Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ 5 กรกฎาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ5 กรกฎาคม 2548
Open up the sky... Low Cost Asia             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 

 
Charts & Figures

ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำในเอเชีย (ณ 15 มิ.ย. 2548)


   
search resources

Aviation




ตั้งแต่ปี 2002 ปีกของสายการบิน Low Cost Airlines ได้สยายไปอย่างรวดเร็วทั่วน่านฟ้าเอเชียที่เพิ่งเปิดการแข่งขันเสรี โดยเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการใหม่มากขึ้นกว่า 30 สาย ที่มีทั้งบินภายในประเทศ (domestic flight) และระหว่างประเทศ (international flight) ไปทั่วประเทศไทย, ฮ่องกง, มาเก๊า, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, อินเดีย, จีน และญี่ปุ่น และข้ามไปยังตะวันออกกลางด้วย โดยแต่ละสายการบินก็จะมีฐานบัญชาการธุรกิจและฝูงบินอยู่ในประเทศตน

ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียมีสายการบินทั้งหมดประมาณ 200 กว่าแบรนด์ โดย Top-5 ประเทศที่มีแบรนด์สายการบินของตนเองมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย

Destination ในภูมิภาคเอเชียมีศักยภาพทางอุตสาหกรรมเดินทางท่องเที่ยวสูงมากปีละนับพันล้านคน เช่น จีนและอินเดีย ซึ่งสายการบินต้นทุนต่ำ Air Deccan ประสบความสำเร็จสูงมาก กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ newcomers ในธุรกิจนี้เกิดขึ้นมากมาย

สมรภูมิการตลาดของ Low Cost Airlines ที่สัประยุทธ์กันอย่างดุเดือดด้วยกลยุทธ์ราคาและโปรโมชั่น เกิดขึ้นหลังสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเปิดน่านฟ้าก่อนเอเชียถึง 2 ทศวรรษ ในราวทศวรรษ 1980 และได้กลายเป็นโมเดลต้นแบบแห่งความสำเร็จ เช่น Southwest Airlines แห่งสหรัฐอเมริกา และ Ryanair แห่งไอร์แลนด์

กระบวนทัศน์ของการเกิดสายการบิน Low Cost ในเอเชีย เกิดจากสายการบินแห่งชาติของประเทศต่างๆ ผูกขาดสิทธิการบินมานานกว่า 40 ปี นำมาซึ่งความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนให้ต่ำลงได้ ซึ่งทำให้ราคาตั๋วเดินทางมีแต่เพิ่มขึ้นๆ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนเอเชียส่วนใหญ่ที่มีกำลังซื้อต่ำได้ จึงเกิดช่องว่างธุรกิจ Low Cost Airlines ขึ้นมา เป็นอีก segment หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการขยายตลาดจำนวนผู้เดินทางนับพันล้านเที่ยวในเอเชีย

เป็นที่น่าสังเกตว่า กระแสความตื่นตัวของ Low Cost Airline ทำให้สายการบินหลักต่างๆ ในเอเชียต้องมีกระบวนทัศน์ใหม่ทางธุรกิจ โดยสร้างบริษัทลูก Low Cost Airlines หลายแห่ง อาทิ บริษัทการบินไทยสร้าง "Nok Air", สายการบินอินเดียมี "Air India Express", สายการบินญี่ปุ่นมี "JAL Express" หรือ Gulf Air มี "Gulf Traveller" (ดูตารางประกอบ)

จากวิกฤติสู่โอกาส หลังเหตุการณ์ 9/11 เกิดปัจจัยลบต่อเนื่อง ที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเดินทาง ธุรกิจสายการบิน หลักของโลกส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในวังวนเดิม คือต้นทุนแพงประสิทธิภาพต่ำ ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นต่ำ แต่ตรงข้ามกับสายการบิน Low Cost อย่าง Southwest Airlines ที่มีกำไรต่อเนื่อง เพราะมีประสิทธิภาพบริหารคนสูง มี Volume ผู้โดยสารสูงและ frequency ที่สามารถใช้เครื่องบินได้สูงสุด จนทำให้เฉลี่ยต้นทุนต่ำกว่าสายการบินอื่น

โมเดลธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำแบบใหม่ที่กล้าฉีกจากขนบเดิมของสายการบินหลักแล้วมีกำไร กลายเป็นการตลาดยุคใหม่ที่เหมาะกับสถานการณ์อุตสาหกรรมเดินทางท่องเที่ยวของเอเชียที่ซบเซา หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540, โรคซาร์ส, ไข้หวัดนก, ธรณีพิบัติสึนามิ ในปลายปีที่แล้ว

แต่โชคไม่ดีที่ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ หรือ Low Cost Airlines นั้นมาเกิดในช่วงวิกฤติน้ำมันราคาแพงอย่างคาดไม่ถึง และโกลด์แมน ซาคส์ คาดว่าอาจจะได้เห็นตัวเลขหลัก 100 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรลในปลายปีนี้ โดยยังไม่รวมถึงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลของโลก เช่น ดอลลาร์ที่มีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น

อนาคตของ Low Cost Airlines ระยะใกล้จึงเสี่ยงกับภาวะขาดทุนและอาจได้เห็นการยุบเลิก หรือควบรวมกิจการ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในอเมริกาและยุโรปมาก่อนแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us