Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 มิถุนายน 2548
"ฮุนได" เลือก "สิทธิผล" ลุยตลาดรถเล็กในไทย             
 


   
www resources

Hyundai Motor Homepage

   
search resources

เอ็มเอ็มซี สิทธิผล
Automotive
ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์), บจก.
สิทธิผลมอเตอร์, บจก.




ฮุนไดเลือกกลุ่มสิทธิผล "ร่วมทุน-ทำตลาดรถในไทย" เผยจุดแข็ง "วัชระ พรรณเชษฐ์" เอาแผนผลิตรถอีโคคาร์ ที่ปั้นมากับมือให้เป็นนโยบายรัฐบาลขายให้เกาหลีจนชนะ 2 คู่แข่ง คือธนบุรีประกอบรถยนต์และไซม์ ดาร์บี้ แต่ยังติดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นที่ทางฮุนไดยังไม่อยากผูกพันเต็มตัว ขอเวลาดูผลงาน 5 ปี

แหล่งข่าวจากกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ถึงความคืบหน้าในการหาผู้ร่วมลงทุน และทำตลาดรถยนต์ฮุนไดในไทยของ บริษัทฮุนได มอเตอร์ จากเกาหลีใต้ว่า มีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนว่า ฮุนไดจะเลือกกลุ่มสิทธิผลเป็นผู้ร่วมลงทุน

กลุ่มสิทธิผล เป็น 1 ใน 3 กลุ่มที่เสนอตัวร่วมทุนกับฮุนได อีก 2 กลุ่มคือ กลุ่มธนบุรีประกอบรถยนต์ และไซม์ ดาร์บี้ จากมาเลเซีย กลุ่มสิทธิผลภายใต้การนำของ นายวัชระ พรรณเชษฐ์ เคยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์มิตซูบิชิ ในไทย ก่อนที่บริษัทมิตซูบิชิ จากญี่ปุ่นจะเข้ามาเทคโอเวอร์กิจการ

เหตุผลสำคัญที่ฮุนไดเลือกกลุ่มสิทธิผล ก็คือ กลุ่มสิทธิผลฯ ได้เสนอแผนการผลิตและทำตลาดรถยนต์ขนาดเล็ก แทนแผนเดิมของฮุนได ที่จะประกอบรถยนต์อเนกประสงค์ขับเคลื่อน 4 ล้อ หรือเอสยูวี ในไทยครั้งแรก แต่ต่อมามีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ทำให้รถเอสยูวี มีราคาสูงขึ้นมากไม่คุ้มต่อการลงทุน

สำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก หรืออีโคคาร์ เป็นโครงการที่นายวัชระริเริ่มและผลักดันมาตั้งแต่สมัยที่เป็นดำรงผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลชุดก่อน โดยมีแนวคิดสนับสนุนทางด้านภาษี เพื่อจูงใจให้บริษัทรถยนต์มาลงทุนผลิตรถประเภทนี้ในไทย แม้ปัจจุบันนายวัชระจะพ้นตำแหน่งไปแล้ว โครงการดังกล่าวก็ได้รับการผลักดันจากรัฐบาลชุดนี้ โดยเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น เอสคาร์ (ACES Car) เท่านั้น

กลุ่มสิทธิผลจึงได้เปรียบ เพราะอยู่ในฐานะ "อินไซเดอร์" หรือผู้รู้ข้อมูลวงในว่า โครงการรถยนต์ขนาดเล็กจะเดินไปในทิศทางใด สามารถแบ่งปันข้อมูลให้ฮุนได เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลได้

ขณะเดียวกันรถยนต์ขนาดเล็กถือเป็นรถยนต์ที่ฮุนไดมีความชำนาญ โดยเฉพาะที่ประเทศอินเดียฮุนไดประสบความสำเร็จมาก ยิ่งปัจจุบันไทยเปิดเขตเสรีการค้ากับอินเดีย ทำให้การนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ระหว่างสองประเทศไม่มีกำแพงภาษี ข้อเสนอของกลุ่มสิทธิผลฯ จึงได้รับความสนใจมากกว่าอีกสองบริษัทที่เหลือ

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า จุดอ่อนของกลุ่มสิทธิผลฯ อยู่ที่ไม่มีโรงงานประกอบรถยนต์เป็นของตนเอง แต่เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นปัญหานัก เพราะมีโรงงานหลายแห่งที่มีไลน์ผลิตว่างอยู่ พร้อมรับจ้างประกอบรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นโรงานบางชันฯ ของกลุ่มพระนคร อดีตผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ฮุนไดในไทย โรงงานแห่งที่สามของมิตซูบิชิ โรงงานของวอลโว่ หรือแม้แต่โรงงานของกลุ่มธนบุรีประกอบรถยนต์ ซึ่งพร้อมที่จะรับจ้างประกอบรถยนต์ทุกยี่ห้อ รวมถึงฮุนไดแม้จะไม่ได้เป็นผู้แทนจำหน่ายก็ตาม ประเด็นสำคัญที่กำลังเจรจากันอยู่ขณะนี้ จึงไม่ใช่เรื่องโรงงานประกอบรถยนต์ แต่เป็นสัดส่วนการถือหุ้น ระหว่างฮุนได มอเตอร์ กับกลุ่มสิทธิผลฯ

"ฝ่ายฮุนไดขอร่วมลงทุนเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ทางกลุ่มสิทธิผลฯ ต้องการให้ฮุนไดถือหุ้นใกล้เคียงกัน" แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการร่วมลงทุน ฮุนไดกำหนดรูปแบบให้ผู้ประกอบการไทยเลือก 2 แบบ คือ แบบแรกถือหุ้นในสัดส่วนใกล้เคียงกัน แต่หลังจากนั้นเมื่อครบ 5 ปี จึงค่อยมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง ส่วนแบบที่สองฮุนไดจะไม่ถือหุ้นด้วย โดยให้ฝ่ายไทยเป็นดิสทริบิวเตอร์ เมื่อครบ 5 ปี ฮุนไดจะเป็นผู้พิจารณาอีกทีว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งเงื่อนไขนี้ กลุ่มสิทธิผลจะเสียเปรียบ เพราะไม่สามารถกำหนดอนาคตตัวเองได้ ทำให้กลุ่มสิทธิผลฯ ไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว จึงกลายเป็นประเด็นหลักในการเจรจากันในขณะนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us