|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ 5 กรกฎาคม 2548
|
|
"ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเป็นหน่วยงานที่เราภูมิใจมาก ถึงไม่มีรายได้เป็นตัวเงิน แต่ทุกวันนี้ถูกอ้างชื่อในสื่อมากกว่าธนาคารกสิกรไทยเสียอีก" คำกล่าวของบัณฑูร ล่ำซำ ในวันประกาศ KBank Group เมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นความสำเร็จของศูนย์วิจัยกสิกรไทย หรือ K-Research ได้เป็นอย่างดี
บทบาทของ K-Research ก่อนหน้ายุทธศาสตร์ KBank Group มีอยู่ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือการประชาสัมพันธ์ให้กับธนาคาร โดยการเผยแพร่บทวิจัยที่ทำออกสู่สาธารณะ ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะเมื่อถูกอ้างถึงจากสื่อหรือสาธารณชนก็ทำให้ชื่อกสิกรไทยได้รับการกล่าวถึงไปด้วย ส่วนประการที่สองจะเป็นการทำงานวิจัยหรือข้อมูลต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของธนาคาร
อย่างไรก็ตาม เมื่อประกาศยุทธศาสตร์ KBank Group ออกมาแล้ว K-Research ที่ในวันนี้มีอายุเข้าสู่ปีที่ 11 ก็มีบทบาทเพิ่มขึ้น โดยต้องคิดหาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อไปเสริมโปรดักต์อื่นของ KBank Group เพื่อขายเป็นแพ็กเกจให้กับลูกค้าทั้ง 7 กลุ่มของธนาคาร ซึ่งในแต่ละแพ็กเกจจะมีโปรดักต์ที่ให้ข้อมูลครบถ้วนทั้งที่เป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน
"รายวันก็ต้องมีเป็นภาพแมคโครให้ลูกค้ารู้ว่ามีอะไรบ้างที่สำคัญ ทั้งในด้านการเงิน คอมมอดิตี้ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ แล้วก็จะมีรีวิวรายสัปดาห์และวิเคราะห์เศรษฐกิจรายเดือน ส่วนการวิเคราะห์อุตสาหกรรมก็ต้องมี แต่ว่าเราจะทำให้สั้นๆ ให้เป็นประเด็นที่อ่านเข้าใจได้ง่าย" พิศาล มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการ K-Research ยกตัวอย่างโปรดักต์ ใหม่ที่จะออกมา
ปัจจุบันทีมนักวิจัยของ K-Research มีอยู่ 30 คน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วทุกคนต้องเขียนงานออกเผยแพร่ทุกวัน เพราะนอกจากงานวิจัยที่เผยแพร่ออกสู่สาธารณะแล้ว ยังมีงานวิจัยที่ทำให้กับธนาคาร ซึ่งพิศาลบอกว่า มีปริมาณมากกว่าชิ้นงานที่ออกสู่สาธารณะเสียอีก ด้วยเหตุนี้เองคุณสมบัติของนักวิจัยที่นี่ นอกจากจะต้องจบการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไปแล้ว สิ่งที่จะขาดเสียมิได้คือ ต้องทำงานภายใต้แรงกดดันได้ เนื่องจากงานวิจัยทุกชิ้นมีกำหนดเวลาที่ชัดเจน รวมทั้งบางครั้งยังมีงานเร่งด่วนแทรกเข้ามาอีกด้วย
จึงไม่น่าแปลกใจที่บรรยากาศภายในออฟฟิศของ K-Research ที่ "ผู้จัดการ" สัมผัสได้คือ ความเงียบ ซึ่งแตกต่างไปจากออฟฟิศของ KBank Group แห่งอื่น
จุดเด่นประการหนึ่งของ K-Research ก็คือ การแปลงานวิจัยที่มีอยู่ออกเผยแพร่เป็นภาษาจีนด้วย ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ KBANK ที่ใช้ 3 ภาษาด้วยกัน คือ ไทย อังกฤษ และจีน ปัจจุบันทีมงานที่ดูแลด้านภาษาจีนของ K-Research มีอยู่ 5 คน ในจำนวนนี้มีเอดิเตอร์ที่เป็นคนจีนอยู่ด้วย 1 คน เพื่อตรวจเช็กความถูกต้องของภาษาก่อนที่จะนำออกเผยแพร่ โดยทีมงานภาษาจีนชุดนี้นอกจากจะรับหน้าที่แปลบทวิจัยแล้ว ยังช่วยทำหน้าที่เป็นล่ามให้กับธนาคารในกรณีที่มีลูกค้าจากประเทศจีนมาเยี่ยมกิจการ หรือมีลูกค้าไทยไปยังประเทศจีนด้วย
หน่วยงานใน KBank Group ที่จะต้องทำงานร่วมกับ K-Research อย่างใกล้ชิดที่สุดได้แก่ ฝ่ายรีเสิร์ชของ บล.กสิกรไทย (K-Securities) และของธนาคาร เพื่อนำข้อมูลที่แต่ละฝ่ายมีอยู่มารวมเข้าด้วยกันและผลิตเป็นงานวิจัยป้อนให้กับลูกค้าในภาพที่สมบูรณ์ ทั้งในด้านเศรษฐกิจมหภาคที่จะได้จาก K-Research และธนาคารและบทวิเคราะห์หุ้นรายบริษัทและรายอุตสาหกรรม
|
|
|
|
|