Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ 5 กรกฎาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ5 กรกฎาคม 2548
ครูพันธุ์ใหม่             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย

   
search resources

โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
Education




การศึกษาแนวใหม่ซึ่งเป็นโรงเรียนในฝันของคนหลายคนจะไม่สามารถนำเด็กไปสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อการสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ได้เลย หาก 'ครู' ยังมีวิธีคิดและใช้วิธีการสอนแบบเก่า

กระบวนการคัดสรรบุคลากร จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อธิบายกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"ที่นี่เราเรียกครูว่า facilitator ซึ่งไม่ใช่ครูในความหมายเดิม ที่จะต้องสอน แต่ของเราคือผู้ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับเด็ก และที่สำคัญครูต้องเป็นคนรักเด็ก เพราะเด็กที่นี่ถูกกระตุ้นให้ถาม ให้ตั้งข้อสงสัย จะรำคาญไม่ได้ สติ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ดังนั้น เมื่อเรารับเขาเข้ามา อย่างแรกเลย ต้องส่งไปอบรมฝึกสมาธิ ฝึกสติ และระหว่างปี หากพบว่าคนไหนเครียดเกินไปก็จะให้พักไปฝึกสมาธิให้จิตสงบสบาย เพราะเราถือว่าหากครูจิตใจขุ่นมัวแล้วจะทำให้เป้าหมายของโรงเรียนบิดเบี้ยวไป"

คนที่เข้ามาเป็นครู จบสาขาวิชาใดมาก็ได้ แต่ต้องจบปริญญาตรีมาเป็นอย่างน้อย ในเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.7 มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ได้ดี

"ไม่ได้จบครู ก็ไม่เป็นไร ไม่จำเป็นครับ เราก็ไปเอาหลักสูตรของกระทรวงศึกษามา ซึ่งมี 100 กว่ารายการ เรามาย่อยให้เหลือเพียงไม่กี่รายการ แล้วนำมาปรับปรุงให้เหมาะกับโรงเรียนเรา บางอย่างเราก็ไม่เอา เหลือพวกแกนๆ เท่านั้น ที่เหลือเราก็บูรณาการเข้าไปอย่างจริยธรรรม ศีลธรรม เราไม่มีในชั่วโมงเรียนและผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้สอนไม่ได้ แต่เราต้องมีวิธีการปลูกฝังได้" พารณอธิบายต่อ

ครูโครงงานของเด็กบ้านล่าง เป็นหนุ่มสาววัยประมาณ 26-28 ปี มีทั้งหมด 6 คนคือ 'ครูแวะ' สุภาพรรณ จิระอานนท์ จบปริญญาโทด้านจิตวิทยาคลินิก ทำงานเป็นนักจิตวิทยาก่อนมาร่วมงานที่นี่ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

อารียา ศิโรดม 'ครูกุ๊บกิ๊บ' จบจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มงานที่นี่เมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา 'ครูกิ๊บ' ธันยา พิทธยาพิทักษ์ จบปริญญาโทด้านวรรณกรรมเด็กจากประเทศออสเตรเลีย เริ่มสอนที่นี่ประมาณ 1 ปีเช่นกัน "ครูแจ็ค' ธันยวิช วิเชียรพันธ์ จบปริญญาโทจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เริ่มงานที่นี่มาประมาณ 4 ปี 'ครูหนุ่ม' เสนีย์ บุญพารานนท์ จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สอนมาประมาณ 2 ปี และสุดท้าย ครู 'เหลิม' เฉลิมพล สุลักษณาการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และกำลังต่อปริญญาโทด้าน MIT จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพิ่งมาสอนที่นี่ในปีนี้

ด้วยวัยและบุคลิกของครู ที่เป็นเสมือนเพื่อน เหมือนพี่ อาจทำให้วินัยของบ้านเด็กเล็กไม่ค่อยดีนัก แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเขาไม่ 'กลัว' หรือ 'เกรง' คำถามก็เลยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

คำว่า 'สอน' ที่ถูกบอกมาว่าให้ลืมไปเลย เพราะกลัวว่าเด็กจะหยุดขบวนการทางความคิด อาจยังใช้ไม่ได้เต็มที่นักสำหรับเด็กบ้านล่างที่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่คล่อง ไม่เชี่ยวชาญเรื่องใช้เครื่องมือ และยังขาดความมั่นใจ ดังนั้นการสอนก็ไม่น่าผิด เพียงแต่ต้องเป็น การสอนในเวลาที่เขาอยากรู้ และไม่ใช่เป็นการสอนที่ให้จบตรงนั้น แต่ต้องเป็นการกระตุ้นให้เขาคิดต่อด้วย

แต่การปฏิบัติจริง ทำได้แค่ไหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับสไตล์การสอนของครู และระบบการบริหารจัดการของทางโรงเรียนเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us