Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2545
ยนตรกิจ เมื่อโรลส์รอยซ์ต้องหลุดมือ             
 


   
search resources

ยนตรกิจ กรุ๊ป
Auto Dealers




หลังจากยนตรกิจได้สิทธิในการเป็นตัวแทนขายรถยนต์ โรลส์รอยซ์ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการมาได้ไม่ถึง 2 ปี สิทธิ ดังกล่าวก็หลุดจากมือของยนตรกิจ เนื่องจากค่ายบีเอ็มดับเบิลยู เป็นฝ่ายได้สิทธินี้มาครอบครองตามสัญญาการซื้อขายกิจการใน ต่างประเทศที่ให้มีผลตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป

สัญญาดังกล่าว ทำให้บีเอ็มดับเบิลยูเป็นผู้ที่มีสิทธิที่จะ แต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายรถยนต์สุดหรูยี่ห้อนี้ให้กับใครก็ได้ทั่วโลก

ในประเทศไทย บีเอ็มดับเบิลยูได้ตัดสินใจเลือกให้เอเอเอส ออโต้เซอร์วิส เป็นผู้แทนจำหน่ายโรลส์รอยซ์อย่างเป็นทางการ แทนที่ยนตรกิจ

เหตุผลเพราะว่า เอเอเอสนั้นเคยเป็นตัวแทนนำเข้ารถ โรลส์รอยซ์มาขายในประเทศไทย มาก่อนแล้วเป็นเวลาถึง 11 ปี (2533-2543) ตั้งแต่ก่อนที่ยนตรกิจจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้แทนจำหน่ายจากโฟล์คสวาเกนในเดือนตุลาคม 2543

การได้มาซึ่งสิทธิในการจำหน่ายรถโรลส์รอยซ์ของ ยนตรกิจในครั้งนั้น เป็นผลมาจากการจับมือเป็นพันธมิตรกัน ระหว่างยนตรกิจกับโฟล์คสวาเกน เยอรมนี โดยยนตรกิจจะเป็น ผู้ทำตลาดรถโฟล์คสวาเกนในประเทศไทย และมีผลต่อเนื่องทำให้ ยนตรกิจได้สิทธิในการขายรถยนต์ระดับหรูอย่างโรลส์รอยซ์ และเบนท์ลี่ ซึ่งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ยังเป็นสิทธิในครอบครองของโฟล์ค สวาเกน เยอรมนี ไปด้วยโดยปริยาย

ในครั้งนั้น วิทิต ลีนุตพงษ์ จากค่ายยนตรกิจเองก็ได้บอก ไว้ว่า ได้คุยกับอนุศักดิ์ อินทรภูวศักดิ์ จากเอเอเอส ออโต้เซอร์วิส ให้รับรู้เรียบร้อยแล้ว

พิธีเซ็นสัญญาแต่งตั้งให้ยนตรกิจเป็นผู้แทนจำหน่าย โรลส์รอยซ์ เมื่อเดือนตุลาคม 2543 นั้น จัดขึ้นอย่างหรูหราภายใน สถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย โดยมีเอกอัครราชทูตอังกฤษ เป็นสักขีพยาน เพราะอังกฤษนั้นถือว่ารถโรลส์รอยซ์เป็นรถที่มี ชื่อเสียงที่สุดของประเทศอังกฤษ

และในการเซ็นสัญญาครั้งนั้น ยนตรกิจเองก็รู้ว่า หลังปี 2002 สิทธิในการขายรถโรลส์รอยซ์ จะมีการเปลี่ยนมือจากโฟล์ค สวาเกน มาเป็นของบีเอ็มดับเบิลยู

ก่อนหน้าที่ยนตรกิจจะจับมือกับโฟล์คสวาเกน ยนตรกิจ เคยเป็นผู้ทำตลาดให้กับบีเอ็มดับเบิลยู ค่ายรถจากเยอรมนีเช่น กัน มาเป็นเวลาถึงกว่า 30 ปี แต่ในระยะหลังผลงานของยนตรกิจ กลับไม่เป็นที่เข้าตา บีเอ็มดับเบิลยูจึงตัดสินใจเข้ามาลงทุนตั้ง โรงงาน และทำตลาดภายในประเทศไทยแทนยนตรกิจ

ว่ากันว่าการเข้ามาทำตลาดเองของบีเอ็มดับเบิลยูครั้งนั้น สร้างความเจ็บปวดให้กับยนตรกิจเป็นอย่างยิ่ง

การได้สิทธิในการเป็นตัวแทนจำหน่ายโรลส์รอยซ์ในไทย ของยนตรกิจ เมื่อปี 2543 ทั้งที่รู้ว่าอีกไม่ถึง 2 ปี เจ้าของสิทธินี้ จะต้องมีการเปลี่ยนมือมาเป็นของบีเอ็มดับเบิลยู เข้าใจว่ายนตรกิจ หวังจะใช้จุดนี้ในการสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับบีเอ็มดับเบิลยูขึ้นมา ใหม่ เพราะยนตรกิจถึงกับลงทุน 120 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงอาคาร ย่านคลองตัน ให้เป็นศูนย์บริการ และสำนักงานใหญ่ สำหรับการ ขายรถยี่ห้อนี้โดยเฉพาะ

แต่พอถึงเวลาจริง สิทธิอันนี้ก็ต้องหลุดมือไปอีกครั้ง

ตอนนี้จึงไม่รู้ว่าสายสัมพันธ์ระหว่างยนตรกิจ กับบีเอ็ม ดับเบิลยูนั้น เป็นเช่นไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us