรศัพท์มือถือ ที่มีระบบ GPRS และต้อง
มี pocket pc กลุ่มผู้ใช้จึงค่อนข้างจำกัด อยู่ในกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ
ยังต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ เพื่อรอให้ราคา ลดลง และให้เวลากับการเรียนรู้ที่จะลง
ไปถึงลูกค้าในวงกว้าง
นอกจากนี้ เนื้อหาของข่าวจะเป็น ข้อมูลย้อนหลังไม่เกิน 7 วัน จึงอาจไม่จูงใจ
เท่าที่ควร ยกเว้นจะมีการนำเสนอข่าวใน บริการ TV on mobile ก่อนที่จะแพร่ภาพ
บนโทรทัศน์ ซึ่งเป็นแผนระยะต่อไป
เป้าหมายของการผลักดันบริการ TV on mobile จึงเป็นเรื่องของการที่ต้อง
การสะท้อนให้เห็นถึงพลังของการ synergy ระหว่างบริการโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจบรอด
คาสติ้ง และอินเทอร์เน็ต ซึ่งนับว่าเป็นความ โดดเด่นอย่างหนึ่งที่กลุ่มชินคอร์ปพยายาม
ทำออกมาก่อนคู่แข่ง
นอกจากนี้ การทำบริการในครั้งนี้ ยังต้องการสะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่ชินคอร์ป
ทำมาตลอด 4 ปี นั้น เป็นการเดินมาถูก ทาง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อกิจการโทรทัศน์
ไอทีวี และการรุกเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ต แม้ว่าจะต้องใช้เวลาลองผิดลองถูก
และแก้ไขปัญหาอยู่พักใหญ่ก็ตาม
ในแง่ของเอไอเอส นอกจากจะเป็น การสร้างความชัดเจนในเรื่องภาพลักษณ์ ของ
brand จีเอสเอ็ม แอดวานซ์ ที่มุ่งเน้น ในเรื่องความทันสมัยของการใช้เทคโนโลยี
แตกต่างไปจากจีเอสเอ็ม 1800 ที่เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป
ส่วนไอทีวี นอกจากจะเป็นหนึ่งใน content ในเรื่องข้อมูลข่าวสารให้กับบริการ
เสริมของเอไอเอสแล้ว ไอทีวีจะได้ภาพของ การเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ได้ชื่อว่า
รู้จักใช้ ประโยชน์จากไอที มาเป็นเครื่องมือในการ ทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำ
news server หรือการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต และบน โทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งที่สถานีโทรทัศน์
ช่องอื่นยังไม่มี
ในขณะที่ชินนี่ จะได้ภาพของการ เป็น application service provider เรียกว่ารองรับการบริการโทรศัพท์มือถือ
ให้กับเอไอเอส ในการพัฒนาบริการ และapplication ใหม่ๆ แทนที่จะเป็น Portal
web ที่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องธุรกิจ และรายได้
งานนี้ เรียกว่า เป็น win win win คือ ได้ประโยชน์ทั้ง 3 ฝ่าย
โดยเฉพาะเอไอเอส การเปิดบริการ TV on mobile ในครั้งนี้ ยังใช้เป็นตัวอย่าง
ของการสร้าง business model ใหม่ในโลก ของบริการเนื้อหาบนโทรศัพท์มือถือ
ที่จะต้องมีผู้พัฒนา application และผู้ป้อน เนื้อหา (content) บนโทรศัพท์มือถือเข้า
ร่วม ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีเพียงอย่าง เดียว เพราะหากมีเทคโนโลยีแต่ไม่มีเนื้อหา
หรือ application ให้ผู้ใช้ ต่อให้เครือข่าย มีความเร็วมากเท่าไรก็ไม่มีความหมาย
และนั่นก็คือ ที่มาของการสร้าง business model ในการแบ่งรายได้ให้กับ ผู้พัฒนา
application และผู้ป้อนเนื้อหา เป็นแรงจูงใจในการสร้างบริการใหม่ๆ
จะเห็นได้ว่า บริการนี้ TV on mobile จะมีการเก็บค่าใช้บริการ 2 ส่วน ชัดเจน
คือ ส่วนของ content จะคิดใน อัตรา 200 บาทต่อเดือน
ส่วนที่สอง เป็นค่าบริการใช้เครือ ข่าย GPRS ในการดาวน์โหลดข้อมูลจะเก็บ
ตามจำนวนข้อมูล มีให้เลือก 5 แพ็กเกจ ลดหลั่นกันไปตามปริมาณการใช้ข้อมูล
ยิ่งใช้มากอัตราเฉลี่ยจะถูกลง
แพ็กเกจแรก 10 สตางค์ ต่อ 1 เมกะไบต์ ไม่ได้กำหนดปริมาณในการดู
แพ็กเกจที่สอง 1 เมกะไบต์ ราคา 50 บาทต่อเดือน เฉลี่ย 5 สตางค์ต่อ 1 กิโลไบต์
แพ็กเกจที่ 3 สำหรับคนใช้มากขึ้น 10 เมกะไบต์ 250 บาทต่อเดือน เฉลี่ย 2.5
สตางค์ต่อกิโลไบต์
แพ็กเกจที่ 4 ซื้อ 20 เมกะไบต์จ่าย 350 บาทต่อเดือน เฉลี่ย 1.75 สตางค์ต่อ
กิโลไบต์
แพ็กเกจที่ 5 ซื้อ 100 เมกะไบต์ จ่าย 1,500 บาทต่อเดือน เฉลี่ย 1.5 สตางค์
ต่อกิโลไบต์
หากซื้อแพ็กเกจที่ 3 หากข่าวใช้ ข้อมูลประมาณ 200 ต่อ 1 ข่าว จะเสีย ค่าใช้จ่ายประมาณ
5 บาทต่อการดู 1 ข่าว
ทั้งนี้ รายได้ในส่วนของ content จะแบ่งกันระหว่างไอทีวี และชินนี่ ส่วน
รายได้จากค่าใช้บริการจะเป็นของเอไอเอส
ส่วนรายได้ที่ได้รับจะมากน้อย เพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับการตอบรับของผู้ใช้
หรือจะหวังเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการ synergy ระหว่างธุรกิจ ก็ต้องเห็นผลตอบ
รับที่ดี