นับเป็นสถิติที่น่ากลัวสำหรับสถานการณ์โรคหลอดเลือด หัวใจตีบในประเทศไทย
ที่ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์หัวใจกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ได้เปิดเผยออกมา เนื่องจากพบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จำนวนของผู้ที่เป็นโรค
ดังกล่าวมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ถึง
20 เท่า
ข้อมูลจากการศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2519-2526 พบว่า ประชากรอายุตั้งแต่ 35
ปี ป่วยด้วยโรคนี้ปีละประมาณ 2.3 ราย ต่อ 1,000 คน แต่จากการศึกษาในปี 2528
ในประชากรอายุ ระหว่าง 30-59 ปี พบว่าป่วยด้วยโรคหลอดหัวใจตีบปีละ 6.42 ราย
ต่อ 1,000 คน และจากการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พบว่าอัตราการเสียชีวิตด้วย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเท่ากับ 114 คนต่อประชากร
100,000 คน ในผู้ชาย และ 16 คนต่อประชากร 100,000 คนในผู้หญิง ซึ่ง ถือว่าเป็นอัตราที่สูง
ที่สำคัญคือคนที่เสียชีวิต คือคนที่อยู่ในวัย กำลังทำงาน และเป็นกำลังหลักในครอบครัว
สำหรับอาการของโรคนี้ จะเริ่มจากเจ็บหน้าอก จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก
และอาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก
เป็นลม ใจสั่น เหนื่อยง่าย เมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดย ไม่ทราบสาเหตุ
จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน หากมีอาการเจ็บ หน้าอกและมีอาการร่วมอื่นๆ ข้างต้น
หรือเจ็บนานเกิน 15-20 นาที ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจาก หลายสาเหตุ เช่น
อายุที่มากขึ้น ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่
การมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ความอ้วน ความเครียด และการไม่ออก
กำลังกาย
ที่สำคัญคือการที่สังคมไทยเปิดรับเอาวัฒนธรรมจาก ตะวันตกเข้ามามาก ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบเร่งรีบ
รวมถึง การบริโภคอาหารแบบฟาสต์ฟู้ด
ในการป้องกันโรคนี้ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น หากเป็นคนที่สูบบุหรี่ควรเลิกสูบโดยเด็ดขาด
หมั่นตรวจ หาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของโรค เช่น ตรวจระดับน้ำตาล และไขมัน ในเลือด
รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้สุขภาพหลอดเลือดดีขึ้น