เห็นบทบาทที่กิตติรัตน์ ณ ระนอง แสดงออกเมื่อภาวะการซื้อขายหุ้นในตลาดเกิดความผันผวนแล้ว
ทำให้หลายคน นึกถึงคนที่ชื่อ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์
ดร.มารวยเป็นผู้จัดการตลาดหุ้นคนที่ 5 (2528-2535) ซึ่งเป็นยุคที่ตลาดหุ้นบูมขึ้นมาในรอบที่
2
การบูมของตลาดหุ้นยุคนั้น เกิดขึ้นท่ามกลางความไม่รู้ และการลองผิดลองถูกของนักลงทุนและคนในวงการ
คนที่มี ความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องหุ้น ยังไม่กระจายออกไปในวงกว้างมาก
นัก ดังนั้นเวลาราคาหุ้นในตลาดเกิดความผันผวน นักลงทุนโดย เฉพาะพวกที่เกาะติดสถานการณ์อยู่ตามหน้ากระดาน
จึงเป็น ผู้ที่เดือดร้อน และต้องการคำอธิบายมากที่สุด
ช่วงนั้น ดร.มารวยมักจะเล่นบทบาทปลอบขวัญนักลงทุน เวลาที่หุ้นตก หลายครั้งจะเห็นเขาเดินเข้าไปตามห้องค้าของ
โบรกเกอร์ต่างๆ ที่กระจัดกระจายรายรอบอาคารสินธร เพื่อให้ กำลังใจนักลงทุน
บทบาทของกิตติรัตน์ ผู้จัดการตลาดหุ้นคนที่ 9 ซึ่งเข้ามา รับภาระท่ามกลางความเชื่อที่ว่า
การบูมของตลาดหุ้นรอบที่ 3 กำลังจะเกิดขึ้น
เมื่อเทียบกับ ดร.มารวยแล้ว อาจดูคล้ายกัน แต่เขากล้า ทำมากกว่า
ด้วยความที่เขามีแบ็กกราวน์มาจากนักวิเคราะห์ เขาจึง รู้ดีว่าปัจจัยที่จะมีผลต่อความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
นอกจาก อารมณ์ ความรู้สึกของนักลงทุนแล้ว ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่ สำคัญที่สุด
ช่วงแรกที่เขาเข้ามารับตำแหน่ง เขามักจะนำเสนอข้อมูล ทางสถิติต่างๆ เพื่อยืนยันว่าฐานของราคาหุ้นโดยรวมในตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ
เป็นการปูพื้นโดยให้ข้อมูลพื้นฐานในภาพกว้างๆ
แต่ช่วงที่ราคาหุ้นในตลาด ปรับตัวลดต่ำจนทะลุแนวรับที่ 400 จุดลงมาเมื่อปลายเดือนมิถุนายน
เขากล้าทำในสิ่งที่ไม่เคย มีผู้จัดการตลาดหุ้นคนไหนเคยทำ ด้วยการออกบทวิเคราะห์ใน
นามของตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งเป็นลักษณะของข่าวแจกไปตาม สื่อต่างๆ ชี้ถึงแนวโน้มของกลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังจะมีอนาคต
หุ้นในกลุ่มธนาคาร วัสดุก่อสร้างและตกแต่ง ไฟแนนซ์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
และเคมีภัณฑ์ และพลาสติก คือ 5 กลุ่ม อุตสาหกรรม ที่ในบทวิเคราะห์ชิ้นนั้นระบุชัดว่ามีแนวโน้มฟื้นตัว
ตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ตามแรงผลัก ดันจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ดูเหมือนเป็นครั้งแรกที่บทวิเคราะห์ที่ออกอย่างเป็นทาง การในนามตลาดหลักทรัพย์
ได้เจาะลึกลงไปถึงหุ้นรายกลุ่ม อุตสาหกรรม จากเดิมมักจะออกมาในลักษณะการวิเคราะห์เชิง
มหภาค ด้วยการมองภาพรวมเป็นหลัก
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น น่าจะเนื่องมาจากผู้จัดการตลาดหุ้น ทุกคนในอดีต
มักมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนที่ถูกส่งเข้ามา โดยทางการ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล
มากกว่าพัฒนา ดังนั้นจึง ไม่มีใครกล้าที่เข้ามาเล่นบทบาทเชิงชี้นำมากนัก
ผิดกับกิตติรัตน์ ที่เขามาจากภาคธุรกิจ เขาจึงมีแนวคิด และวิธีปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้จัดการคนก่อนๆ