Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 มิถุนายน 2548
ตรังดันวิสาหกิจชุมชนปลดแอกซีพี             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์
โฮมเพจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
กรมวิชาการเกษตร
Agriculture




กลุ่มผู้ผลิตยางพันธุ์ดีตรังดันยกระดับเป็น “วิสาหกิจชุมชน” ปลดแอกซีพี ตั้งความหวังกระทรวงเกษตรฯ ยกเลิกผูกขาดซื้อต้นกล้ายางตามโครงการปลูกยางล้านไร่ที่มีปัญหาส่อทุจริต แจงยิบผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยจากการปั่นป่วนตลาดของบริษัทยักษ์ใหญ่

จากการลงพื้นที่ จ.ตรัง แหล่งขยายพันธุ์ยางอันดับหนึ่งของประเทศของ “ทีมข่าวจากศูนย์ข่าวหาดใหญ่ ผู้จัดการรายวัน” เพื่อสำรวจผลกระทบจากโครงการส่งเสริมการปลูกยาง 1 ล้านไร่ในภาคอีสานและเหนือ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ทำสัญญาผูกขาดรับซื้อกล้ายางจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด หรือซีพี จำนวน 90 ล้านต้น ระหว่างปี 2547-2549 โดยให้ส่งมอบในปี 2547 จำนวน 18 ล้านต้น ปี 2548 จำนวน 27 ล้านต้น และปี 2549 จำนวน 45 ล้านต้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น

กลุ่มผู้ผลิตกล้ายางตาเขียวตำบลลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง หรือกลุ่มผู้ผลิตยางพันธุ์ดีตรัง ซึ่งประกอบด้วย นายซุ่น แซ่เอี้ยว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ต.ลิพัง ในฐานะประธานกลุ่ม นายอุกฤษฏ์ กระจายโภชน์ เลขานุการ นายสุนทรรัตน์ พูลภิรมย์ นายธวัฒชัย ไกรเทพ และแกนนำคนอื่นๆ อีกรวมประมาณ 10 คน ร่วมกันเปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า ช่วง 2 ปีที่เกิดโครงการและบริษัทซีพีได้กว้านซื้อกล้ายางจำนวนมหาศาลนั้น ได้ทำให้เกิดภาวะปั่นป่วนในตลาดยางทั้งระบบ โดยเฉพาะมีทั้งการปั่นราคาและกดราคากล้ายางให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริง

ผลกระทบที่ปรากฏชัด ได้แก่ แหล่งรองรับการขยายพื้นที่ปลูกยางของโครงการ 1 ล้านไร่ แบ่งเป็นภาคอีสาน 7 แสนไร่ และภาคเหนือ 3 แสนไร่ แต่กลับมีเกษตรกรแห่ขอเข้าร่วมสูงถึงกว่า 3 ล้านไร่ ส่งผลให้กล้ายางที่ผลิตได้ไม่เพียงพอ ชาวสวนต้องไปกว้านซื้อกล้ายางที่วางขายริมถนนอย่างผิด พ.ร.บ.ควบคุมยางปี 2542 หรือที่เรียกว่า “ยางธุดงค์” หรือ “ยางปักกลด”

แถมให้มีการปั่นราคาต้นกล้ายางจากปกติเคยมีการซื้อขายอยู่ที่ 10-12 บาท/ต้น แต่ราคาในโครงการกำหนดไว้สูงถึง 16 บาท/ต้น ช่วงขาดแคลนราคาในท้องตลาดขยับขึ้นไปสูง 18 บาท/ต้น

ในส่วนของภาคใต้ที่เป็นแหล่งผลิตกล้ายางใหญ่ที่สุดของประเทศ ตลาดกล้ายางทั้งที่เป็นยางชำถุงและยางตาเขียวปั่นป่วนอย่างหนักตามไปด้วย แถมยังมีการแพร่ระบาดของการทำ “ยางตาสอย” ที่ด้อยคุณภาพและให้น้ำยางน้อยปลอมปนไปในต้นกล้ายางที่ส่งให้กับบริษัทซีพี เพื่อนำไปมอบให้ชาวสวนในภาคอีสานและเหนือนำไปปลูกยางมากมาย

ขณะที่ราคากล้ายางพันธุ์ดีที่ผลิตในภาคใต้ก็ถูกกดราคารับซื้อจากนายหน้าบริษัทซีพี จนสร้างเดือดร้อนแก่เกษตรกรผู้ผลิตกล้ายางรายย่อยของภาคใต้ทั้งระบบ

“ยางตาเขียวผู้ผลิตในภาคใต้เราเคยขายได้ที่ราคา 6 บาท/ต้น หรือมากกว่านั้น แต่ช่วง 1-2 ปี ที่มีนายหน้าของบริษัทซีพีเข้ามากว้านซื้อถูกกดราคาลงเหลือเพียง 3.3-3.8 บาท/ต้น ส่วนยางชำถุงปกติขายกันที่ 12 บาท/ต้น หรือมากกว่านั้น ตอนนี้ก็ถูกกดลงเหลือ 9.5 บาท/ต้น ซึ่งถือว่าต่ำเอามากๆ” นายนายซุ่นกล่าวและว่า ขณะที่ต้นทุนการผลิตต่างๆ กลับถีบตัวสูงขึ้นไปเสียทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างน่าตกใจและยังทยอยขึ้นอย่างยากที่จะฉุดไว้ได้อีกด้วย ปุ๋ยที่เคยซื้อได้ในปีที่แล้ว 390-460 บาท/กระสอบ (50 ก.ก.) ขณะนี้ทะยานไปอยู่ที่ 640 บาท/กระสอบ ยาปราบศัตรูพืชจาก 380 บาท/แกลอน (5 ลิตร) เพิ่มเป็น 480 บาท/แกลอน เทปพลาสติกสำหรับติดตาจาก 65 บาท/ก.ก. เพิ่มเป็น 105 บาท/ก.ก. เหล่านี้เป็นต้น

“อย่างนี้แล้วเกษตรกรผู้ผลิตพันธุ์ยางจะอยู่กันได้อย่างไร ช่วงกว่าปีมานี้ก็มีแต่ขาดทุนและเป็นหนี้สินกันเพิ่มพูนขึ้นมากมาย” แกนนำกลุ่มคนหนึ่งกล่าวเสริม

เปิดตัวเลขเกษตรกรขาดทุนถ้วนหน้า

นายซุ่นและแกนนำกลุ่มร่วมกันเล่าให้ฟังว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นเกษตรกรผู้ผลิตพันธุ์ยางในพื้นที่จึงรวมตัวกันตั้งกลุ่มขึ้นมา และเมื่อวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา ก็ส่งแกนนำกว่า 30 คน เดินทางไปร้องเรียนที่ทำเนียบรัฐบาลมาแล้ว ทางคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรก็ส่งตัวแทนมารับเรื่อง พร้อมรับปากว่าจะช่วยแก้ปัญหาให้ โดยให้กลุ่มกลับมาสำรวจข้อมูลความเดือนร้อนเสนอขึ้นไป ซึ่งก็ได้ดำเนินการแล้วด้วย

โดยการเก็บข้อมูลความเดือดร้อนกลุ่มได้ใช้วิธีจัดทำเป็นแบบให้ถ้อยคำของเกษตรกรต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกษตรกรผู้ผลิตกล้ายางตาเขียวตอบกลับมารวม 304 ราย แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลสรุปได้ว่า ในด้านต้นทุนการผลิตต่อไร่นั้น เกษตรกรมีค่าใช่จ่ายเฉลี่ย ประกอบด้วย

ค่าเช่าที่ดิน 1,500 บาท/ไร่, ค่าเตรียมพื้นที่ 950 บาท/ไร่, ค่าเมล็ดพันธุ์ 3,600 บาท/ไร่, ค่าแรงงาน 17,500 บาท/ไร่, ค่าเครื่องจักรและท่อน้ำพีวีซี 5,500 บาท/ไร่, ค่าพลาสติกและอุปกรณ์การติดตา 1,800 บาท/ไร่, ค่าค่าปุ๋ยและการบำรุงรักษาต้นกล้า 2,500 บาท/ไร่, ค่าน้ำมัน 1,500 บาท/ไร่, ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ 4,800 บาท/ไร่ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก 1,200 บาท/ไร่

เมื่อนำค่าใช้จ่ายในการผลิตทั้งหมดมารวมกันจะอยู่ที่ 40,850 บาท/ไร่ ซึ่งในจำนวน 1 ไร่ จะสามารถผลิตต้นกล้ายางตาเขียวได้เฉลี่ย 10,000 ต้น/ไร่ จึงรวมเป็นต้นทุนการผลิตได้ที่ 4.085 บาท/ต้น ขณะที่ในเวลานี้ที่มีนายหน้าของบริษัทซีพีมาป่วนตลาดทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องขายในระดับราคาเพียง 3.3-3.8 บาท ดังนั้นเฉลี่ยแล้วขาดทุนไม่ต่ำกว่า 0.5 บาท/ต้น หรือขาดทุนไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท/ไร่

“เมื่อข้อมูลที่เราได้มายืนยันได้อย่างนี้แล้ว จะไม่ให้เกษตรกรผู้ผลิตกล้ายางตาเขียวรายย่อยอย่างเราเดือดร้อนได้อย่างไร ตอนนี้ก็ต้องถือว่าเจ๊งกันทั่วหน้าแล้ว” แกนนำกลุ่มผู้ผลิตกล้ายางตาเขียวตำบลลิพังคนหนึ่งกล่าวเสริม

ตัวเลขหนี้สินเพิ่มพูนทบทวีเพียบ

นอกจากนี้แล้ว จากการสำรวจความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ผลิตกล้ายางตาเขียวดังกล่าว ยังพบข้อมูลว่า ในจำนวนสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตยางตาเขียวตำบลลิพัง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเกษตรกรรายย่อยทั้ง 304 รายนี้ ปัจจุบันมีหนี้สินเพิ่มพูนรวมกันสูงถึง 16,431,800 บาท

อีกทั้งยังมีข้อมูลด้วยว่า มีกล้ายางที่ผลิตได้และได้จำหน่ายไปแล้วจำนวน 7,677,500 ต้น, มีกล้ายางที่ผลิตแล้วแต่ยังไม่ได้จำหน่าย (พร้อมจำหน่าย) จำนวน 5,233,200 ต้น, มีกล้ายางที่ยังไม่ได้ติดตาในแปลงของเกษตรกร จำนวน 10,398,800 ต้น จากพื้นที่รวม 2,426 ไร่ และมีกิ่งตาพันธุ์ที่รอการผลิต จำนวน 408,200 ต้น จากพื้นที่รวมประมาณ 453 ไร่

ตั้ง “วิสาหกิจชุมชน” รองรับรัฐเลิกสัญญาซีพี

นายซุ่นยังได้ร่วมกับแกนนำกลุ่มคนอื่นๆ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตกล้ายางรายย่อยที่เป็นสมาชิกของกลุ่มในเวลานี้คือ ให้มีการยกเลิกสัญญาซื้อกล้ายางกับบริษัทซีพี ตามโครงการส่งเสริมปลูกยาง 1 ล้านไร่ในภาคอีสานและเหนือ เนื่องจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาบริษัทซีพีได้ทำผิดเงื่อนไขสัญญาและได้สร้างปัญหาขึ้นมามากมาย

ทั้งนี้ ในจำนวนกล้ายางทั้งหมดที่บริษัทซีพีต้องส่งมอบคือ 90 ล้านต้น ในปี 2547 และปี 2548 นี้ที่ได้ส่งมอบไปแล้วก็ให้เป็นไปตามสัญญา ส่วนที่เหลือที่ยังมีอีกมากกว่าครึ่งนั้น หากมีการเลิกสัญญาได้จริง แล้วหันมาให้เกษตรกรผู้ผลิตกล้ายางรายย่อยส่งขายตรงให้กับโครงการ หากเป็นดังนั้นจะสร้างคุณูปการมหาศาลให้เกิดแก่เกษตรกรทั่วประเทศ

ด้านนายอุกฤษฏ์ ในฐานะเลขานุการกลุ่มกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตกล้ายางตาเขียวตำบลลิพังได้เห็นสอดคล้องกันแล้วว่า จะมีการผลักดันยกระดับจากกลุ่มตั้งขึ้นเป็น “ศูนย์ส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตรัง” เพื่อให้เป็นองค์กรนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.วิสาหกิจชุมชน ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 ม.ค.2548 ที่ผ่านมา

สำหรับความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ ที่ผ่านมาแกนนำกลุ่มได้นำ พ.ร.บ.วิสาหกิจชุมชนมาศึกษากันแล้ว อีกทั้งได้ประสานงานไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ก็ได้เชิญเจ้าหน้าที่จากสำนักงานส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรังมาให้ความรู้ และร่วมหารือในการจัดตั้งอีกด้วย

“การตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนก็เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรผู้ผลิตกล้ายางในพื้นที่ ต่อไปเมื่อเกิดปัญหาอะไรเราก็จะมีองค์กรที่เป็นตัวแทนเข้าไปแก้ไขให้ และหากรัฐบาลยกเลิกสัญญากับบริษัทซีพี องค์กรใหม่นี้ก็จะรองรับการทำสัญญากับรัฐในโครงการนี้ได้เลย และผลประโยชน์ก็จะตกแก่เกษตรกรเต็มที่” นายซุ่นกล่าวตบท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us