BREAKTHROUGH
|
ช่วงที่ 1 (2514-2522)
|
2514
|
ธนินท์ เจียรวนนท์
ในฐานะผู้นำซีพี เข้าถึงแหล่งความรู้ใหม่ในเรื่องเทคโนโลยีและการบริหาร ซึ่งเป็นพื้นฐานธุรกิจเกษตรยุคใหม่
ด้วยการร่วมทุนกับ Aber Arcers แห่งสหรัฐฯ อันเป็นความรู้ของ การสร้างอาณาจักรธุรกิจสำคัญต่อมา
|
2516
|
บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ซึ่งเข้าบริหารไอซีซีในฐานะผู้ค้าสินค้า Consumer สำหรับคนไทยยุคใหม่ มาระยะหนึ่งได้เริ่มลงทุนครั้งสำคัญ
โดยเฉพาะการเริ่มลงทุนผลิตสินค้าเหล่านั้นขึ้นในเมืองไทย ซึ่งถือเป็นฐานที่มั่นคงต่อมาของธุรกิจกลุ่มสหพัฒนพิบูล
|
2518
|
เจริญ สิริวัฒนภักดี
เข้าสู่ธุรกิจสุราเต็มรูปแบบ ด้วยการตั้งกิจการบริษัทสุราทิพย์ ผลิตสุราแสงโสม
ซึ่งถือเป็นฐานสำคัญก่อนเข้ายึดครองฐานธุรกิจในเมืองไทย คำว่า "แสงโสม" ชื่อเป็นมรดกทางความคิด
กลายเป็นชื่อกลุ่มธุรกิจที่ทรงอิทธิพลในปัจจุบัน
|
|
วิลเลียม ไฮเนคกี้
เปิดร้านมิสเตอร์โดนัท ร้านอาหารจานด่วนเครือข่ายระดับโลกแห่งแรก ในเมืองไทย
กลายเป็นโมเดลธุรกิจของการนำเข้าวัฒนธรรมใหม่เข้าสู่เมือง
|
|
ชุมพล ณ ลำเลียง มืออาชีพในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการเงินเครือซิเมนต์ไทย
ถูกส่งไปศึกษา กิจการสยามคราฟท์ เป็นต้นแบบการเทกโอเวอร์ครั้งสำคัญของธุรกิจไทยและเครือซิเมนต์ไทย
กลายเป็นโมเดลการขยายตัวครั้งใหญ่ของเครือในยุคใหม่ในเวลาต่อมา
|
2520
|
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
ในฐานะทายาทคนโตของตระกูล ซึ่งจบการศึกษาจากต่างประเทศร่วมกับน้องๆ สร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย
|
ช่วงที่ 2 (2522-2540)
|
2523
|
อนันต์ อัศวโภคิน
เข้าบริหารกิจการแลนด์แอนด์เฮ้าส์อย่างเต็มที่ ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท
จากนั้นกิจการก็เติบโตขึ้นเป็นยุคของตนเอง
|
2526
|
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
ตั้งบริษัทแกรมมี่ขึ้นมาดำเนินธุรกิจเพลงยุคใหม่ อย่างเป็นระบบครั้งแรก
|
2527
|
ไตรภพ ลิมปพัทธ์
มีชื่อเสียงแล้ว ในฐานะพิธีกรทีวี เลยแยกตัวมาเป็นเจ้าของกิจการ ผลิตรายการทีวี
ในนาม บอร์น ออพเปอเรชั่น
|
2531
|
สุทธิชัย หยุ่น
นำกลุ่มเนชั่นเข้าตลาดหุ้น หลังจากเปิดหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจรายวัน "กรุงเทพธุรกิจ"
ไม่ถึง 1 ปี จากนั้นอีกประมาณ 1 ปี ก็เข้าสู่การผลิตรายการข่าววิทยุ และต่อมา
ทีวี
|
2533
|
สนธิ ลิ้มทองกุล
นำบริษัทผู้จัดการเข้าตลาดหุ้น จากนั้นก็เริ่มกระบวนการลงทุนสื่อครบวงจร หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน
โรงพิมพ์ทั้งในประเทศและสหรัฐฯ บริษัทข้อมูล และนิตยสารในสหรัฐฯ
|
2534
|
บุญชัย เบญจรงคกุล
เปิดฉากธุรกิจใหม่ ด้วยการได้สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 800 จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
จากนั้นก็ทำกลุ่มยูคอมเติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่ใช่เพียงสินค้า Motorola เท่านั้น
|
2535
|
บัณฑูร ล่ำซำ
ล่ำซำรุ่นที่ 5 เข้าบริหารธนาคารกสิกรไทยอย่างเต็มตัว จากนั้นก็พลิกโฉมหน้า
ธนาคารไทยใหม่ เข้าสู่ระบบสากล ด้วยการปรับกระบวนการทำงาน Re-engineering ครั้งแรกตั้งแต่
ธนาคารครอบครัวเกิดขึ้นในเมืองไทย จากนั้นก็ปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด
เข้าสู่ภาวะเอาตัวรอดในอีก 4-5 ปีถัดมา เขาเป็นผู้นำความคิดในธุรกิจนี้ |