Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ 5 กรกฎาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ5 กรกฎาคม 2548
Wikipedia สารานุกรมฟรีออนไลน์ที่ใครๆ ก็เขียนได้             
 


   
www resources

Wikipedia Homepage
WikiWikiWeb

   
search resources

Web Sites
Software
Wikipedia




สารานุกรมฟรีบนอินเทอร์เน็ตที่ร่วมกันเขียนโดยอาสาสมัคร ซึ่งบรรจุความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ไว้ถึง 1 ล้าน 5 แสนเรื่อง โดยมากกว่า 570,000 เรื่อง เขียนเป็นภาษาอังกฤษมีผู้เข้าชมเว็บไซต์นี้ถึงวันละล้านครั้ง โดยที่ Jimmy Wales ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์นี้ระบุว่า เขาต้องการสร้างและเผยแพร่สารานุกรมฟรีที่มีคุณภาพสูงสุดแก่คนทุกคนบนโลกใบนี้ ที่เขียนด้วยภาษาแม่ของพวกเขา

Wikipedia เป็นสารานุกรมฟรีบนอินเทอร์เน็ตที่เป็น open source ซึ่งหมายความว่า ใครๆ ก็สามารถเข้ามาที่เว็บนี้ และเขียนข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความเดิมในสารานุกรมนี้ได้ โดยขณะนี้สารานุกรมออนไลน์เล่มนี้ได้บรรจุความรู้เรื่องต่างๆ ไว้แล้วถึง 1 ล้าน 5 แสนเรื่องใน 76 ภาษาและยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

นักวิชาการต่างพากันชี้ว่า Wikipedia คือสภาวะอนาธิปไตยของข้อมูลโดยแท้ (บรรณาธิการคนหนึ่งของสารานุกรมชื่อดังระดับโลก Encyclopaedia Britannica เคยเปรียบเปรย Wikipedia กับส้วมสาธารณะ เนื่องจากคุณไม่มีทางรู้ว่าใครที่ใช้มันเป็นคนสุดท้ายก่อนหน้าคุณ)

แต่ผู้ที่ภักดีต่อ Wikipedia เถียงว่า การช่วยกันปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาใน Wikipedia ทำให้ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ เหมือนกับที่ซอฟต์แวร์ที่เป็น open source อย่าง Linux และ Firefox ซึ่งมีความแข็งแกร่งกว่าซอฟต์แวร์ของคู่แข่ง ที่เป็นสินค้าที่ขายเอากำไร เนื่องจากโปรแกรมเมอร์สมัครเล่นนับพันนับหมื่น สามารถที่จะดูรหัสของซอฟต์แวร์แบบ open source และแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ เข้าทำนองหลายหัวดีกว่าหัวเดียว และแม้กระทั่งอาจจะดีกว่าหัวนักวิชาการเสียอีก

Wikipedia นับเป็นหัวหอกของกระแส wiki ที่กำลังจะตามมาอีกลูกใหญ่ สำหรับ wiki ก็คือชิ้นส่วนเล็กๆ ของซอฟต์แวร์ที่ดูเรียบง่าย (เป็นรหัสคอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนน้อยกว่า 5 บรรทัด) ที่คุณสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี และใช้มันในการสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณสมบัติคือ ยอมให้คนที่คุณกำหนดไว้สามารถเข้ามาแก้ไขข้อความในเว็บได้

ประโยชน์ของ wiki มีมากมาย เช่นหากคุณต้องการความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาธุรกิจที่แสนยากภายในชั่วเวลาเพียงข้ามคืน แต่ทีมของคุณอยู่กันคนละเขตเวลา คุณก็เริ่มทำ wiki แล้วจากนั้นทุกคนก็สามารถเข้ามาช่วยคุณแก้ปัญหา

ขณะนี้วัฒนธรรม wiki เริ่มหยั่งรากที่ Silicon Valley แหล่งรวมบริษัทซอฟต์แวร์ของสหรัฐฯ โดยเริ่มในระดับพนักงาน โดยที่บางทีผู้บริหารก็ไม่เคยรู้เลย แต่พนักงานในบริษัทจำนวนมาก ที่นี่ต่างกำลังใช้ wiki และเห็นถึงความจำเป็นของมันในการช่วยให้งานลุล่วง

โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก Wikipedia บริษัทที่เพิ่งเปิดใหม่แห่งหนึ่งใน Silicon Valley ชื่อ Socialtext ได้ช่วยติดตั้ง wiki ให้แก่บริษัทนับร้อยแห่ง รวมทั้งโนเกียและโกดัก โดยการใช้งาน wiki ในทางธุรกิจนี้ได้ใช้กันตั้งแต่การบริหารโครงการ การระบุภารกิจของบริษัท และการร่วมมือข้ามบริษัท

แทนที่จะใช้วิธีส่งอีเมลเอกสารสำคัญที่สร้างโดยโปรแกรม Word ไปให้แก่ผู้ร่วมงานแต่ละคน ซึ่งอาจจะมีการแก้ไขและส่งไปใหม่อีกหลายครั้ง จนเกิดความสับสนว่า ฉบับใดเป็นฉบับล่าสุด แต่ด้วยการใช้หน้าเว็บที่ใช้ wiki ทุกคนในทีมงานจะอยู่ที่ "หน้าเดียวกัน" ของเอกสาร ซึ่งจะทำให้ทุกคนได้เห็นเอกสารฉบับที่ถูกแก้ไขล่าสุด ไม่ว่าจะถูกแก้มากี่ครั้งหรือจากผู้แก้กี่คน

ซึ่งผู้บริหาร Socialtext ชี้ว่า ด้วยวิธีการนี้ทำให้ทำงานเสร็จไวขึ้นถึง 25% แต่หลายคนกลัว wiki เนื่องจากกลัวที่จะสูญอำนาจการควบคุมข้อมูลไป

บิดาผู้คิดค้น wiki คือ Ward Cunningham โปรแกรมเมอร์ซึ่งสร้างเว็บชื่อ WikiWikiWeb ขึ้นในปี 1995 โดยเขาได้ชื่อนี้มาจากภาษาที่ใช้ในฮาวาย และ wiki wiki แปลว่า "เร็ว"

WikiWikiWeb เป็นคู่มือช่วยเหลือออนไลน์ในการแก้ปัญหาซอฟต์แวร์ทุกชนิด ซึ่งเป็นคู่มือที่เกิดจากการช่วยกันเขียนคนละนิดคนละหน่อย โดยคนที่เข้ามาใช้เว็บนี้หลายร้อยคนทั่วโลก เพราะ Cunningham ตระหนักดีว่า ผู้ใช้ซอฟต์แวร์แต่ละคน ก็เปรียบเหมือนกับตาบอดคลำช้าง ต่างรู้จักเชี่ยวชาญเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ที่ตนใช้อยู่เท่านั้น กระทั่งบางครั้งยังรู้มากกว่าคนที่สร้างโปรแกรมนั้นขึ้นมาเสียอีก ซึ่งถ้าหากเราสามารถรวบรวมความรู้จากผู้ใช้ซอฟต์แวร์แต่ละคนเหล่านั้นให้มาอยู่ในที่เดียวกันได้ ก็จะกลายเป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่ ดังนั้น wiki จึงเป็นการเปิดรับนักเขียนที่ไม่เชี่ยวชาญพอที่จะรู้จักเรื่องๆหนึ่งในทุกแง่ทุกมุม แต่หากเขาเชี่ยวชาญเพียงจุดใดจุดหนึ่งของเรื่องนั้นเท่านั้น ก็เป็นการเพียงพอแล้ว

ส่วน Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia ก่อนที่เขาจะค้นพบ wiki ก็ได้เคยพยายามจะทำสารานุกรมฟรีออนไลน์มาครั้งหนึ่งแล้วในชื่อว่า Nupedia แต่ 2 ปีผ่านไป Nupedia มีบทความความรู้อยู่เพียง 12 เรื่องเท่านั้น เพราะปัญหาของ Nupedia คือซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้ มีความยุ่งยากในการตรวจสอบและทบทวนข้อมูล ซึ่งมีถึง 7 ขั้นตอน

เมื่อ Wales ค้นพบ wiki และก่อตั้ง Wikipedia เขาใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ทำให้ Wikipedia ประสบความสำเร็จสมประสงค์ของเขา ที่ต้องการสร้างสารานุกรมออนไลน์ที่ฟรีสำหรับทุกคน และเขียนโดยทุกคน ในภาษาแม่ของแต่ละคน

4 ปีต่อมา Wikipedia กลายเป็นสารานุกรมที่มีอาสาสมัครนักเขียน 8,000 คน โดยมีกลุ่มนักเขียนหลักอยู่ประมาณ 1,000 คน แค่บทความที่มีอยู่ประมาณ 500,000 เรื่องที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษของ Wikipedia ก็มากกว่าบทความ 65,000 เรื่องของ Encyclopaedia Britannica ฉบับปี 2005 แล้ว

มูลนิธิ Wikipedia ซึ่งไม่หวังกำไรของ Wales จ้างพนักงานเพียงแค่ 1 คนเท่านั้น มีหน้าที่เพียงคอยดูแลเซิร์ฟเวอร์ให้ทำงานตามปกติ มูลนิธินี้อยู่ได้ด้วยเงินบริจาคและเงินส่วนตัวของ Wales เอง Wales บอกว่า ข้างนอกมีคนเก่งมากกว่าที่เราคาดคิดไว้มากนัก

อย่างไรก็ตาม คนโง่และคนมือบอนก็มีอยู่เช่นกัน ซึ่งได้แกล้งเข้าไปใน Wikipedia เพื่อแก้ไขหรือลบข้อความและแสดงทัศนะที่ลำเอียงอคติ จนบางครั้ง Wales ต้องใช้วิธีล็อกการเข้าไปแก้ไขเรื่องบางเรื่อง เช่น เรื่อง John Kerry ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ พรรคเดโมแครต และ George W. Bush เกือบตลอดปี 2004 ซึ่งเป็นช่วงศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

นอกจากนี้ Wikipedia ยังทำให้คุณสามารถเฝ้าติดตามบทความที่คุณชอบได้ โดยหากมีใครเข้ามาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมบทความเรื่องนี้ ระบบจะแจ้งให้คุณรู้ทันที

และจากการศึกษาของสถาบัน M.I.T. พบว่า หากมีใครเข้าไปเขียนคำหยาบใน Wikipedia ระบบจะสามารถลบออกได้ภายในเวลาเพียง 1.7 นาทีโดยเฉลี่ยเท่านั้น

ส่วนปัญหาความขัดแย้งระหว่างความเห็น 2 ฝ่ายที่แตกต่างกันในเรื่องเดียวกัน ซึ่งทำให้แต่ละฝ่ายต่างลบและแก้ความคิดเห็นของอีกฝ่ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า เดี๋ยวนี้ไม่เป็นปัญหาแล้ว โดย Wikipedia ใช้วิธีแสดงความเห็นที่ขัดแย้งกันทุกความเห็นในบทความเดียวกัน

อย่างเช่น คำว่า Wikipedia เองที่บรรจุอยู่ใน Wikipedia จะระบุไว้ด้วยว่า Wikipedia ถูกตำหนิว่าขาดความน่าเชื่อถือ และไม่ครอบคลุม รวมทั้งไม่มีความเป็นวิชาการ นอกจากนี้ยังถูกบรรณารักษ์และนักวิชาการจำนวนมากทั่วโลกมองว่า ไม่สามารถหรือใช้ได้อย่างจำกัดในการเป็นข้อมูลอ้างอิง

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางคนอย่าง Larry Sanger ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าบรรณาธิการคนหนึ่งของ Wikipedia แต่ปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่ Ohio State ยังคงรัก Wikipedia แต่ก็เข้าใจว่า เหตุที่นักวิชาการไม่ชอบ Wikipedia เพราะความเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ตที่ใครๆ ก็เข้าใช้ได้ อาจทำให้คนทั่วไปไม่ค่อยเห็นความสำคัญของความเชี่ยวชาญอย่างนักวิชาการ และ Sanger ก็ ไม่ยอมให้นักศึกษาของเขาใช้ Wikipedia มาอ้างอิงเช่นกัน

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับ Wikipedia แต่ wiki กำลังเดินหน้าเต็มตัว ขณะนี้บนอินเทอร์เน็ตมีทั้ง wikibooks หนังสือนิยายที่ทุกคนช่วยกันแต่ง wikipes สูตรทำการอาหารที่ทุกคนช่วยกันเขียน และ wikimedia สื่อออนไลน์ที่นักข่าวคือชาวบ้านทั่วไป

ส่วน Wales เองยังมีเว็บที่ใช้ wiki อีกเว็บหนึ่ง แต่เป็นเว็บที่เขามุ่งหวังกำไร ชื่อ Wikicities ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาสร้างชุมชนของตนได้ ซึ่งขณะนี้มีชุมชนที่ใหญ่ที่สุด 2 แห่งในเว็บนี้คือ Star Wars และ Star Trek

Cunningham บิดาของ wiki กล่าวว่า wiki คือรูปแบบหนึ่งของการระดมสมองและไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา โดยคุณสามารถจะทำ wiki ได้เพียง 1 ปี หรือนานเป็น 10 ปีก็ได้

แปลและเรียบเรียงจาก Time June 6, 2005
โดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us