Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2545
ACD มิติใหม่ของนโยบายต่างประเทศ             
 

   
related stories

รัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุม ACD
จากเนห์รู สู่มหาธีร์ และทักษิณ

   
search resources

ACD




นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลไทยในหลายยุคที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินนโยบายเชิงตั้งรับ น้อยครั้งมากที่จะเห็น นโยบายเชิงรุกที่เป็นรูปธรรม

แต่การเป็นแกนนำในการเชิญผู้นำระดับรัฐมนตรีของ ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียมาพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการ ที่เรียกว่า "Asia Cooperation Dialogue : ACD" ถือเป็น การดำเนินนโยบายต่างประเทศเชิงรุกครั้งสำคัญที่สุด ที่ปรากฏ ออกมาภายใต้การนำของรัฐบาลชุดนี้

ACD เป็นแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ยัง ไม่ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี และเมื่อได้เป็นรัฐบาล แนวคิด นี้ได้ถูกบรรจุเป็นนโยบาย และได้รับการสานต่ออย่างจริงจังจาก สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จนสามารถจัดการประชุมครั้งแรก โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และมีรัฐมนตรีจาก 16 ประเทศในเอเชียมาร่วมประชุมกันได้ เมื่อวันที่ 18-19 มิถุนายนที่ผ่านมา

การประชุมครั้งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย อย่างน้อยก็ทำให้รัฐมนตรีจากประเทศต่างๆ ที่มาร่วมประชุม ยอมรับแนวคิดเบื้องต้นที่ว่าหากทุกประเทศในเอเชียมีความร่วมมือ ซึ่งกันและกัน จะเป็นหนทางที่ทำให้ปัญหาความยากจนที่หลาย ประเทศกำลังประสบอยู่ ถูกขจัดลงไปได้

สาระสำคัญที่ทุกคนยอมรับ คือโครงสร้างพื้นฐานของ ทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมผืนแผ่นดินประมาณ 30% ของโลก มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน มากกว่าครึ่ง หนึ่งของประชากรโลก จุดนี้ทำให้ทวีปเอเชียเป็นตลาดการค้า ที่ใหญ่ที่สุด

ด้านเศรษฐกิจ การส่งออกและผลิตภัณฑ์มวลรวมของ เอเชีย เป็น 1 ใน 4 ของการส่งออก และผลิตภัณฑ์มวลรวมของ โลก และทุนสำรองระหว่างประเทศเมื่อรวมกันมีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ มากกว่าครึ่งหนึ่งของทุนสำรองของทุกประเทศทั่วโลก

นอกจากนี้แต่ละประเทศในเอเชีย มีความหลากหลายทาง ด้านวัฒนธรรม ซึ่งเป็นจุดขายสำคัญสำหรับการท่องเที่ยว

แนวคิดนี้ยังมีความต่อเนื่อง มีการนัดประชุมกันอีกครั้ง ในเดือนมิถุนายนปีหน้า โดยประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็น เจ้าภาพเช่นเดิม

ปัจจุบันยังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจว่าประเทศไทยจะได้รับ ผลประโยชน์อะไร จากการเป็นแกนนำจัดประชุม ACD ครั้งนี้ นอกเหนือจากภาพลักษณ์

คำว่าภาพลักษณ์ คนทั่วไปฟังดูเสมือนเป็นเพียงนามธรรม แต่ในกิจกรรมระหว่างประเทศแล้ว ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ จะนำมาซึ่งความเชื่อมั่นในการตัด สินใจนำเงินเข้ามาลงทุน และมีผลต่อความเชื่อถือ และยังสามารถ เพิ่มน้ำหนักของคำพูดได้ เวลาที่ประเทศไทยต้องออกไปเจรจา ความระหว่างประเทศ

ดังนั้นหากประเทศไทย ประสบความสำเร็จกับการเป็น ผู้ริเริ่ม ทำให้ประเทศต่างๆ ในเอเชียสามารถหันหน้ามาจับมือ ร่วมกันได้ จะเป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยอย่างยิ่ง

เป็นผลดีที่เกิดขึ้น ในช่วงที่ประเทศในกลุ่มอาเซียน กำลัง จะเผชิญกับสถานการณ์ภาวะสุญญากาศทางการนำ ในอีก 1-2 ปี ข้างหน้า เมื่อมหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะล้างมือทางการเมือง และโก๊ะ จก ตง ผู้นำสิงคโปร์ กำลังเตรียมถ่ายอำนาจการปกครองให้บุตรชายของ อดีตประธานาธิบดีลี กวน ยู หากสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ของประเทศได้สำเร็จ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us