Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 มิถุนายน 2548
ยูนิฟช้ำชาเขียวหันสู่ธุรกิจอาหาร วางหมาก 2 ปี กวาดรายได้ 4,000 ล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ยูนิ-เพรสซิเดนท์ (ประเทศไทย)

   
search resources

ยูนิ-เพรสซิเดนท์, บจก.
Green Tea




ยูนิฟ ระบุปีหน้าตลาดชาเขียวระเลงศึกสงครามราคา หลังตลาดทะยานหมื่นล้าน เร่งปรับโครงสร้างฝ่ายการตลาด รับมือคู่แข่งรายเล็ก-ใหญ่เกิดเพียบ ขอเวลา 1-2 ปี เบนเข็มเอาดีธุรกิจอาหารแช่เย็น นมถั่วเหลือง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พร้อมเล็งดึงพันธมิตร 2 ราย เสริมทัพ ตั้งเป้ารายได้ 2 ปี ขยับ 4,000 ล้านบาท

นายทีเซิน หยาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิ-เพรสซิเดนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชาเขียวยูนิฟ กรีนที ชาลีวัง เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดชาเขียวพร้อมดื่มในปีนี้หน้าว่า มูลค่าตลาดจะขยับขึ้นถึง 10,000 ล้านบาท จากปัจจุบันตลาดมูลค่า 5,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 40%ในปีนี้ ซึ่งจากสภาพตลาดชาเขียวพร้อมดื่มที่มีเติบโตทั้งในเชิงมูลค่า 153% และในเชิงปริมาณ 151% ส่งผลให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลยุทธ์การตัดราคา การแข่งขันสร้างตราสินค้า และรสชาติที่มีความหลากหลาย ซึ่งจะเกิดขึ้นในตลาดชาเขียวพร้อมดื่มในปีหน้านี้ อย่างไรก็ตามมองว่าตลาดชาเขียวยังต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็นตลาดใหญ่ใกล้เคียงกับน้ำอัดลมซึ่งมีมูลค่าถึง 30,000 ล้านบาท

ส่งผลให้ล่าสุด บริษัทปรับโครงสร้างการตลาดใหม่ เพื่อผลักดันรายได้ในช่วง 2 ปีนี้ เป็นตามเป้าหมายที่วางไว้ 4,000 ล้านบาท จากในปีที่ผ่านมามีรายได้ 2,400 ล้านบาท โดยได้แบ่งงานการตลาดใหม่ออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจภายในประเทศ มีนายเดวิด เผย ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายพัฒนาธุรกิจในประเทศ ดูแลการตลาดและกิจกรรมการตลาดภายในประเทศ ผู้มีประสบการณ์ด้านวงการอาหารแช่แข็งและอาหารแช่เย็นกว่า 20 ปี ในไต้หวันและจีนเข้ามารับตำแหน่งแทนที่ นายก้องเกียรติ วัติรางกูร

ขณะที่ฝ่ายวางแผนองค์กร ได้ให้นายก้องเกียรติ วัติรางกูร รับผิดชอบวางแผนการลงทุน การติดต่อขยายธุรกิจร่วมกับพันธมิตรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่วนฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ โดยมีนายธนวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ดูแลงานด้านประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร ทั้งนี้การปรับโครงสร้างการตลาดในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งทีมการตลาดให้มีการตัดสินใจได้เร็วขึ้น และแยกหน้าที่การทำตลาดไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อรองรับกับสภาพตลาดที่การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น

“สภาพตลาดชาเขียวที่มีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น แต่บริษัทจะเน้นชูจุดเด่นสินค้าที่ขายกลิ่นไอความเป็นญี่ปุ่น อีกทั้งการพัฒนาสินค้าใหม่พร้อมกับการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าลงสู่ตลาด ซึ่งปัจจุบันเรามีชาเขียวพร้อมดื่ม 30 ประเภททั่วโลก และในปีหน้านี้หากตลาดมีมูลค่า 10,000 ล้านบาท บริษัทหวังแค่มีส่วนแบ่ง 20% ก็เพียงพอที่จะมีกำไร”

นายหยางกล่าวว่า นโยบายการทำตลาดจากนี้ บริษัทวางเป้าหมาย คือ ขยายไลน์ธุรกิจใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยการมองหาพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา 2 ราย และประการสำคัญมองการขยายไปยังเซาท์อีสเอเชียและเอเชียให้มากขึ้น สำหรับการขยายไลน์สินค้าในขณะนี้ บริษัทได้วางเป้าหมายจะลงสู่ตลาดน้ำถั่วเหลืองในปีหน้านี้ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างดึงพันธมิตรเข้าร่วม เนื่องจากบริษัทไม่มีเครื่องจักรประเภทดังกล่าว จากนั้นยังสนใจขยายไลน์ไปสู่ตลาดบะหมี่สำเร็จรูปภายใน 1-2 ปีข้างนี้ และอาหารแช่เย็น
โดยโครงสร้างการทำตลาด บริษัทจะให้ความสำคัญกับกลุ่มอาหารแช่แข็ง 80% บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 20% จากนั้นจะเริ่มปรับสัดส่วน เป็นอาหารแช่เย็น 60% บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 40% ทั้งนี้เพราะธุรกิจหลักของบริษัทแม่ประเทศไต้หวัน เป็นกลุ่มอาหารเป็นหลักมากกว่าส่วนกลุ่มเครื่องดื่ม ซึ่งการทำตลาดอาหารแช่เย็นจะเน้นในเรื่องของฟังก์ชันนัล จากปัจจุบันสินค้าที่ได้รับความนิยมในประเทศไต้หวัน อาทิ โยเกิร์ต ขนมหวาน และผลิตภัณฑ์จากนม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us