|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ 5 กรกฎาคม 2548
|
|
บ้าน 'น้องดา' เด็กหญิงศุภธิดา เจียมสวัสดิ์ นักเรียนชั้นบ้านล่างของโรงเรียนดรุณสิกขาลัยอยู่ย่านบางแค เธอเดินทางถึงโรงเรียน ซึ่งเป็นอาคารเรียนอยู่ในบริเวณเดียวกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถนนประชาอุทิศ ในเวลา 7.00 น.
8.00 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ และนั่งสมาธิก่อนเข้าห้องเรียนประมาณ 15 นาที เพื่อตั้งสติและรวบรวมสมาธิ
8.30 น. น้องดากับเพื่อนในกลุ่มอีก 3 คนคือ ป๊อปโป้อายุ 10 ขวบ น้องเฟิร์นอายุ 9 ขวบ และน้องอายอายุ 9 ขวบ ต้องเริ่มโปรเจ็กต์ในเรื่องพยาธิ โดยมีครูแวะและครูแจ็คเป็นครูที่ปรึกษา เป็นการเรียนโครงงานวันที่ 4 ของเทอมการศึกษาแรก ปี 2548
น้องดาเรียนที่นี่เป็นปีที่ 2 เธอจบชั้นอนุบาล 3 จากโรงเรียนตรีมิตร ในขณะที่เพื่อนในกลุ่มของเธอมาเรียนที่นี่เป็นปีแรก ป๊อปโป้มาจากชั้น ป.4 โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา น้องอายมาจากชั้น ป.3 โรงเรียนสารสาสน์วิทยาศึกษา ส่วนน้องเฟิร์นมาจากชั้น ป.3 โรงเรียนสารสาสน์วิทยาศึกษา เช่นเดียวกัน
"ก่อนปิดเทอมครูแวะให้การบ้านว่า โปรเจ็กต์หน้าที่เราจะเรียนเรื่องพยาธินั้น ให้ไปแพลนมาว่าวันไหนเราจะเรียนเรื่องอะไรกันบ้าง แล้วหนูก็ต้องไปเตรียมหาข้อมูลมา พอเริ่มเปิดโปรเจ็กต์หนูต้องเรียนเรื่องพยาธิว่ามีกี่ชนิด ส่วนวันนี้เราแพลนไว้ว่าจะเรียนรู้เรื่อง microscope"
น้องดาหันมาตอบคำถาม หลังจากขะมักเขม้นส่องกล้องจุลทรรศน์ดูพยาธิแบบต่างๆ ดูแล้วก็ต้องวาดภาพ จดบันทึกลักษณะที่เห็นในกระดาษ การพูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กทุกคนที่นี่
วันนี้เด็กๆ ทั้ง 4 คน เรียนรู้วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ รู้จักในเรื่องของการใช้กำลังขยาย โดยมีครู 2 คนช่วยชี้แนะ เพราะสัปดาห์ต่อไปต้องไปเรียนรู้นอกสถานที่ที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งที่นั่นมีการเตรียมแล็บไว้ให้ หากใช้เครื่องมือเป็นแล้ว การใช้ห้องแล็บจะได้ประโยชน์เต็มที่ขึ้น
การไปเรียนรู้เพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์จริง คือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบนี้
10.45 น. น้องดาวิ่งลงมาข้างล่าง เธอบอกเสียงใสว่าชั่วโมงต่อไปเป็นช่วงสรุปความรู้จากที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์ เป็น mind map เด็กๆ ทั้ง 4 คนวิ่งเข้าหาคอมพิวเตอร์ เพื่อบันทึกความรู้ที่ได้เป็น mind map ลงในคอมพิวเตอร์
ทั้ง 4 คนใช้โปรแกรมต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ได้คล่องแคล่วพอสมควร รวมทั้งสามารถพิมพ์งานได้ดี แม้ไม่เร็วนัก
11.30 น. ได้เวลารับประทานอาหารกลางวันแล้ว แต่น้องดากับเพื่อนบางคน ยังทำ mind map ไม่เสร็จ ครูแวะย้ำว่า น้องดาต้องหาเวลาว่างมาสรุปให้เสร็จ เพื่อจะได้มีงานไป show & share ในวันรุ่งขึ้น
"เด็กๆ ต้องรู้จักบริหารเวลาให้เป็น ไม่เช่นนั้นแล้วงานเขาเสร็จแค่ไหนก็แค่นั้น การนำงานไปเสนอวันรุ่งขึ้นก็อาจจะถูกวิจารณ์ว่าไม่ดีนัก" ครูแวะอธิบาย
12.30 น. ในห้องเรียนคณิตศาสตร์น้องดาแยกจากกลุ่มเดิมที่เรียนโครงงานเมื่อเช้า ไปเข้าเรียนกับเพื่อนกลุ่มใหม่ประมาณ 6 คน ในชั่วโมงนี้มีครู 2 คน นักเรียนทำแบบฝึกหัดด้วยกัน แต่หนังสือเรียนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถของเด็กแต่ละคนว่าควรจะเรียนเล่มที่มีเนื้อหายากง่ายแค่ไหน
13.30 น. ชั่วโมงนี้น้องดาไม่มีเรียน มานั่งเขียนหนังสืออยู่คนเดียวที่มุมหนึ่งของห้องที่เรียนโครงงาน เธอบอกว่า
"ชั่วโมงนี้หนูว่างแต่ต้องมาเขียน joural เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่หนูได้เรียนมา แล้วหนูจะเขียนว่าวันนี้ได้แกล้งครูแวะด้วย" เธอเล่าแล้วหันไปหัวเราะอย่างร่าเริงกับครูแวะ ที่นั่งอยู่ข้างๆ การเขียนบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยให้ใช้ภาษาไทยได้ดีขึ้น ที่สำคัญครูประจำโครงงานทุกคนจะเป็นคนที่ช่วยดูการเขียนบันทึกของเด็กๆ และสอนภาษาไทยด้วย
14.00 น. น้องดาได้เบรกครึ่งชั่วโมง ก่อนที่จะเปลี่ยนชุดไปเรียนแบดมินตัน ซึ่งเป็นวิชาสุดท้ายของวันนี้
|
|
|
|
|