Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ 5 กรกฎาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ5 กรกฎาคม 2548
SET Webboard มองตลาดหุ้นไทยผ่านสายตามือเก่า             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

Stock Exchange




เว็บบอร์ดใน thaivi.com ซึ่งคอลัมน์นี้นำมาแนะนำบ่อยๆ เป็นเว็บบอร์ดที่เน้นพูดคุยเรื่องหลักการลงทุน หลักการดูหุ้น มากกว่าข่าวในแต่ละวัน มีสมาชิกที่เก่าแก่ได้รับความเชื่อถือหลายคน เช่น ผู้ที่ใช้ชื่อว่า 'คัดท้าย' ฯลฯ ล่าสุดมีกระทู้ที่สอบถามวิธีคนเหล่านี้ซื้อหุ้นอยู่หลายกระทู้ กระทู้ที่ผู้อ่านผู้ตอบสูงสุด และเราคัดเลือกมาคือ 'วิธีที่คัดท้ายซื้อหุ้น' thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=10887

หลายเว็บบอร์ดหุ้นในไทยต่างก็มีแนวทางมุมมองของสมาชิกไปในทางเดียวกัน เช่น ข้อความใน greenbull.net จะออกไปแนวเก็งกำไรระยะสั้น ส่วน thaivi.com จะออกแนวลงทุนระยะยาว แต่ความเห็นของ 'คัดท้าย' ในกระทู้นี้แสดงความเห็นมุมมองที่มีต่อตลาดหุ้นไทยในลักษณะที่ผสมผสานยากจะระบุว่าออกไปในทางไหน แต่ทั้งหมดถูกประมวลจากประสบการณ์ที่อยู่กับหุ้นไทยมานานกว่าสิบปี

'คัดท้าย' ได้ประมวลความคิดมาเป็นหลัก 6 ประเภท คือ ความเชื่อส่วนตัว, การวิเคราะห์เชิงพื้นฐาน, การวิเคราะห์เชิงเทคนิค, กลยุทธ์และจิตวิทยาการเข้าซื้อ, การดูแลรักษาปรับพอร์ตและขาย, การบริหารความเสี่ยง มีใจความดังนี้

ความเชื่อส่วนตัว

1. เงินมาจากกระเป๋าคนอื่น กฎทุกกฎจะ Relate กับกฎทองข้อแรกนี้ คนทั่วไปอาจจะบอกว่าเงินมาจากนักลงทุนคนอื่นๆ ที่เสียให้เรา แต่จริงๆ รวมไปถึงคนซื้อของที่จ่ายเงินให้ธุรกิจที่เราเป็นเจ้าของด้วย

2. คนส่วนใหญ่ที่เล่นหุ้น จะเสียเงินมากกว่าได้เงินถ้าเมื่อใด คนส่วนใหญ่คิดอะไรเหมือนกันหมด เห็นดีเห็นงามเหมือนกันหมด คิดว่าหุ้นจะขึ้นเหมือนกันหมด... คิดว่าหุ้นจะลงเหมือนกันหมด... มันใกล้จะเป็นจุดหักเหแล้ว... โดยเฉพาะมุมมองในแง่ดี

3. กราฟเชิงเทคนิค ก็ตำราเดียวกัน อะไรที่คนรู้มากๆ แล้วไม่ปลอดภัย ถ้าเรารู้ คนอื่นรู้ เจ้ามือก็รู้ สัญญาณก็จะกลายเป็นกับดัก จะเห็นได้ว่าข้อนี้เกี่ยวกับกฎทองข้อที่สอง

4. ข่าวดี ข่าวร้าย ส่วนใหญ่ในตลาดใช้สร้างโมเมนตัมของทิศทางราคา ไม่ใช่ทำให้เกิดการไล่ราคา โดยเฉพาะหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง

5. ไม่มีใครรู้จริงเรื่องราคาหุ้น แม้แต่เจ้ามือก็เจ๊งบ่อย การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ

6. หาหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันแบบยั่งยืนในตลาดหุ้นไทยเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร ยิ่งถ้าหาโอกาสซื้อในราคาที่มีส่วนลด ยิ่งยาก

7. ธุรกิจในเมืองไทย ไม่สามารถขยายตัวได้เท่ากับ ธุรกิจในอเมริกา ทำให้ตลาดไทยมี Cycle ที่สั้นกว่าตลาดอเมริกามาก และไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกัน เทียบกันง่ายๆ ส่วนใหญ่หุ้น IPO ที่เข้ามาในเมืองไทย มักขยายตัวไปเต็มพื้นที่ในประเทศ หรือใกล้ตันแล้ว ไม่ได้มีพื้นที่ที่จะขยายตัวได้อย่างเหลือเฟือ... แต่ถ้าเป็นธุรกิจในอเมริกา ธุรกิจหนึ่งอาจขายดีในระดับรัฐ แล้วก็เข้าตลาดหุ้น สามารถขยายได้อีก 50 รัฐ... แล้วเมื่อไปทั่วอเมริกา เขาก็สามารถขยายไปทั่วโลกได้ มีความสามารถในการแข่งขัน... หุ้นเมืองไทยไม่ใช่แบบนั้น การจะเอามาเปรียบเทียบกัน ต้องทำด้วยความระมัดระวัง

8. การถือหุ้นของกิจการดี แต่ไม่เติบโตหรือเติบโตน้อย ในราคาที่ไม่มีส่วนลดที่เพียงพอ ไม่ใช่การลดความเสี่ยง เพราะวันใดวันหนึ่งความเสี่ยงก็ย่อมเกิดขึ้นได้

9. การถือหุ้นที่กิจการไม่ดี ในราคาที่ไม่มีส่วนลดที่มากเพียงพอ เป็นการกระทำที่ 'โคตรเสี่ยง'

10. การถือหุ้นที่กิจการกำลังเติบโต ในราคาที่มีส่วนลด เป็นการลดความเสี่ยง

11. กลยุทธ์และแผนงาน เหนือกว่าความสามารถส่วนบุคคล

12. ไม่เคยเชื่อเรื่องธรรมาภิบาล ทุกคนทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร แต่ให้ใส่ใจกับเจ้าของที่มีโอกาสทำเลวเกินพิกัด เมืองไทยไม่ใช่ประเทศธรรมาภิบาล ดูจากสังคมและการเมืองได้ และตลาดหุ้นก็น่าจะซึมซับพฤติกรรมมาไม่มากก็น้อย ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ เป็นคนไทยต้องดูแลตัวเอง

13. แม้ว่าเราควรจะคิดให้เหมือนเป็นเจ้าของบริษัท แต่เจ้าของบริษัทไม่ได้คิดว่าเราเป็นเจ้าของ... ดังนั้นข้อมูลที่เราได้ ก็ไม่ใช่ข้อมูลที่เจ้าของได้

14. แม้แนวคิด value investor จะบอกว่าให้คิดเหมือนเราซื้อทั้งบริษัท แต่ความเป็นจริงคือ เราไม่มีเงินมากขนาดนั้น และสิทธิที่เราได้ก็จะมีเท่าเงินของเรา หลังจากเราซื้อ เราก็เอาเงินของเราไปให้คนอื่นดูแล หากคุณให้เงินเพื่อนยืมไปทำบริษัท คุณอาจจะบอกว่าเสี่ยงมาก แต่จริงๆ แล้ว เพื่อนยืมเงินคุณยังอาจขอไปดูโรงงาน ขอเปิดบัญชีดู มอมเหล้าให้คายความลับ และเพื่อนก็ยังอาจจะเกรงใจคุณอยู่บ้าง แต่เจ้าของบริษัทมหาชนคงไม่สนใจคนที่ถือหุ้น 30,000 หุ้นเท่าไร เขาอาจจะหันมายิ้มแล้วตอบคำถามต่างๆ แต่ก็ไม่รู้จะเชื่อคำตอบได้แค่ไหน

15. ดังนั้นข้อมูลที่เราได้ ก็จะมาจากข้อมูลวงนอกที่เราพอจะหาได้ ได้แก่ งบเก่าๆ, กราฟ, ส่วนแบ่งตลาด, ตัวเลขและแนวโน้มกลุ่มธุรกิจ ฯลฯ แต่จากประสบการณ์ทำให้เชื่อขึ้นทุกทีว่า จริงๆ เราเป็นกูไม่รู้ (Gu (not) ru) คือเราไม่ได้รู้อย่างที่เราคิดว่าเรารู้ อย่าลืมคิดเรื่องการบริหารความเสี่ยงไว้เสมอ เวลาซื้อหุ้น ควรบอกตัวเองว่า ถ้าเกิดเรื่องที่ไม่คาดฝัน เราจะทำอย่างไร

16. หุ้นเมืองไทยยากนักที่ราคา (เน้นว่าราคา ไม่ใช่มูลค่า) จะสวนกระแสพิษเศรษฐกิจได้ ถ้าไม่ชอบเห็นหุ้นตัวเองราคาหายไปครึ่งหนึ่ง ควรจะคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจด้วยหุ้นอะไรก็ตามยากจะต้านภาวะแย่ๆ ได้ ถ้าซื้อหุ้น 10 บาทแล้วลงไป 3 บาท ไม่รู้สึกอะไรก็ไม่ต้องสนใจเรื่องนี้ ด้วยความเชื่อทั้งหมดนี้ จึงควรหาหุ้นที่มี Downside Risk ต่ำ มี Upside Gain สูง และมีสภาพธุรกิจอยู่ในขาขึ้น (Uptrend) ถือไปเรื่อยๆ จนกว่ารู้สึกว่าไม่ปลอดภัย

การวิเคราะห์พื้นฐานเชิงคุณภาพ

นักการเงิน คนเรียนบัญชี และพนักงานสินเชื่อ มีความสามารถในด้านการเงินมากกว่าเราหลายเท่านัก และคนกลุ่มนี้ก็เล่นหุ้นกันเพียบ ถ้าเพียงแค่การวิเคราะห์งบจะบอกอะไรได้หมด คนกลุ่มนี้ก็รวยกันไปหมดแล้ว แต่ความจริงคือไม่ใช่ แปลว่าต้องมีอะไรมากกว่านี้

หุ้นจะมีสภาพ Uptrend อย่างโดดเด่นได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นฐานอย่างอื่นที่ไม่ใช่งบ เช่น วงรอบธุรกิจ (ปิโตรฯ เรือ) การขยายงาน การเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุน เช่น กองทุนอสังหาฯ ฯลฯ การวิเคราะห์งบใช้เพียงเพื่อบอกว่าธุรกิจมีสุขภาพที่ดีหรืออ่อนแอ แพงไปหรือถูกในปัจจุบัน แค่นั้น อีกเรื่องที่ดูคือ ดูความแข็งแกร่งว่าหากโดนคู่แข่งเจาะเข้ามา จะมีความสามารถในการป้องกันแค่ไหน ผูกขาดไหม ข้อมูลนี้ใช้ดูว่าจะกล้าถือได้นานแค่ไหน ถือแค่เก็งการเติบโต 6 เดือน หรือถือลงทุน 3 ปี เป็นต้น

การวิเคราะห์เชิงเทคนิค

ใช้เพื่อหาราคาที่จะเข้าซื้อ หุ้นที่จะใช้วิธีการนี้ ควรมีสภาพคล่อง ข้อมูลทางเทคนิคไม่ควรใช้กับหุ้นขาดสภาพคล่องทั้งวันซื้อขายไม่กี่ไม้ ควรเป็นหุ้นที่มีผู้ดูแลที่นิสัยไม่แย่เกินไป โดยดูจากกราฟ ที่ผ่านๆ มา หุ้นที่มีคนดูแลนิสัยเข้ากับเราจะเล่นได้สบายใจ ส่วนใหญ่เทคนิคจะใช้หาจุดที่เข้าซื้อหุ้น การหาจุดต่ำสุดนั้นยากมาก จึงต้องใช้...

กลยุทธ์และจิตวิทยาการเข้าซื้อ

เทคนิคกับพื้นฐาน สามารถใช้คู่กันได้ในการหาจุดเข้าซื้อ โดยหาแนวรับในเชิงเทคนิคไว้ก่อน แล้ว Map แต่ละจุดดูว่า ค่าที่จุดรับต่างๆ นั้น ให้ค่าพื้นฐาน เช่น P/E P/BV อยู่ที่เท่าไร ราคาประเมินนั้นถูกหรือแพง แล้วดูว่าแนวรับแต่ละแนวเป็นไปได้มากหรือน้อย แล้วก็ทยอยรับตามจุดต่างๆ ลงมากรับมาก ลงน้อยรับน้อย แต่มักพบว่าในสถานการณ์ปกติทั่วไปหุ้นดี มักจะลงไม่ถึงจุดที่ทุกคนคิดว่าถูกมากและปลอดภัยจนต้องซื้อ

การดูและรักษาปรับพอร์ต และขาย

1. จดจำเหตุผลที่คุณซื้อหุ้นใดๆ ไว้เสมอ และจำไว้ใช้เวลาขาย เช่น ถ้าคุณซื้อหุ้นเพราะกราฟ แล้วติดดอย คุณห้ามปลอบใจตัวเองว่าไม่เป็นไร หุ้นพื้นฐานดี อะไรแบบนี้ เพราะเวลาซื้อคุณไม่ได้คิดถึงพื้นฐาน

2. ขายเมื่อเหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามที่คุณคิด โดยเฉพาะทางพื้นฐาน แยกความรู้กับความหวังออกจากกันให้ชัดเจน ต้องไม่หลอกตัวเอง

3. ขายเมื่อหุ้นได้ถึงเป้าหมายที่คาดเอาไว้ อย่าโลภเกิน เราหวัง เรารู้แค่ไหน ก็หวังแค่นั้น หรือไม่ถ้าเกินเป้าหมายแล้ว อยากถือต่อ ก็ควรบริหารความเสี่ยงโดยขายออกไปบ้าง

เมื่อเป็น Gu Not Ru แล้ว ถ้าผิดคาดต้องออกไปก่อนรู้ถูกไม่เท่าทำถูก เราต้องสร้างวินัยทำให้ได้ตามกฎที่เราตั้งขึ้นมา

การบริหารความเสี่ยง ซุนวูกล่าวไว้ว่า

"ขุนศึกที่ชนะ ออกรบเพื่อไปเอาชัยชนะ

ขุนศึกที่พ่ายแพ้ ออกรบเพื่อหวังชัยชนะ"

เล่นหุ้นไม่ต้องเล่นบ่อยๆ ต้องมั่นใจพอสมควร ไม่จำเป็นต้องลงทุนถ้าเราไม่มั่นใจ รอดีกว่าถ้าราคายังไม่ถูกใจ พื้นฐานยังไม่ถูกใจ สภาวะยังน่าเป็นห่วง บางคนบอกว่าเซียนหุ้นต้องลงทุนได้ทุกสภาวะ แต่ควรถือเสมอว่าเราไม่ได้เป็นเซียนหุ้น เห็นโอกาสแล้วค่อยลงทุน ไม่เสี่ยง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us