Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ 5 กรกฎาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ5 กรกฎาคม 2548
K-Factoring เรียนรู้จากพันธมิตร             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

   
related stories

New era of Banking Industry

   
www resources

Heller Financial Homepage

   
search resources

แฟคเตอริ่งกสิกรไทย, บจก.
ปุณฑริกา ใบเงิน
Banking and Finance
Heller Financial Inc.




ความสำเร็จของ K-Factoring จากการได้พันธมิตรต่างชาติที่ดี มีการวางระบบงานที่เป็นรากฐานสำคัญของธุรกิจตั้งแต่เริ่มแรก ทำให้วันนี้กลายมาเป็นกลไกสำคัญใน KBank Group ในการจับกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและเล็ก

วันที่ ปุณฑริกา ใบเงิน ตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบัตรเครดิต ของธนาคารกสิกรไทยในช่วงสิ้นปี 2536 เพื่อมารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยฟาร์เมอร์ เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง ตามข้อเสนอของบัณฑูร ล่ำซำ เธอคงนึกไม่ถึงว่าองค์กรเล็กๆ ที่มีพนักงานเพียง 10 กว่าคนในวันนั้น จะเติบโตและเพิ่มบทบาทจนกลายมาเป็นกลไกสำคัญแห่งหนึ่งของแบงก์ในชื่อ K-Factoring ภายใต้ยุทธศาสตร์ KBank Group ในวันนี้

"ตอนนั้นแฟคเตอริ่งคืออะไรยังไม่รู้เลย รู้แต่ว่าเป็นเรื่องการค้า ก็มาคุยกับกรรมการผู้จัดการและกรรมการของที่นี่ เราก็คิดว่าโอเค เพราะถามเขาว่าบริษัทนี้มีจุดแข็งที่ไหน เขาบอกว่าที่ระบบ มีระบบงานที่ดี ก็ตรงกับความคิดของเราที่เชื่อมั่นในองค์กรที่มีระบบ" ปุณฑริกากล่าวกับ "ผู้จัดการ"

จุดแข็งที่เธอกล่าวถึงนั้น ต้องยกความดีให้กับ Heller Financial Inc. ผู้ให้บริการแฟคเตอริ่งรายใหญ่ของโลกที่เป็นผู้ร่วมทุนกับธนาคารกสิกรไทย ก่อตั้งไทยฟาร์เมอร์ เฮลเลอร์ฯ ขึ้นในปี 2533 ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 49% ส่วนอีก 51% เป็นการถือหุ้นของธนาคารกสิกรและบริษัทในเครือ

อย่างไรก็ตาม ในปี 2544 GE Capital เข้าซื้อกิจการของ Heller ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวกลายเป็นของ GE Capital แทน และในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ธนาคารกสิกรไทยเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดจาก GE Capital และผู้ถือหุ้นรายอื่น ทำให้ธนาคารเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดและเปลี่ยนชื่อบริษัทจากไทยฟาร์เมอร์ เฮลเลอร์ฯ เป็นกสิกร แฟคเตอริ่ง ตั้งแต่เมษายน 2546 ก่อนที่จะเปลี่ยนอีกครั้งมาเป็นแฟคเตอริ่งกสิกรไทย หรือ K-Factoring เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ที่ผ่านมา

การมีพาร์ตเนอร์เป็น Global Player อย่าง Heller นั้นเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานอย่างมาก เพราะประสบการณ์ที่ Heller มีอยู่ทั้งจากอเมริกา ยุโรป และหลาย ประเทศในเอเชีย ได้นำมาใช้ในการวางรากฐานให้กับบริษัทแห่งนี้ตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นระบบงาน ระบบไอที ทั้งด้านคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล รวมไปถึงการบริหารความเสี่ยง และการตั้งสำรองสินเชื่อ ที่เป็นเรื่องใหม่มากของแวดวงการเงินไทยในขณะนั้น

รากฐานดังกล่าวถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจแฟคเตอริ่งที่เป็นบริการทางการเงินประเภทหนึ่ง คือการปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจ ด้วยการรับซื้อลูกหนี้การค้าที่มีการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการเรียบร้อยแล้ว แต่อยู่ในระหว่างรอการชำระเงินตามเครดิตของลูกหนี้การค้า สินเชื่อประเภทนี้จึงเหมาะกับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่ต้องการสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ แต่ไม่สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารได้ อาจจะมาจากธุรกิจมีขนาดเล็ก หรือขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้แต่เดิมต้องหาสภาพคล่องจากแหล่งอื่น รวมไปถึงการกู้เงินนอกระบบหรือการเล่นแชร์

เดิมธุรกิจแฟคเตอริ่งรู้จักกันอยู่ในวงแคบ แต่วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจนี้ เนื่องจากสถาบันการเงินที่ถูกปิดตัวลงถึง 56 แห่ง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ก็มีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น จึงเป็นโอกาสให้บริษัทแฟคเตอริ่งขยายตลาดลูกค้าผู้ประกอบการที่ต้องการแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น

ขณะเดียวกันประสบการณ์ของ Heller ก็ยังมีส่วนช่วย K-Factoring ในช่วงวิกฤติเอาไว้ได้มาก

"เขาแนะนำเราตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติว่ามันต้องเกิด เพียงแต่เมื่อไรไม่รู้ แต่เขาดูออก เพราะตอนปี 1995 ที่เกิด Mexican Crisis เขาก็อยู่ในเม็กซิโก Heller ก็แนะนำมาว่าควรจะดูแลพอร์ตอย่างไร ดูแลลูกค้าที่มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไรและนโยบายบริหารสินเชื่อต้องไม่กระจุกตัวในธุรกิจมากเกินไป"

ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นจริง K-Factoring จึงได้รับผลกระทบน้อยกว่าแฟคเตอริ่งรายอื่น โดยยอด NPL ของบริษัท ในช่วงที่สูงที่สุดนั้นอยู่ที่ระดับ 24% ซึ่งต่ำที่สุดในธุรกิจแฟคเตอริ่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ชื่อเสียงของผู้ถือหุ้นและรากฐานการดำเนินธุรกิจที่ Heller วางไว้ยังช่วยให้ K-Factoring ได้รับการยอมรับจากเจ้าหนี้ในช่วงนั้นอีกด้วย โดยแต่ละรายให้คำรับประกันถึงวงเงินที่พร้อมให้กู้หากต้องการ

ปุณฑริกาเล่าว่า การมีผู้ร่วมทุนต่างชาติที่ดีและมีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับทีมงานอย่างต่อเนื่องนี่เอง ทำให้บัณฑูรนำ K-Factoring ไปเป็นตัวอย่างถึงกรณีการร่วมทุนที่กสิกรไทยได้ประโยชน์

สำหรับบทบาทของ K-Factoring ในฐานะ KBank Group นั้น จะทำหน้าที่เป็นกลไกสินเชื่อและบริการที่เอื้ออำนวยให้ธนาคารสามารถให้บริการได้ครบวงจรมากขึ้น โดยในกรณีที่เป็นลูกค้าขนาดเล็กที่ยังไม่มีวงเงินกับธนาคาร แต่มีลูกหนี้การค้าที่เป็นนิติบุคคล สามารถใช้บริการแฟคเตอริ่งเพื่อเสริมสภาพคล่องจนกระทั่งธุรกิจขยายตัวขึ้นก็แนะนำลูกค้าให้กับ KBank เพื่อขอสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งในกรณีนี้ธนาคารก็มีความมั่นใจในเครดิตของลูกค้ามากขึ้น เพราะได้ผ่านการกลั่นกรองมาระดับหนึ่งแล้ว เท่ากับ K-Factoring ช่วยสร้างลูกค้าใหม่ให้กับ KBank ขณะเดียวกันลูกค้าสินเชื่อของธนาคารที่ต้องการวงเงินหมุนเวียนเพิ่มเพื่อรองรับการขยายตัวก็สามารถมาใช้บริการแฟคเตอริ่งได้

นอกจากนี้ KBank ยังสามารถนำเอาบริการของ K-Factoring ไปผสมผสานกับบริการของธนาคารเกิดเป็นโซลูชั่นที่สนองความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น เช่น การเช็กเครดิตผู้ซื้อในต่างประเทศและการค้ำประกันหนี้สูญแก่ผู้ส่งออกที่ไม่มี L/C หรือการค้ำประกันการนำเข้าของลูกค้าที่มีเครดิตโดยไม่ต้องเปิด L/C บริการบริหารและดูแลการเก็บหนี้ของลูกค้า รวมไปถึงสินเชื่อลิสซิ่งและเช่าซื้อเชิงพาณิชย์

ส่วนการ integrate เข้ากับบริษัทอื่นใน KBank Group นั้น สิ่งที่จะได้ประโยชน์ชัดเจนที่สุดก็คือการแนะนำลูกค้าให้ระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานลูกค้า และคู่ค้าของลูกค้าของ K-Factoring ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 8,000 ราย ที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งลูกค้าเหล่านี้ล้วนเป็นกลุ่มเป้าหมายของบริการต่างๆ ของ KBank Group ทั้งสิ้น

ที่ผ่านมาการหาลูกค้าของ K-Factoring เป็นการทำตลาดโดยตรง เพราะยังต้องใช้เวลาในการอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงบริการแฟคเตอริ่ง แต่ผลการดำเนินงานก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2545 มีปริมาณธุรกิจแฟคเตอริ่ง 9,342 ล้านบาท เพิ่มเป็น 12,199 ล้านบาทในปี 2546 และประมาณ 16,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งจากปริมาณธุรกิจแฟคเตอริ่ง ทั่วประเทศในปีที่แล้วรวมประมาณ 80,000 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us