Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 มิถุนายน 2548
ซึทาญ่าปรับกลยุทธ์ดึงแฟรนไชส์ชู 4 รูปแบบแก้เกมเศรษฐกิจขาลง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซึทาญ่า

   
search resources

ซึทาญ่า (ประเทศไทย), บจก.
Franchises




ซึทาญ่าปรับตัวรับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยผันผวน หวังกระจายสาขาเข้าถึงชุมชน ปรับกลยุทธ์แฟรนไชส์ใหม่ 4 รูปแบบ ให้คล่องตัว ลงทุนขั้นต่ำ 1.7 ล้านบาท ตั้งเป้าปีนี้เปิดสาขาครบ 260 แห่ง ชี้กรุงเทพฯยังมีช่องว่างเปิดได้ถึง 300 แห่ง คาดรายได้ปีนี้เติบโต 25%

นายวันดี พละพงค์พานิช ประธานบริษัท ซึทาญ่า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า จากกรณีที่สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยมีความผันผวน อีกทั้งซึทาญ่าต้องการที่จะขยายธุรกิจให้เข้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นในระดับชุมชน ดังนั้นในช่วงจากนี้ทางซึทาญ่าได้ปรับรูปแบบการลงทุนขายแฟรนไชส์ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเป้าหมายดังกล่าว

ก่อนหน้านี้สาขาของซึทาญ่าส่วนใหญ่จะเป็นขนาดใหญ่พื้นที่ 100 ตร.ม.ขึ้นไป ใช้เงินลงทุนกว่า 3.6-4 ล้านบาทต่อสาขา ซึ่งซึทาญ่ามีแผนที่จะขยายสาขาอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพฯ ซึ่งคาดว่ายังสามารถที่จะเปิดได้ถึง 300 แห่ง จากปัจจุบันที่บริษัทฯ มีเพียง 100 แห่ง และในต่างจังหวัดก็ยังมีศักยภาพที่จะเปิดได้อีกมาก คาดว่าภายใน 3-5 ปีจากนี้ ด้วยกลยุทธ์ที่ใช้คือรูปแบบใหม่ของร้านจะทำให้การขยายสาขาครอบคลุมทั่วประเทศได้แน่นอน และเชื่อมั่นว่าเมื่อสาขากระจายไปเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นและง่ายขึ้นจะส่งผลดีทางอ้อมคือทำให้สินค้าหนังแผ่นเถื่อนลดน้อยลงได้ด้วย

ปัจจุบันซึทาญ่าคาดว่าจะมีสาขา 220 แห่งเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ แบ่งเป็นสาขาของบริษัท 10% และสาขาของแฟรนไชส์ซี 90% คาดปีนี้จะมีสาขาครบ 260 แห่ง โดยมีรายได้เมื่อปีที่แล้ว 1,200 ล้านบาท คาดว่าในปีนี้ด้วยสาขาที่เพิ่มมากขึ้นและบริการต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 25% ซึ่งสัดส่วนรายได้มาจากการเช่ามากถึง 70% โดยมูลค่าตลาดรวมของธุรกิจโฮมเอนเตอร์เทนเมนท์คาดว่ามีสูงถึง 8,000 ล้านบาท

ทั้งนี้รูปแบบแฟรนไชส์ใหม่นี้จะลงทุนขั้นต่ำประมาณ 1.7 ล้านบาท ประกอบด้วย 4 รูปแบบคือ 1. สตูดิโอ 50 พื้นที่ 50 ตรม. ลงทุน 1.7 - 1.8 ล้านบาท 2. วิลล่า พื้นที่ 70-100 ตรม. ลงทุน 2.6 – 2.7 ล้านบาท 3.คลาสสิค พื้นที่ 100 ตรม. ลงทุน 3.1 – 3.2 ล้านบาท 4.โซไซตี้ พื้นที่ 100 ตรม. ลงทุน 3.6 – 4.2 ล้านบาท ซึ่งรวมค่ารอยัลตี้ฟี 7% และค่ามาร์เก็ตติ้งฟี 1% แล้ว เจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเจ้าของพื้นที่ที่ต้องการสร้างรายได้จากพื้นที่ที่มีอยู่ นักลงทุนที่มีงานประจำและต้องการเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นลูกจ้างตนเอง นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน นักลงทุนที่มีเงินออมและต้องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

โดยคาดว่าภายในเดือนกรกฏาคมนี้จะสามารถเริ่มเปิดบริการทดลองในรูปแบบสตูดิโอ 50 ได้เป็นสาขาแรกที่ถนนเจริญนคร และมีเป้าหมายที่จะเปิดให้ได้ประมาณ 50 แห่ง ภายในปีแรกนี้ ซึ่งซึทาญ่ามีศักยภาพที่จะเปิดสาขาได้ประมาณเดือนละ 15 สาขา ขณะนี้เปิดได้ 7-8 สาขาต่อเดือน เพิ่มจากเมื่อก่อนที่เปิดได้ 3-4 สาขาต่อเดือน ซึ่งนอกจากรูปแบบร้านขนาด 4 แบบนี้ แล้วยังมีการขยายสาขาแบบคีออสด้วยที่เป็นจุดขายสินค้าอย่างเดียว เช่น ที่บีทีเอสอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นต้น คาดว่าปีนี้จะมีครบ 20 จุด

“เราให้ความสำคัญกับทุกรูปแบบไม่ได้เน้นแบบใดเป็นพิเศษ แต่ทั้งนี้การที่จะตัดสินใจให้แฟรนไชส์รูปแบบใดกับใครนั้น ต้องดูหลายองค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นทำเล ซึ่งเป็นปัจจัยหลักถึง 50% นอกนั้นก็ดูพฤติกรรมของผู้บริโภคและความต้องการของตลาดย่านนั้น เพราะแต่ละที่ก็จะไม่เหมือนกัน” นายวันดีกล่าว

ทั้งนี้การลงทุนแต่ละรูปแบบก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไป อาทิ สตูดิโอ 50, วิลล่าและคลาสสิค เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีเงินทุนไม่สูงมากนักแต่สามารถเป็นเจ้าของกิจการซึทาญ่าได้ง่ายมากขึ้น ทำเลที่ตั้งจะเป็นแบบสแตนด์อโลนในย่านชุมชน ในขณะที่โซไซตี้จะเหมาะสำหรับเปิดแบบสแตนด์อโลนหรือเปิดตามโมเดิร์นเทรดต่าง ๆ ซึ่งโซไซตี้จะเป็นลักษณะรูปแบบและขนาดการลงทุนของร้านซึทาญ่าสาขาต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เปิดในช่วงที่ผ่านมาคือมีสินค้าวีซีดี ดีวีดีทั้งเช่าและจำหน่าย โดยมุ่งเน้นขยายเครือข่ายในกรุงเทพฯ เป็นอัตราส่วน 40% และต่างจังหวัด 60 % เน้นการคืนทุนในระยะเวลา 3 - 4 ปี ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับเงินทุนที่ลงทุน

“ซึทาญ่าได้ปรับองค์กรและระบบการบริหารจัดการทั้งหมดเช่น การบริหารงานหน้าร้าน การปรับแผนการตลาด การนำเอาเทคโนโลยีและโนว์ฮาวเฉพาะด้านเข้ามาช่วยในการบริหารงานแฟรนไชส์ การออนไลน์ร้านซึทาญ่าทุกสาขาซึ่งทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและตรวจสอบยอดขายได้ทันที

และขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายสาขาทุกสาขาและคาดว่าจะสามารถออนไลน์ได้ครบทุกสาขาในเดือนตุลาคม 48 นี้ นอกจากนั้นยังมีการใช้ระบบไคเทนริสึในการบริหารการหมุนเวียนสินค้าให้มีประสิทธิภาพ โดยปีนี้ใช้งบตลาดทั้งหมดรวม 60 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่ใช้ 20 ล้านบาท” นายวันดีกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us