Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ 5 กรกฎาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ5 กรกฎาคม 2548
New University             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

Education




โครงสร้างการศึกษาไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมาก มิใช่เฉพาะระดับพื้นฐานที่สัมพันธ์กับการเกิดและเติบโตของโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งผมเชื่อว่าโรงเรียนนานาชาติในบ้านเราจำนวนหนึ่งได้พัฒนามีมาตรฐานแล้ว จากนี้ไปจะไปสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างเป็นกระบวนการมากขึ้น

แม้ว่าก่อนหน้านี้มีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้เปิด หลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ ที่มีความหลากหลายอยู่พอสมควร ตั้งแต่เป็นมหาวิทยาลัยของไทยที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด สาขามหาวิทยาลัยของต่างประเทศ (ซึ่งไม่ค่อยมีชื่อเสียง) ไปจนถึงมหาวิทยาลัยไทยที่เปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษแยกต่างหากจากหลักสูตรปกติแล้ว สุดท้ายเป็น โครงการร่วมมือของมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม เป็นพัฒนาการที่ค่อยเป็นค่อยไปในช่วง นับสิบปีที่ผ่านมา และยังจัดอยู่ในวงค่อนข้างแคบ

แต่จากนี้การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด

แนวโน้มที่สำคัญก็คือ มหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มี ชื่อเสียง และที่คนไทยนิยมไปเรียน จะมาตั้งแคมปัสขึ้นในประเทศไทย หากจะให้คาดการณ์ น่าจะมาจากออสเตรเลีย อังกฤษ และสหรัฐฯ มากตามลำดับ เป็นการเริ่มยุคใหม่ที่สถาบันการศึกษาต่างประเทศได้ตัดสินใจขยายธุรกิจการศึกษา ของเขาไปในระดับโลก เป็นแกนของการพัฒนาการศึกษาในยุคใหม่

ทั้งนี้ FTA ที่รัฐบาลทำแล้ว หรือกำลังจะทำกับหลายประเทศ ที่มีสถาบันการศึกษาที่คนไทยนิยมนั้น เป็นแรงขับที่สำคัญ ในไม่นานจากนี้ประเทศไทยจะเป็นฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยระดับโลกหลายแห่ง ที่หวังตลาดไทยและภูมิภาคนี้

ปรากฏการณ์นี้แสดงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เป็นจริงและความคิดหลายเรื่องทีเดียว

ความหลากหลาย มีความหมายกว้างขวางมากขึ้น มิใช่เพียงกลุ่มรายได้ ชนชั้นสูง กลาง ต่ำ อาชีพ ชุมชนเมือง หัวเมือง และชนบท หากรวมถึงระดับปฏิสัมพันธ์กับสังคมโลกของกลุ่มคน ว่าไปแล้วสังคมไทยมีพื้นที่และพลเมืองขนาดที่พอเหมาะ ที่มีความหลากหลายมากในหลายมิติ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และโอกาสที่มากที่สุดประเทศหนึ่ง

ความหลากหลายเช่นนี้ต้องการระบบการศึกษาที่หลากหลายเช่นเดียวกัน

แต่การศึกษาไทยมาจากโครงสร้างความคิดเชิงเดี่ยว ในช่วงที่ผ่านมาการศึกษาเป็นสินค้าที่พยายามตอบสนองความเสมอภาคในเชิงรูปแบบที่เป็นไปไม่ได้ ในที่สุดไม่สามารถตอบสนองความหลากหลายของสังคม แรงขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยน แปลงระบบการศึกษาจึงมีมาตลอด

ในช่วง 10 ปีมานี้การศึกษาไทยปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างเงียบๆ อย่างมาก แม้จะเป็นช่วงการปรับเปลี่ยนที่ลองผิดลองถูก บางครั้งมุ่งการตลาดมากเกินไป แต่เหนือสิ่งอื่นใด แสดงการปรับเปลี่ยนเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ชุมชนระดับโลก การศึกษาไทยพัฒนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนระดับโลกอย่างเชื่องช้า ตามไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ การค้า สังคมไทยเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เข้าถึงง่ายที่สุดของสินค้าระดับโลก (คำว่าสินค้าของผม มีความหมาย กว้างมาก ตั้งแต่โทรศัพท์ แฟชั่นจนถึงไลฟ์สไตล์ ค่านิยม ฯลฯ) ไม่ว่าสินค้านั้นจะดีหรือไม่ เหมาะหรือไม่ สังคมไทยมีกระบวน การตอบสนองสินค้าระดับโลกเชิงบวกอย่างง่ายดาย

ความสมดุลที่ควรเป็นก็คือ ระบบการศึกษาของไทยจะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วกับสังคมระดับโลก เพื่อการศึกษาอย่าง จำแนก สร้างระบบการศึกษาซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ เมื่อ ระบบการศึกษาล้าหลังเช่นนั้น พัฒนาการสังคมไทยจึงกลายเป็น สังคมที่ไร้บุคลิกสังคมหนึ่งของโลกไปอย่างช่วยไม่ได้

จากนี้การศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวเองเข้ากับสังคมโลก แม้จะต้องใช้เวลาพอสมควรทีเดียวในการสร้างความสมดุล แต่ก็เชื่อว่าการศึกษาที่ว่าด้วยการศึกษาซึ่งกันและกันระหว่างผู้ให้บริการการศึกษาในบ้านเรากับผู้ให้บริการการศึกษาระดับโลก จำต้องมีมากขึ้น

แน่ละ ในกระบวนการศึกษาซึ่งกันและกัน ซึ่งจะตามมาด้วยการแข่งขัน การร่วมมือนั้น ย่อมมีผู้ชนะ ผู้ด้อย และผู้ที่พ่ายแพ้อยู่เสมอ

สถาบันการศึกษาของไทยระดับอุดมศึกษาที่เป็นฐานความรู้ของสังคมไทย ตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกำลังเผชิญบททดสอบอันเข้มข้นไม่นานจากนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us