|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
5 ตลาดหลักทรัพย์ "สิงคโปร์-ไทย-มาเลย์-อินโดนีเซีย-ฟิลิปปินส์" ร่วมมือจัดทำดัชนีตลาดหุ้นอาเซียน หรือ "อาเซียนอินเด็กซ์" เตรียมเซ็นต์เอ็มโอยูร่วมกับบริษัทจัดทำดัชนีในเดือนหน้า หลังที่ประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียนตกลงให้มีการร่วมมือกันในกลุ่มอาเซียน หวังยกชั้นตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่มีน้ำหนักน่าลงทุน มีดัชนีอ้างอิงสะท้อน และกำหนดนำอาเซียนอินเด็กซ์ไปนำเสนอในงานโรดโชว์อาเซียนที่ลอนดอน 22 กันยายนนี้
นายศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการดูแลสายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ"ผู้จัดการรายวัน" ว่า ตลาดหลักทรัพย์ 5 ประเทศ ซึ่งได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.), ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์, ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์, ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย มีข้อตกลงที่จะร่วมกันจัดทำ "อาเซียนอินเด็กซ์" หรือ ดัชนีตลาดหุ้นอาเซียนขึ้น
โดยคาดว่าในเดือนกรกฎาคมนี้ตลาดหลักทรัพย์ของทั้ง 5 ประเทศ น่าจะมีการลงนามในข้อตกลงเบื้องต้น หรือ เซ็นต์ MOU ร่วมกับ บริษัทที่จัดทำดัชนี (Index provider) เพื่อจัดทำดัชนีตลาดหุ้นอาเซียน
ทั้งนี้ในการประชุมเพื่อหารูปแบบของความร่วมมือดังกล่าวที่ประชุมมีการเสนอรูปแบบความร่วมมือกันในหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น มีการเสนอให้เปิดทางให้ประเทศอาเซียนสามารถส่งออร์เดอร์โดยตรงมายังตลาดหลักทรัพย์ของแต่ละประเทศได้ เช่นเดียวกับที่เปิดหน้าจอของตลาดหุ้นของสิงคโปร์ ให้ประเทศออสเตรียสามารถส่งออร์เดอร์เทรดได้โดยตรง ซึ่งวิธีดังกล่าวหากใช้กับตลาดหลักทรัพย์ไทยจะกระทบกับบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ของไทยทันที นอกจากนี้ยังมีรูปแบบของการจดทะเบียนข้ามชาติ (ครอสลิสติ้ง) ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีการศึกษาและพิจารณาข้อดีข้อเสียก่อน
"โจทย์เดิมที่ตั้งไว้อีกก็คือ อยากทำอาเซียน 100 หรือ TOP 100 เพราะอยากให้คนรู้จัก ซึ่งเป็นการจัดทำข้อมูลของบริษัทชั้นนำในประเทศอาเซียน แต่เนื่องจากโจทย์ของจริงเราคือ การยกระดับอาเซียนให้เป็นกลุ่มที่น่าลงทุน ซึ่งน่าจะมีอะไรมากกว่านี้ ปัจจุบันนักลงทุนมองการลงทุนประเทศกำลังพัฒนา จะมองรวมเป็นตลาดเกิดใหม่ จึงมีการหารือพูดคุยกันใน 5 ประเทศ เห็นว่าคงต้องแยกออกมา ในที่สุดได้ข้อสรุปว่ารูปแบบของความร่วมมือกันครั้งนี้ คือ จัดทำอาเซียนอินเด็กซ์น่าจะตอบโจทย์ที่ต้องการให้มีความร่วมมือกันในกลุ่มอาเซียน สร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดอาเซียน"
นายศรษฐพุฒิกล่าวต่อว่า การร่วมมือกันระหว่าง 5 ประเทศ จนนำไปสู่การจัดทำอาเซียนอินเด็กซ์ของตลาดหลักทรัพย์ 5 ประเทศ เริ่มมาจากการประชุมของรัฐมนตรีคลังอาเซียนเมื่อปี 2547 ซึ่งโจทย์ของรัฐมนตรีคลังอาเซียน ต้องการให้อาเซียนมีความร่วมมือกันระหว่างประเทศ โจทย์ดังกล่าวจึงผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นเจ้าภาพและเป็นการบ้านของตลาดหลักทรัพย์ 5 ประเทศที่ต้องมาประชุมกันเพื่อหารูปแบบในการร่วมมือกันในกลุ่มอาเซียน
"คงไม่ใช่เหตุผลทางการเมือง แต่อยากให้ทุคนมองว่าอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่น่าลงทุน รัฐมนตรีการคลังอาเซียนได้กำหนดด้วยว่าจะต้องมีการดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนกันยายน เพื่อทันการจัดงานอาเซียนโรดโชว์ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 กันยายนนี้ ที่ลอนดอนประเทศอังกฤษ" นายนายศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า ถึงแม้ว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีแห่งเดียวในเมืองไทย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีคู่แข่ง ขณะนี้พบว่าสัดส่วนการไปซื้อขายนอกตลาดหุ้นตัวเองของตลาดหุ้นในโลกนี้ พบว่ามีถึง 30% ของมูลค่าการซื้อขาย กล่าวคือ บริษัทไปออกผลิตภัณฑ์หรือโพรดักท์ในตลาดต่างประเทศมากขึ้นและแนวโน้มปัญหาดังกล่าวตลาดหลักทรัพย์ไทยก็จะหนีไม่พ้น เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ไทยมีขนาดเล็ก ประกอบกับในปัจจุบันการมองของนักลงทุนยังมองเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มประเทศอาเซียน
นอกจากนี้เมื่อรวมมูลค่าตลาดหรือมาร์เกตแคปตลาดระหว่างตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ แล้วยังมีมาร์เกตแคปได้ประมาณครึ่งกว่าของฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งหากไม่ปรับปรุงทำให้ตลาดอาเซียนมีน้ำหนักก็จะลำบาก การจัดทำอาเซียนอินเด็กซ์ครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือระหว่างตลาดทุนในอาเซียนที่สำเร็จเป็นครั้งแรก
ทั้งนี้การจัดทำอาเซียนอินเด็กซ์จะช่วยให้เกิดผลิตภัณฑ์อ้างอิงดัชนีตลาดหุ้นอาเซียน
ส่วน TOP 100 บริษัทนั้นก็จะมีการจัดทำ โดยจะเป็นการร่วมมือกับประเทศที่ยังไม่มีตลาดหลักทรัพย์เข้ามาด้วย เช่น พม่า เขมร ลาว เวียดนาม บูรไน โดยการนำบริษัทเด่นของแต่ละเข้ามา ซึ่งอาจจะเป็นรัฐวิสาหกิจ
|
|
 |
|
|