|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เผยตลาดปูนซิเมนต์ภาคเหนือป่วน หลังผู้ประกอบการแห่ออก ปูนซิเมนต์ไฟติ้งแบรนด์ หั่นราคาแย่งส่วนแบ่งตลาด แจงตลาดเล่นสงครามราคาในภาวะต้นทุนรวมเพิ่มกว่า 15% ขณะที่รัฐบาลประกาศตรึงราคาปูนซิเมนต์ ส่งผลกำไรหด ด้านปูนกลางเตรียมย้ายตลาดบุกภาคอีสาน เหตุสู้ต้นทุนไม่ไหว หันจับตลาดใหม่หวังรักษาแชร์ตลาดไว้ที่ 28% การออกปูนซิเมนต์ผสมไฟติ้งแบรนด์ อาทิ ปูนแรด ปูนเสือ ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ปูนใหญ่ หรือ SCC และ ปูนมอร์ต้าร์ M 198 ,M 199, ของบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ในช่วงที่ผ่านมาทำให้ตลาดปูนซิเมนต์ผสมในพื้นที่ภาคเหนือ มีการแข่งขันเพื่อแย่งตลาดกันสูงขึ้น ในขณะที่บริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ปูนกลาง หรือ SCCC ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปูนซิเมนต์ ที่มีแชร์เป็นอันดับ 2 ของตลาด ซึ่งเดิมไม่มีการผลิตปูนผสมไฟติ้งแบรนด์ออกมาขาย ทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดในตลาดปูนไป ทำให้ในช่วงต้นปีปูนกลางต้องมีการผลิตปูนซิเมนต์ไฟติ้งแบรนด์ "อินทรีปูนเขียว" เพื่อแย่งแชร์ในตลาดคืน
นางจันทนา สุขุมานนท์ รองประธานอาวุโส สายการตลาด บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากกลุ่มปูนกลางได้ออกปูนซีเมนต์ผสมตัวใหม่สำหรับงานก่อ ฉาบ และเท ภายใต้แบรนด์ "อินทรีปูนเขียว" ซึ่งเป็นไฟติ้งแบรนด์ เพื่อสู้กับปูนซีเมนต์ผสมทีพีไอ M 199 และปูนตราแรดของเครือซิเมนต์ไทย ที่ผลิตออกมาขายในราคาต่ำกว่าปกติ
เนื่องจากปูนกลางไม่มีปูนไฟติ้งแบรนด์ราคาต่ำ ทำให้ขยายตลาดไม่ได้ และสูญเสียโอกาสมาตลอด ทั้งนี้ในช่วงแรกบริษัทคาดการว่าคู่แข่งจะจำหน่ายสินค้าประเภทนี้ไม่นาน แต่ที่ผ่านมาคู่แข่งแย่งตลาดไปมากเกินคาด ทำให้บริษัทต้องเร่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่มาทำตลาดสู้ โดยเจาะพื้นที่ในภูมิภาคเป็นหลัก เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ไม่มีปูนอินทรีแดง ซึ่งเป็นปูนซีเมนต์ผสมวางขาย เพราะสู้ราคาไม่ได้ สำหรับตลาดปูนราคาถูกมีความต้องการสูงขึ้น จากเดือนละ 80,000 ตัน เป็นเดือนละ 3 แสนตัน ซึ่งบริษัทตั้งเป้าจะขายเท่ากับปูนอินทรีทอง คือปีละ 3 แสนตัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปูนกลางจะพยายามปรับหนี ด้วยการออกปูนซีเมนต์ผสมพิเศษ "อินทรีทอง" สำหรับงานฉาบเป็นรายแรกช่วง 1ปีเศษที่ผ่านมา แต่ยอดขายก็ยังอยู่ในระดับเดียวกับปูนมอร์ต้าร์ M 198 ของทีพีไอ และปูนเสือ พลัส ที่มียอดขายเดือนละ 30,000-40,000 ตัน แต่ล่าสุด กลุ่มปูนทีพีไอได้ออกปูนซีเมนต์ผสม M 197 ที่มีราคาต่ำกว่าปูน M 199 ที่ขายปลีกในราคาถุงละ 85-100 บาท (ถุงละ 50 ก.ก.) ออกมาชนกับ "อินทรีปูนเขียว" ส่งผลให้ยอดขายพื้นที่ภาคเหนือในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ต่ำลง
นางจันทนา กล่าวว่า จากการออกปูนไฟติ้งแบรนด์ M197 ของปูนทีพีไอ ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดพื้นที่ภาคเหนือ เป็นการแข่งขันด้านราคามากขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิตปูนซิเมนต์ และการขนส่งมีราคาเพิ่มสูงขึ้น โดยต้นในการผลิตปูนซิเมนต์แบ่งเป็น3 ส่วน คือน้ำมัน ,ไฟฟ้า และวัตถุดิบ ซึ่งหลังจากที่มีการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ทำให้ต้นทุนที่เกิดจากน้ำมันเพิ่มขึ้น 20% ส่วนต้นทุนด้านไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 8 % และต้นทุนจากวัตถุดิบปัจจุบันยังอยู่ในระดับไม่เกิน 10 %
ดังนั้น การปรับราคาน้ำมันขึ้น จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย ประมาณการโดยร่วมแล้วต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 15 % แต่ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับราคาปูนซิเมนต์ขึ้นได้ เนื่องจากรัฐบาลประกาศปูนซิเมนต์เป็นสินค้าควบคุม ทำให้กำไรจากการขายของผู้ประกอบการช่วงไตรมาส 1-2 ของปีนี้ลดลงไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ โดยในส่วนของปูนกลางพยายามที่จะลดต้นทุนการผลิตและการบริหารงานลง และหันไปใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาระดับอัตราการเติบโตของกำไร รวมถึงการรักษาส่วนแบ่งตลาดให้ได้ตามเป้าที่ 27-28% ซึ่งปัจจุบันปูนใหญ่มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 39% ปูนกลางส่วนแบ่งตลาดประมาณ 27% ส่วนปูนทีพีไอ มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 18 % ส่วนที่เหลือเป็นรายย่อยในตลาด
นอกจากการพยายยามลดต้นทุนดังกล่าวแล้ว ปูนกลางยังมีแผนที่จะขยายเพิ่มในตลาดภาคอีสานด้วย เพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นในตลาดได้ เนื่องจากปูนการขนส่งในตลาดภาคอีสานใช้ต้นทุนน้อยกว่าในภาคเหนือ เพราะโรงงานผลิตของปูนกลางอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ระยะทางการขนส่งไปภาคอีสานใกล้กว่าภาคเหนือ ซึ่งในส่วนของตลาดภาคเหนือนั้น นอกจากต้องขายสินค้าในราคาต่ำแล้ว ยังประสบปัญหาทางด้านต้นทุนจากขนส่งที่มากกว่าคู่แข่ง อย่างปูนใหญ่ซึ่งมีโรงงานผลิตตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง ทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำกว่าปูนกลางด้วย ทำให้การแข่งขันในพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างเสียเปรียบคู่แข่ง
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าบริษัทจะสามารถรักษาระดับการเติบโตไว้ตามเป้าที่วางไว้ได้ จากยอดขายปูนคอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งจะมีการใช้จำนวนมากในปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลมีการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่ งานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคหลายโครงการ นอกจากนี้การขยายตัวของโครงการจัดสรรก็ยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาทำให้ตลาดปูนขยายตัวอยู่
|
|
|
|
|