ใครจะรู้บ้างว่า ภาพยนตร์การ์ตูนที่ออกฉายทั่วโลกอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน
ที่เกิดขึ้นจากที่นี่
...ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ บนชั้น 4 อาคารเมอร์คิวรี่ ริมถนนเพลินจิต สำนักงานอันเป็น
ที่ตั้งของ Imagimax ดูจะไม่ได้ว่างเว้นผู้คน พนักงานเกือบ 60 คน คร่ำเคร่งอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
ที่โหลดโปรแกรมซอฟต์แวร์กราฟิกดีไซน์เวอร์ชั่นล่าสุด ให้ทันกับงาน ที่ถูกว่าจ้างไว้
อีกด้านหนึ่งของสำนักงาน คนอีกจำนวนหนึ่งก็กำลัง เรียนรู้การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก
แต่ต่างกันตรงที่ว่า พวกเขาเหล่านี้เป็นนักเรียนที่มาหาความรู้ ในหลักสูตรวิชา
กราฟิกดีไซน์ เป็นธุรกิจอีกด้านหนึ่งของ Imagimax
และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทที่ได้ชื่อว่า เป็นเจ้าของ สตูดิโอกราฟิกดีไซน์
และออกแบบภาพแอนิเมชั่น 3 มิติ ที่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ของเมืองไทยที่กำลังพัฒนาตัวเอง
อย่างต่อเนื่อง
ศักดิ์ศิริ และศิริศักดิ์ คชพัชรินทร์ สองพี่น้องฝาแฝด วัย 35 ปี และเพื่อนร่วมกันก่อตั้งบริษัท
Imagimax ขึ้น จากความชอบส่วนตัวของเขาทั้งสอง นั่นคือ การชอบดู ภาพยนตร์ที่พวกเขาชอบเป็นชีวิตจิตใจ
"ผมดูหนังปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 70 เรื่อง ไม่นับวิดีโอ และซีดี" ศิริศักดิ์
ซึ่งรับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน อดีตวาณิชธนากรที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงการเงินมา
แต่ผัน ตัวเองมาสู่ธุรกิจแอนิเมชั่น จากความชอบส่วนตัวและอาศัย ความรู้ด้านการเงิน
ช่วยให้ธุรกิจเดินไปอย่างระมัดระวัง
เช่นเดียวกับศักดิ์ศิริแฝดผู้น้อง รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ที่เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจนี้จากความชอบ
และความใฝ่ฝันอยากเป็นผู้กำกับ ภาพยนตร์ ตั้งแต่วัยเด็ก
การมีพื้นเพอยู่ในครอบครัวที่ทำธุรกิจหลากหลาย ผลิตเครื่อง หนัง ปุ๋ยส่งต่างประเทศ
ชื่อ ไซ่หลี ย่านพระประแดง ช่วงหลังทำธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ทำให้ศักดิ์ศิริมีโอกาสทำตามที่ใฝ่ฝันไม่ง่ายนัก
"ผมต้องแอบเก็บเงินทุกบาททุกสตางค์เก็บไว้ถ่ายหนังตอนปิดเทอม เพราะพ่อไม่อยากให้ทำงานด้านนี้
อยากให้ทำธุรกิจที่บ้าน พอมาเรียน ก็อยากเรียนสายภาพยนตร์ เมืองไทยก็ไม่มี
ที่ใกล้ที่สุด ก็คือ คณะสถาปัตยกรรม"
หลังเรียนจบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากสถาบันพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ศักดิ์ศิริบินไปเรียนต่อปริญญาโท Master Degree of Fine Arts : MFA Interior
Architecture ช่วงแสวงหา ความรู้ใหม่นี้เอง ก็ทำให้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกของเขาเปิด
กว้างมากขึ้น
"คอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องในทุกธุรกิจ ทั้งงานกราฟิกดีไซน์ งานตกแต่ง
หรือแม้แต่แพทย์ แต่เรากลับไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์เลย แม้แต่สิงคโปร์ ฮ่องกง
ไต้หวัน มาเลเซีย เขารู้จักสร้างเครื่องมือแล้ว แต่เรายังไม่มีโปรแกรมดอส
แมคอินทอช"
หลังบินกลับเมืองไทย ศักดิ์ศิริกลับมาเป็นสถาปนิกควบคู่ไปกับ งานฟรีแลนซ์
รับจ้างออกแบบกราฟิกดีไซน์ และงานออกแบบแอนิเมชั่น ซึ่งเขาพบว่าได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลิตภาพยนตร์ในต่าง
ประเทศ
"ช่วงนั้น เริ่มมี interactive multimedia มีระบบดิจิตอล โปรแกรมคอมพิวเตอร์
มาช่วยตัดต่อหนัง มันเป็นการปฏิวัติการสร้าง หนังอย่างสิ้นเชิง และผมเห็นข้อดีของแอนิเมชั่น
มันสามารถ break- down ทุกอย่างได้ การ์ตูนที่สร้างขึ้นมันสามารถเป็นกลางได้
ไม่มีใครรู้ว่า เป็นของใคร เป็นประโยชน์สำหรับเมืองไทย ที่แม้ไม่เคยอยู่ในธุรกิจนี้
แต่ก็มีโอกาสสร้างชื่อได้" ศักดิ์ศิริบอก
แต่แอนิเมชั่นยังใหม่มากสำหรับเมืองไทย ที่ยังไม่คุ้นเคยกับ งาน บวกกับการเป็นแค่บริษัทเล็กๆ
การบุกเบิกธุรกิจในช่วงเริ่มต้น ของพวกเขา จึงดำเนินไปอย่างลำบาก
"เวลาไปคุยกับบริษัทใหญ่ๆ เขาบอกงานดีหมด แต่ก็ไม่มีใครจ้าง กว่าจะได้เงินแต่ละบาทยากมาก"
ศิริศักดิ์ ที่ในช่วงเริ่มต้นยังไม่ได้เข้ามา ช่วยงานเต็มตัว เข้ามาช่วยดูแลด้านการเงินให้กับบริษัทเต็มตัวในช่วง
2-3 ปีหลังจากที่บริษัทเริ่มขยายตัว
หลังจากหาประสบการณ์อยู่พักใหญ่ ก็เริ่มมีลูกค้ารายใหญ่ๆ เข้ามา เช่นการออก
แบบบัตรให้กับเอเชี่ยนเกมส์ ออกแบบ หนังสือ หีบห่อสินค้า ออกแบบแสตมป์ คู่มือหนังสือ
Imagimax ก็เริ่มขยับขยาย เข้าสู่งานออกแบบภาพแอนิเมชั่น 3 มิติ
แม้จะได้งานออกแบบแอนิเมชั่น 3 มิติให้กับธุรกิจโฆษณาสินค้า เช่น โลโก
ไตเติ้ลรายการ ตลาดก็ยังจำกัด และเป้า หมายของพวกเขาไมได้อยู่แค่นั้น แต่ต้อง
การเป็นสตูดิโอรับผลิตภาพยนตร์การ์ตูน เรื่องยาวให้กับผู้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน
ซึ่งตลาดส่วนใหญ่จะเป็นผู้สร้างที่อยู่ใน สหรัฐอเมริกา และยุโรป
แต่โอกาสของผู้มาใหม่ก็ไม่ง่ายนัก เพราะเมืองไทยยังใหม่มาก ทางออก ของพวกเขา
จึงต้องสร้างผลงานไปแสดง ด้วยการลงทุนสร้างภาพยนตร์การ์ตูนสั้น เรื่อง science
man เพื่อใช้เป็น Pilot project และเช่าบูธออกแสดงโชว์ใน เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์
ในการเปิด ออกสู่ตลาดภายนอก
ความพยายามของพวกเขาก็เริ่ม เป็นผล เมื่อได้รับการติดต่อให้ผลิตภาพ ป้อนให้กับสตูดิโอที่ผลิตการ์ตูน
ที่อยู่ใน สหรัฐฯ เยอรมนี ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การเรียนรู้ระบบการทำงานกับต่างประเทศ
"เขาจะให้ภาพสเกตช์ เป็น story board เพื่อเป็นแนวทางให้เรามาสร้าง เป็นภาพการ์ตูน
การผลิตทั้งหมดจะทำที่ เมืองไทย ถือว่าเป็นด่านแรกที่ทำให้ต่าง ประเทศเชื่อมั่นว่าสตูดิโอในเมืองไทย
ทำ หนังระดับเดียวกันได้" ศักดิ์ศิริเล่า
จะว่าไปแล้ว โอกาสที่เปิดกว้าง ของพวกเขา ส่วนหนึ่งมาจากการมุ่งไปที่ การผลิตภาพแอนิเมชั่น
3 มิติ ซึ่งสอดคล้อง กับความต้องการของผู้ผลิตภาพยนตร์ การ์ตูน ทั้งในอเมริกา
ยุโรป แคนาดา ใน ขณะที่สตูดิโอผู้ผลิตในไต้หวัน เกาหลี ซึ่ง เป็นผู้รับจ้างผลิตดั้งเดิม
ยังคงเน้นการผลิต ภาพแบบ 2 มิติ ยังไม่ขยายมาในตลาด 3 มิติมากนัก
ผลงานออกแบบภาพยนตร์การ์ตูน 3 มิติ ให้กับผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกา เรื่อง
ล่าสุด คือ เรื่อง Stardust ที่สร้างเสร็จแล้ว กำลังรอออกฉาย
จุดเปลี่ยนที่สำคัญของ Imagimax อีกส่วนหนึ่ง คือ การย้ายสำนักงานที่ใช้
พื้นที่เล็กๆ ซอยต้นสน มาอยู่ที่อาคาร เมอร์คิวรี่ นอกจากจะเป็นการกระโดดเข้า
สู่การเป็นสตูดิโอรับออกแบบภาพกราฟิก และแอนิเมชั่น อย่างเป็นเรื่องเป็นราวแล้ว
ในอีกด้านหนึ่ง พวกเขาก็เปิดโรงเรียนสอน คอมพิวเตอร์กราฟิก ในชื่อ Bangkok
Computer Art Center (BTAC)
การเปิดโรงเรียนสอนกราฟิกในครั้ง นั้น นอกจากจะเป็นการผลิตคนป้อนให้กับ
Imagimax เพื่อรองรับกับการขยายตัวใน ระยะยาว และเป็นรายได้ต่อเนื่อง ยังทำให้
ชื่อของ Imagimax เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในหมู่ของผู้ออกแบบกราฟิกดีไซน์
"เราย้ายมาที่นี่ เราก็ลงทุนกันเต็ม รูปแบบ ลงทุนทำโรงเรียน ซื้อเครื่อง
ซื้อ ซอฟต์แวร์ถูกต้อง ไปจดทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการ จ้างคนที่จบ Economy
of Art จากซานฟรานซิสโกมาสอน จน กระทั่งออกมาเป็นรูปเป็นร่าง" ศิริศักดิ์เล่า
"ถามว่าจะได้นักเรียนเท่าไร ไม่รู้ แต่ถ้า ทำแล้ว เราต้องทำให้ถึงที่สุด"
บ่อยครั้งที่ศักดิ์ศิริ และศิริศักดิ์ สองพี่น้องฝาแฝด ต้องต้อนรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์
หรือเกม ทั้งรายเล็กและใหญ่จากต่าง ประเทศ ที่ต้องการแสวงหาแหล่งผลิตภาพ
แอนิเมชั่นใหม่ๆ รวมทั้งบรรดาสถาบันการ เงิน ที่เป็น venture capital บนสำนักงาน
แห่งนี้ หรือแม้แต่เจ้าของธุรกิจเอ็นเตอร์ เทนเมนต์มาแล้ว ตลอดในช่วง 2-3
ปีมานี้
ยิ่งมาในยุคบูมของธุรกิจดอทคอม ที่ผ่านการล่มสลายมาแล้ว ก็ทำให้ธุรกิจ
ผลิตภาพแอนิเมชั่น 3 มิติ อย่าง Imagimax มีค่ามีราคาในสายตาของนักลงทุน
จากเงินทุนที่ต้องระดมจากเพื่อนฝูง เพื่อลงขันกันไม่กี่ล้านบาท และต้องใช้จ่าย
มากขึ้น จนเพิ่มเป็น 50 ล้าน เพื่อใช้ สำหรับการขยายงาน เมื่อปีที่แล้ว พวกเขา
ก็ได้เงินทุนจากภายนอก คือ บริษัทหลัก ทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ เป็น ven-
ture capital อัดฉีดเงินทุนให้อีก 50 ล้าน บาท ที่มองเห็นโอกาสของธุรกิจเอ็นเตอร์
เทนเมนต์แนวใหม่
ปัจจุบัน โรงเรียนสอนกราฟิกดีไซน์ รองรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ส่งมาเข้าคอร์สพิเศษ
ในช่วงกลางวัน แต่เป็นลักษณะของการร่วมมือที่ไม่หวัง ผลทางธุรกิจ และรับนักเรียนภาคค่ำในช่วง
กลางคืน ที่ถือเป็นรายได้เลี้ยงธุรกิจ
ธุรกิจภาพแอนิเมชั่น 3 มิติ ที่เริ่ม ขยายจากงานรับจ้างผลิตโฆษณา ไปสู่การ
ผลิตภาพยนตร์ และผลงานล่าสุดของเขา ก็คือการสร้างภาพ "ลูกกรอก" ในภาพยนตร์
เรื่องขุนแผน และภาพ 3 มิติให้กับ ภาพยนตร์เรื่อง ดงพญาไฟ และภาพยนตร์ อีกหลายเรื่องที่ตามมา
"ที่ผ่านมา ผู้กำกับหรือโปรดิวเซอร์ ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากภาพ 3 มิติมากนัก
แต่หลังจากนี้ ไม่ต่ำกว่า 50% จะต้องใช้ ภาพ 3 มิติเข้าช่วย" ความหวังของศักดิ์ศิริ
ช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน กรกฎาคม 2545 จะเป็นช่วงเวลาที่พวก เขาต้อนรับเจ้าหน้าที่ของบริษัทโพลิกอน
เมจิก ผู้ผลิตเกม 3D ที่จะบินมาเมืองไทย เพื่อเฟ้นหาพนักงาน 6 คนของ Imagimax
เพื่อไปอบรมการผลิตเกมที่ประเทศญี่ปุ่น อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการว่าจ้าง
ผลิตคอมพิวเตอร์เกม ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ ระบบงานใหม่
ขณะเดียวกัน พนักงานอีกจำนวน หนึ่งจะถูกคัดเลือกเพื่อการผลิตภาพยนตร์ การ์ตูน
3 มิติ จำนวน 26 ตอน ป้อนให้กับ บริษัท VSL ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้เครือข่าย
ของโพลิกอน
บริษัทโพลิกอน เมจิก เป็นผู้ผลิต เกมรายใหญ่ของญี่ปุ่น ที่มีลูกค้าสำคัญๆ
อย่าง ดิสนีย์ โซนี่เพลย์สเตชั่น หรือแม้แต่ xbox ของไมโครซอฟท์ และมีบริษัทลูกใน
เครือที่ผลิตภาพยนตร์การ์ตูน 3 มิติ รวม อยู่ด้วย เดิมทีฐานการผลิตภาพแอนิเมชั่น
จะอยู่ที่เกาหลี ด้วยการขยายงาน ค่าแรง ที่ถูกกว่า และฝีมือที่ดีขึ้น
เนื่องจากเงื่อนไขที่สำคัญของธุรกิจนี้ อยู่ที่ต้องอาศัยการลงทุนเครื่องไม้เครื่องมือ
ต่อเนื่อง เพื่ออัพเกรดซอฟต์แวร์ ซื้อเครื่อง คอมพิวเตอร์ใหม่ต่อเนื่องทุกปี
แต่ดูเหมือน ว่า ศักดิ์ศิริยังคงกังวลใจอยู่มากกับการที่ จะต้องใช้เงินสำหรับการลงทุนเพิ่มเติม
"เขาบอกว่า จะต้องจ้างพนักงาน อีก 100 คนในปีหน้า และอีก 300-400 คน ในปีถัดๆ
ไป" ศักดิ์ศิริบอก "คำถามของเรา คือ ถ้างานหมดแล้ว พนักงานจะทำอย่างไร ต่อไป"
หากข้อตกลงความร่วมมือลงเอย ได้ด้วยดี นั่นหมายความว่า สตูดิโอผลิต ภาพแอนิเมชั่นเล็กๆ
ของไทยแห่งนี้ จะมี หุ้นส่วนที่เป็นบริษัทผู้ผลิตการ์ตูน และเกม รายใหญ่จากญี่ปุ่น
เท่ากับว่าพวกเขาจะมีงานผลิตภาพยนตร์การ์ตูนต่อเนื่อง และเป็นการเปิดตลาดเกมที่ถือเป็นเอ็นเตอร์เทน
เมนต์ในอีกรูปแบบหนึ่ง
ความหวังของศักดิ์ศิริคือ การผลิต ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องราว ทั้งครีเอทีฟ
ผู้ออกแบบ สร้าง และผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ และปรากฏสู่สายตาผู้ชมโทรทัศน์ในไทย
แม้ไม่ได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ อย่างคิดฝันไว้ แต่เทคโนโลยีของการออก แบบภาพแอนิเมชั่น
3 มิติ ซึ่งถูกนำมาใช้ ในการผลิตภาพยนตร์มากขึ้นเรื่อยๆ กลิ่น อายความฝันของพวกเขาเริ่มเป็นความจริง
เพียงแต่เปลี่ยนจากดาราที่เป็นคน มาเป็น การ์ตูนที่โลดแล่นอยู่บนจอภาพยนตร์