Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ 5 กรกฎาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ5 กรกฎาคม 2548
KBank Group's Showcase             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

   
related stories

New era of Banking Industry
K-Factoring เรียนรู้จากพันธมิตร
Ideal Broker
Newcomer
Unique Research House

   
www resources

โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด

   
search resources

กสิกรไทย, บลจ.
ดัยนา บุนนาค
Funds




บทบาทของ บลจ.กสิกรไทยในวันนี้ ไม่เพียงแค่การบริหารสินทรัพย์ของผู้ถือหน่วยลงทุนกว่า 1.5 แสนล้านบาทเท่านั้น แต่ยังจะเป็นองค์กรตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการ integrate ธุรกิจของ KBANK ว่ามีมากน้อยเพียงใดอีกด้วย

โดยปกติ ดัยนา บุนนาค ต้องเดินทางไปร่วมประชุมกับผู้บริหารของธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ทั้งที่สำนักงานใหญ่ ราษฎร์บูรณะ และสำนักพหลโยธิน เป็นประจำอยู่แล้วในฐานะกรรมการผู้จัดการ บลจ.กสิกรไทย (K-Asset) ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำที่เธอทำต่อเนื่องมา 13 ปีเต็ม เนื่องจาก K-Asset ถือเป็น 1 ในบริษัทในเครือของธนาคารกสิกรไทย

แต่หากเปรียบเทียบความรู้สึกในช่วงก่อนหน้ากับภายหลังการประกาศผนวกธุรกรรมของกิจการในเครือทุกแห่งเข้ามาเป็น K-Group เมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมาแล้ว กลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

"ก่อนหน้านั้น เนื่องจากเราถือว่าธนาคารเป็นช่องทางการจำหน่ายหน่วยลงทุนขนาดใหญ่ของเรา เวลาไปก็คุยกันเรื่องการที่จะให้เขามาช่วยสนับสนุนการขาย หรือไปฝึกอบรมให้กับพนักงานของสาขา เปรียบไปก็เหมือนกับการที่เราต้องไปพบลูกค้า แต่หลังจากการประกาศตัวเป็น K-Group เป็นต้นมา ความรู้สึกเวลาไปถึงก็คือเราเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารกสิกรไทย" เธอบอก

ความรู้สึกนี้ยิ่งถูกตอกย้ำมากขึ้น เนื่องจากทุกวันนี้ ดัยนาต้องไปประชุมร่วมกับกรรมการผู้จัดการบริษัทในกลุ่ม K-Group อีก 4 แห่งทุก 2 สัปดาห์ เพื่อความใกล้ชิดของการทำงานร่วมกัน ตลอด จนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่จะทำให้แบรนด์ K-Group มีความแข็งแกร่งขึ้น

"จริงๆ เราก็คิดว่าเราเป็นกสิกรไทยมาตลอด แล้วเราภูมิใจมากว่าเป็นบริษัทในเครือแห่งแรกที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อกสิกรไทยตั้งแต่เมื่อ 13 ปีที่แล้ว"

ถึงแม้จะเป็นบริษัทในเครือ แต่การดำเนินงานของ K-Asset จะมีความเป็นอิสระจาก KBANK มากกว่ากิจการอื่น ที่เป็นเช่นนั้นเพราะหน้าที่ของ K-Asset ที่ต้องบริหารเงินของประชาชน จึงต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย

K-Asset เป็นกิจการใน KBank Group ที่ก่อตั้งมาเป็นเวลานานเป็นรองเพียง K-Factoring และเพิ่งมีอายุครบ 13 ปี ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีจุดกำเนิดในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ที่ต้องการเพิ่มจำนวนนักลงทุนสถาบันในประเทศให้มากขึ้น จากเดิมที่มีบลจ.เอ็มเอฟซี (ชื่อเดิมคือ บล.กองทุนรวม) เป็นบริษัทจัดการลงทุนเพียงแห่งเดียว จึงได้เปิดให้สถาบันการเงินที่สนใจยื่นขอใบอนุญาตและจากที่ยื่นขอทั้งหมด 14 กลุ่มได้รับการอนุมัติจำนวน 7 กลุ่ม โดยมี K-Asset เป็นหนึ่งในนั้น

ผู้ถือหุ้นของ K-Asset ในระยะเริ่มต้นประกอบด้วย KBANK และบงล.ภัทรธนกิจ (ชื่อในขณะนั้น) ในสัดส่วนรายละ 25% ส่วนที่เหลือเป็นการถือหุ้นของกิจการในเครือธนาคาร เช่น บงล.ศรีมิตร เมืองไทยประกันชีวิต บงล.บางกอกอินเวสท์เม้นท์ รวมทั้ง Mercury Asset Management ที่เป็นพันธมิตรต่างชาติ

ดัยนาถูกดึงตัวมาจากผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บงล.ภัทรธนกิจ เพื่อให้เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ที่ K-Asset

วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น K-Asset หลายราย บางรายก็ถูก ปิดกิจการไป เช่น บงล.ศรีมิตร บางรายก็ถูกเปลี่ยนมือไปจากเครือกสิกรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บงล.ภัทรธนกิจ ที่ถูกแยกออกเป็นบริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งในส่วนของบริษัทเงินทุนได้ขอคืนใบอนุญาตกับธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนบริษัทหลักทรัพย์มีเมอร์ริล ลินช์ เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกลายเป็น บล.เมอร์ริล ลินช์ ภัทร

โครงสร้างการถือหุ้นใน K-Asset เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้เอง โดย KBANK เข้าซื้อหุ้น K-Asset คืนมาจากบริษัทในเครือบางราย ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ KBANK เพิ่มขึ้น

แต่จุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นในปี 2544 เมื่อ KBANK บล.เมอร์ริล ลินช์ ภัทร และ K-Asset ได้ข้อสรุปที่จะรวมธุรกิจจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคล จากเดิมที่ทั้ง 3 แห่งต่างคนต่างทำ ให้มาอยู่ที่ K-Asset เพียงแห่งเดียว เพื่อที่ไม่ต้องแข่งขันกันเองและไม่สร้างความสับสนให้กับลูกค้า โดยเมื่อรวมกิจการกันแล้วก็มีการจัดโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ ทำให้ KBANK เข้าถือหุ้นในสัดส่วน 71.42% เมอร์ริล ลินช์ อินเวสเม้นต์ แมเนเจอร์ 15.31% เมืองไทยประกันชีวิต 12.28% และ เมืองไทยโฮลดิ้ง 0.99%

ซึ่งปีนี้เองเป็นปีที่ KBANK เริ่มต้นกระบวนการการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ หลังจากบัณฑูร ล่ำซำ ได้ประกาศ 8 โปรแกรมยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวออกมาในเดือนตุลาคม ปี 2543 (รายละเอียดอ่านนิตยสาร "ผู้จัดการ" เดือนพฤศจิกายน 2543 และสิงหาคม 2544 หรือ www.gotomanager. com)

แนวคิดเรื่อง Universal Banking จึงน่าจะอยู่ในความตั้งใจของบัณฑูรอยู่แล้ว เพียงแต่เขายังไม่ระบุออกมาอย่างเด่นชัด

นอกจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้นแล้ว การรวมธุรกิจครั้งนั้นยังทำให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารของ K-Asset โตขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 7.7 หมื่นล้านบาท เป็น 1.4 แสนล้านบาท และมีพนักงานที่รับการโอนย้ายมาทำให้จำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นเท่าตัวด้วยเช่นกัน

K-Asset น่าจะเป็นหน่วยงานใน KBank Group ที่จะเป็นตัวสะท้อนถึงความสำเร็จของการ integrate การทำงานร่วมกันในลักษณะของ Universal Banking ได้ดีและรวดเร็วที่สุด เพราะความเกี่ยวเนื่องของธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงได้กับแทบจะทุกกิจการในกรุ๊ป โดยในส่วนของ KBANK นั้นนอกจากจะเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนแล้ว K-Asset ยังมีโอกาสที่จะลงทุนในตราสารหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้จัดจำหน่าย รวมถึงประโยชน์จากการใช้ฐานข้อมูลลูกค้าของธนาคาร ทั้งที่เป็นลูกค้าทั่วไปและลูกค้าที่มีฐานะดีในกลุ่ม Platinum ที่มีอยู่ถึง 14,000 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของบริการกองทุนรวมและกองทุน ส่วนบุคคลไปจนถึงลูกค้าองค์กรสำหรับบริการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เดิม K-Asset เป็นผู้ทำตลาดเอง

ในส่วนของ K-Securities ก็สามารถ integrate กันได้ทั้งฐานลูกค้าและบริการทั้งในฝั่งของโบรกเกอร์และวาณิชธนกิจ ไม่ว่าจะเป็นการส่งคำสั่งซื้อขาย การจองซื้อหลักทรัพย์ที่ K-Securities เป็นผู้จัดจำหน่าย รวมถึงบทวิเคราะห์หุ้นรายตัว ขณะที่บทวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคและรายอุตสาหกรรม จะได้จาก K-Research ที่มีชื่อเสียงและความชำนาญในด้านนี้ สำหรับ K-Factoring และ K-Leasing ก็จะมีฐานลูกค้าที่สามารถแนะนำให้มาใช้บริการของ K-Asset ได้

การ integrate การทำงานเช่นนี้ ทำให้ผลการดำเนินงานของ K-Asset ในปีนี้เป็นที่น่าจับตามองไม่น้อย เพราะเดิมที่การ integrate ยังไม่เข้มข้นเท่านี้ K-Asset ก็ประสบความสำเร็จในฐานะบริษัทจัดการกองทุนที่มีมูลค่าการระดมเงินสูงสุดในปี 2546 และ 2547 ซึ่งเฉพาะในปีที่ผ่านมามียอดการระดมเงินได้กว่า 2.9 หมื่นล้านบาท จากยอดรวมทั้งอุตสาหกรรมที่ระดมได้ 5.5 หมื่นล้านบาท โดยบริษัทมีกองทุนที่บริหาร ณ สิ้นปี 2547 จำนวน 377 กองทุน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.5 แสนล้านบาท

ขณะที่ผลการดำเนินงานของ K-Asset ก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากรายได้ 430 ล้านบาท ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็น 488 และ 767 ล้านบาทในปี 2546 และ 2547 เช่นเดียวกับกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นจาก 91 ล้านบาท เป็น 100 และ 208 ล้านบาทตามลำดับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us