|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ 5 กรกฎาคม 2548
|
|
ข้าวหุงสุกใหม่ๆ ที่ส่งกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณลานกว้างนั้น เป็นข้าวหลากหลายพันธุ์ ซึ่งเป็นผลผลิตจากโครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัยของบริษัทบางกอกแอร์เวย์ส
สายจัดวันหนึ่งท่ามกลางเปลวแดดของท้องทุ่งนาในจังหวัดสุโขทัย วัลลีย์ ปราสาททอง โอสถ ภรรยาของหมอปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของบริษัทการบินกรุงเทพ หรือบางกอก แอร์เวย์ส เดินลิ่วนำ "ผู้จัดการ" ไปยังแปลงนาโดยปฏิเสธทั้งงอบและหมวกที่คนงานนำมาให้
เธอเป็นผู้หญิงร่างเล็กที่กระฉับกระเฉง การได้ออกมาดูงานของโครงการปลูกข้าวที่นี่ เป็นความสุขที่ทำให้ต้องเดินทางมาบ่อยๆ
จากสนามบินสุโขทัย สองข้างทางถนนที่ออกไปยังตัวเมืองมีต้นพญาสัตบรรณจำนวน 600 ต้น ยืนตรงเรียงราย ถัดจากไหล่ถนนคือท้องทุ่งนาที่เขียวขจี ในพื้นที่ 200 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดที่หมอปราเสริฐซื้อรวบรวมเก็บไว้สมัยสร้างสนามบินใหม่ๆ ประมาณ 2 พันไร่
จุดเริ่มต้นความสนใจปลูกข้าวเริ่มจากตัววัลลีย์ ผู้มีความสนใจการเรียนรู้เรื่องพลังจักรวาล ต้องการทดลองดูว่าพลังพวกนี้ใช้กับการปลูกข้าวได้หรือเปล่า โดยตอนแรกเริ่มจากการทำแปลงเล็กๆ ประมาณ 2 ไร่ ใช้ระยะเวลาทดลองอยู่ 3 ปีกว่า
"ตอนนั้นนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพิษณุโลก มาร่วมวางแผนทดลองพันธุ์ข้าวให้โดยวิธีใช้พลังจิต มีเจ้าหน้าที่มาเก็บข้อมูลตั้งแต่เริ่มปลูก วัดความสูงของต้นข้าว วัดปริมาณรวงข้าวที่ออกมา วัดผลผลิตที่ได้แล้วเขาก็วิเคราะห์ออกมา สรุปแล้วบอกว่า การใช้พลังจิตได้ผล และสามารถทำให้ต้นข้าวโตได้โดยไม่ใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง คือเราก็คิดว่าหากทำอย่างนี้ได้ ชาวนาก็จะทุ่นต้นทุนการผลิตไปได้เยอะมาก"
เริ่มแรกโครงการนี้เกิดขึ้นเพราะความเชื่อเรื่องพลังจักรวาล ต่อมาทีมงานก็ได้พัฒนาการปลูกข้าว โดยไม่ใช้ปุ๋ย ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่ใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยจากการหมักหอยเชอรี่ หรือการทำยาฆ่าแมลง ด้วยสารจากสะเดาที่หมักด้วยความร้อนที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์แทน
กลายเป็นแปลงข้าวปลอดสารพิษ ที่กำลังทดลองพันธุ์ข้าวใหม่ๆ หลายพันธุ์ โดยมีสมเดช อิ่มมาก นักวิชาการการเกษตรและปรับปรุงพันธุ์ข้าวของกรมวิชาการการเกษตร มาเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ
จากการอธิบายของสมเดช จึงได้รู้ว่าการแข่งขันกันเอาชนะระหว่างมนุษย์กับโรคพืช และแมลง ทำให้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ออกมามากมายนับหมื่นสายพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิต สูงและมีภูมิต้านทานโรคพืชได้ดี
เดิมจะปลูกข้าวหอมมะลิ หอมชัยนาท หอมสุพรรณ ตอนหลังมาพัฒนาเป็นข้าวหอมแดง กับข้าวหอมกุหลาบแดง ปัจจุบันมีผลผลิต หลักๆ คือข้าวหอมมะลิชัยนาท ประมาณ 60 ตันต่อปีต่อครั้ง ข้าวหอมแดง 10 ตัน ข้าวหอมมะลิ 12 ตัน ข้าวหอมนิลเพิ่งปลูก และเร็วๆ นี้จะมีข้าวพันธุ์ลูกผสมที่สมเดชเรียกว่า ข้าวแฟนซี และอยู่ในระหว่างกำลังวัดผลผลิตว่า จะเอาพันธุ์ไหนออกมา ซึ่งจะมีทั้งสีดำ สีแดง และ สีทอง และกำลังคัดพันธุ์ใหม่มาทดลอง ประมาณ 140 สายพันธุ์ และ อยู่ในระหว่างเปรียบเทียบผลผลิตอีกประมาณ 8 สายพันธุ์
ที่นี่สามารถทำนาได้ตลอดทั้งปี เพราะในสนามบินมีบ่อน้ำที่เกิดจากการขุดดินเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้หลายจุด และเมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเปลือก ที่ได้ถูกนำมาสีด้วยเครื่องสีข้าวกล้องที่มีคุณสมบัติในการกะเทาะเปลือกออกมาแต่ไม่ได้ขัดสารอาหารออกมาเหมือนเครื่อง สีข้าวขาว
นอกจากปลูกเพื่อให้คนงานรับประทานกันเองแล้ว ข้าวหอมพันธุ์ต่างๆ ที่เสิร์ฟบนเครื่องบินบางกอกแอร์เวย์ส ในโรงแรมที่สมุย และข้าวบนโต๊ะอาหารที่บ้านของหมอปราเสริฐและวัลลีย์คือผลผลิตจาก ที่นี่ ในขณะเดียวกันเมื่อกระแสการรักษาสุขภาพมีมากขึ้น ก็มีกลุ่มคนที่ต้องการซื้อไปรับประทานเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยสามารถสั่งซื้อโดยตรงที่สนามบินสุโขทัย
"ตอนหลังคุณหมอก็สนับสนุนต้องการให้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น แล้วลองดูว่าจะเลี้ยงตัวเองได้ไหม จาก 60 ไร่ เลยขยายเพิ่มเป็น 200 ไร่ ตอนนี้มีคนถามหามากขึ้นเลยคิดว่าหากเราขยายจริงจังก็สามารถทำเป็นการค้าได้" วัลลีย์เล่าต่อว่าปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ขาดแรงงาน เพราะ หากจ้างคนมาทำนาก็ไม่มีใครมา ชาวบ้านต้องการทำงานอย่างอื่นในสนามบินมากกว่า
"เมื่อก่อนเราก็เคยใช้วิธีแบ่งแปลงให้ชาวบ้านไปปลูก ผลผลิตเรารับซื้อ แต่ชาวบ้านจะคุ้นเคยกับการทำนาที่ใช้ปุ๋ย ใช้ยาฆ่าแมลงมาก กว่าเขาก็จะยืนยันทำแบบเดิม เราไม่ต้องการให้ทำอย่างนั้น เลยเลิกไป"
แม้ว่าตอนนี้รายได้จากการปลูกข้าวได้เพียงแค่เลี้ยงตัวเอง ไม่ได้มีเม็ดเงินกำไร แต่สิ่งที่วัลลีย์คาดหวัง ก็คือมันน่าจะเป็นโครงการนำร่องที่พิสูจน์ให้ชาวบ้านเห็นว่าเกษตรอินทรีย์สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องเอาเงินไปเสียค่าปุ๋ย ยาฉีดแมลง เป็นผลผลิตปลอดสารพิษที่สามารถทำราคาขายที่ดีได้ด้วย
"ราคาข้าวกล้อง ชาวบ้านขายได้กิโลกรัมละ 20 บาท ของเราขายกิโลละ 50 บาท และ แนวโน้มคนสนใจมากขึ้นด้วย" สมเดชให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยยังไม่ได้หวังไกลไปถึงการทำตลาด ต่างประเทศ เพราะจะต้องมีขั้นตอนอีกมากมาย
การทำนาข้าวที่สนามบินสุโขทัย กลายเป็นจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ รวมทั้งสถาบันวิชาการต่างให้ความสนใจ ที่ว่างส่วนหนึ่งของแปลงสาธิตจึงจัดไว้เป็นศาลาที่พักรับรองแขก และโชว์ข้าวพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งเครื่องสีข้าว และอุปกรณ์ต่างๆ ในสมัยโบราณ เช่น ครกตำข้าว กระด้งฝัดข้าว ที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน
ส่วนในท้องนา "นังดาว" ควายตัวเมียที่โครงการนำมาเลี้ยง กำลังโชว์การไถนาให้แขก ที่มาเยี่ยมได้ชมด้วย
|
|
|
|
|